วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

한국어 어휘 คําศัพท์ภาษาเกาหลี 2

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การผันกริยารูปอดีต 았/었 습니다

การผันกริยา รูปอดีต 았/었 습니다

  1. 았습니다 ใช้กับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยสระ 오, 아 
  2. 었습니다 ใช้กับคำกริยาที่ลงท้ายด้วย สระอื่นๆ  ยกเว้นสระ 오 กับ 아 
1. 았습니다 ใช้กับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยสระ 오, 아 
    คำกริยาที่ลงท้ายด้วยสระ


  • ไม่มีตัวสะกด 
  • ตัด 다 ออก เติม เป็นตัวสะกดที่พยางค์สุดท้ายของคำและตามด้วย 습니다. 

    • 가다 = 가 
    • 가 + ㅆ =  
    • 갔 + 습니다 =  갔습니다
    มีตัวสะกด ตัด 다 ออกเติม 았습니다 ต่อท้ายได้เลย 


  • 찾다 =  찾
  • 찾 + 았습니다 = 찾았습니다

    คำกริยาที่ลงท้ายสระ

    ตัด 다 ออก เปลี่ยนรูปสระ오 เป็น 와 ใส่ 

    เป็นตัวสะกดของคำที่เปลี่นรูปแล้วตามด้วย 습니다.
    • 보다 =
    • 보 [오 + 와] = + ㅆ =
    • 봤 + 습니다 = 봤습니다
    มีตัวสะกด

    ตัด 다 ออกแล้วเติม 았습니다 ต่อท้ายได้เลย เช่น
    • 놓다 =  
    • 놓 + 았습니다 = 놓았습니다
    ตัวอย่างการผัน
    • 가다  =  았습니다 
    • 오다   았습니다
    • 사다   았습니다
    2. 었습니다 ใช้กับคำกริยาที่ลงท้ายด้วยสระอื่นๆ  ยกเว้นสระ 오 กับ 아 

         เช่น 마시다 ตัด 다 ออกเหลือ 마시 คำสุดท้ายลงท้ายด้วยสระㅣเปลี่ยนรูปเป็น
    • 마시 = 마셔
    • 마시다 = 마셨습니다
    • 먹다 ตัด 다 ออก เหลือคำว่า 먹 คำสุดท้ายลงท้ายด้วยสระㅓ 
    • เปลี่ยนรูปเป็น  먹다 = 먹었습니다
    คำที่ไม่มีตัวสะกด แบ่งเป็น 2 กลุ่มอีกค่ะ คือ
    • สระที่สามารถรวมเสียงกับสระ 어 ได้ มีสระ 3 ตัวค่ะ คือ 이, 으, 우 
    • สระที่รวมเสียงกับสระ 어 ไม่ได้ ได้แก่ สระตัวอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด
    2.1 สระที่สามารถรวมเสียงกับสระ 어 ได้ มีสระ 3 ตัว คือ 이, 으, 우  มีวิธีเปลี่ยนดังนี้
    • 이 + 어 เป็น 여
    • 으 + 어 เป็น 어
    • 우 + 어 เป็น 워 
    เมื่อเปลี่ยนรูปสระแล้ว ให้เติม เป็นตัวสะกด แล้วตามด้วย 습니다

    ตัวอย่างคำที่ลงท้ายด้วยสระ ไม่มีตัวสะกด

    마시다 ตัด 다 ออกจะเหลือ 마시เปลี่ยนรูปสระจาก 이 เป็น 여
    • 마시 [이-->여] ได้คำว่า 마셔 เปลี่ยนรูปสระแล้วให้เอาตัวสะกด มาใส่ ดังนี้
    • 마셔 + ㅆ จะได้คำว่า 마셨 
    • นำ 습니다 มาต่อท้ายดังนี้ 마셨 + 습니다
    • จะได้คำว่า 마셨습니다 
    ตัวอย่างคำที่ลงท้ายด้วยสระ ไม่มีตัวสะกด

    크다 (ใหญ่) ตัด 다 ออก เหลือ 크 เปลี่ยนรูปสระจาก 이 เป็น 어

    • 크 [으 + 어] จะได้คำว่า 커 เมื่อเปลี่ยนรูปสระแล้วให้เอาตัวสะกด มาใส่ ดังนี้
    • 커 + ㅆ จะได้คำว่า 컸 
    • นำ 습니다 มาต่อท้าย ดังนี้ 컸 + 습니다 
    • จะได้คำว่า 컸습니다
    ตัวอย่างคำที่ลงท้ายด้วยสระ ไม่มีตัวสะกด

    배우다 (เรียนหนังสือ) ตัด 다 ออก เหลือ 배우 เปลี่ยนรูปสระจาก 이 เป็น 워

    • 배우 [우 --> 워] จะได้คำว่า 배워 เมื่อเปลี่ยนรูปสระแล้วให้เอาตัวสะกด มาใส่ ดังนี้
    • 배워 + ㅆ จะได้คำว่า 배웠 
    • นำ 습니다 มาต่อท้าย ดังนี้ 배웠 + 습니다 
    • จะได้คำว่า 베웠습니다
    2.2 สระที่รวมเสียงกับสระ 어 ไม่ได้ ได้แก่ สระตัวอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมด

    สระที่รวมเสียงกับเสียงกับสระ 어 ไม่ได้
    ตัด 다 ออก เติม เป็นตัวสะกด แล้วเติม 습니다 ต่อท้ายได้เลย เช่น

    • 보내다 (ส่ง) ตัด 다 ออกจะเหลือแค่ 보내 
    • นำตัวสะกด มาใส่ ดังนี้ 보내 + ㅆ ได้คำว่า 보냈 
    • นำ 습니다 มาต่อท้าย ดังนี้ 보냈 +습니다 ได้คำว่า 보냈습니다
    ยกเว้น บางคำเมื่อตัด 다 ออกให้เติม었습니다 ต่อท้าย เช่น
    • 뛰다 ตัด 다 ออก ก็จะเหลือแค่คำว่า 뛰 
    • จากนั้นเติม 었습니다 ต่อท้ายได้เลย
    • จะได้คำว่า 뛰었습니다 
    2.3 คำที่มีตัวสะกด
    • ตัด 다 ออก และนำ 었습니다 มาต่อท้ายได้เลย เช่น
    • 먹다 (กิน) ตัด 다 ออก เหลือคำว่า 먹 
    • นำ 습니다 มาต่อท้าย ดังนี้ 먹+ 었습니다
    • จะได้คำว่า 먹었습니다
    รูปอนาคตของ 습니다

    อนาคต - 겠습니다

    ใช้ได้กับคำทุกแบบ ตัด 다 ออกแล้วเติม 겠습니다 ต่อได้เลย เช่น
    • 가다 – 가겠습니다
    • 먹다 – 먹겠습니다
    • 배우다 – 배우겠습니다

    รูปอนาคตไม่ว่าจะลงท้ายด้วยสระอะไร หรือว่ามีตัวสะกดหรือไม่ ตัด 다 ออก แล้วเติม 겠습니다 ลงไปเลย


    การผันกริยาในรูป ~요 (아요,어요,여요)

    การผันกริยาในรูป 아요,어요,여요  

    การผันกริยาในรูป ~요 มักจะใช้ในภาษาพูด และค่อนข้างสุภาพค่ะ จริงๆ แล้วคำว่า 요(โย) ก็เปรียบเสมือนกับคำว่า ครับ/ค่ะ ในภาษาไทยนั่นเอง หากเราไม่พูดไม่มีหางเสียง(ครับ/ค่ะ) มันก็จะไม่สุภาพใช่ไหมคะ ดังนั้นหากเวลาเราพูดภาษาเกาหลีแต่ไม่ได้ลงท้ายด้วย 요 ก็เท่ากับว่าเราพูดไม่มีหางเสียงนั่นเอง

    กฎและวิธีการผันกริยาในการผันรูป ~요
    1) คำกริยาหรือคำคุณศัพท์ที่เป็นสระ ㅏ,ㅗ,ㅑ,ㅛ จะลงท้ายด้วย 아요
    ตัวอย่าง
    가다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 아요 จะได้ 가아요 >> 가요 (คาโย) = ไป
    오다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 아요 จะได้ 오아요 >> 와요 (วาโย) = มา
    놀라다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 아요 จะได้ 놀라아요 >> 놀라요 (นลลาโย) = ประหลาดใจ
    화나다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 아요 จะได้ 화나아요 >> 화나요 (ฮฺวานาโย) = โกรธ
    สังเกตคำกริยาที่ลงท้ายด้วยสระ ㅏ(อา) เมื่อเจอกับ 아요 จะตัดเสียง อา ให้เหลือตัวเดียว


    2) คำกริยาหรือคำคุณศัพท์ที่เป็นสระ ㅓ,ㅕ,ㅜ,ㅠ, ... อื่นๆ จะลงท้ายด้วย 어요
    ตัวอย่าง
    먹다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 어요 จะได้ 먹어요 (มอกอโย) = กิน
    보고싶다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 어요 จะได้ 보고싶어요 (โพโกชิพอโย) = คิดถึง
    입다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 어요 จะได้ 입어요 (อิบอโย) = สวมใส่
    울다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 어요 จะได้ 울어요 (อุลรอโย) = ร้องไห้

    แต่ก็มีบางคำที่ต้องทำมากกว่า ตัด 다 แล้วเติม 어요 เช่น
    예쁘다 ให้ตัด 다 และสระ ㅡ(อือ) จะได้ 예뻐요 (เยปอโย) = น่ารัก
    슬프다 ให้ตัด 다 และสระ ㅡ(อือ) จะได้ 슬퍼요 (ซึลพอโย) = เศร้า
    *คำที่ไม่เป็นไปตามกฎ คือ 아프다 >> 아파요 (อาพาโย) = เจ็บ

    และอีกแบบ คือ
    귀엽다 ให้ตัด 다 และ ㅂ(ตัวสะกด) แล้วเติม 어요 จะได้ 귀여워요 (ควียอวอโย) = น่ารัก
    아름답다 ให้ตัด 다 และ ㅂ(ตัวสะกด) แล้วเติม 어요 จะได้ 아름다워요 (อารึมดาวอโย) = สวย

    มีบางคำที่ไม่เป็นไปตามกฎ ซองอึนก็เลยจัดเป็นกฎพิเศษ คื
    สระ 이 เปลี่ยนเป็น 여
    สระ 우 เปลี่ยนเป็น 워
    ตัวอย่าง
    마시다 >> 마셔요 (มาชฺยอโย) = ดื่ม
    배우다 >> 배워요 (แพวอโย) = เรียน
    *หมายเหตุ : มีบางคำที่ต้องเปลี่ยนใหม่หมดเลย คือ 듣다 >> 들어요 (ทือรอโย) = ฟัง


    3) คำกริยาหรือคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย 하다 จะต่อท้ายด้วย 여요
    ตัวอย่าง
    세탁하다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 여요 จะได้ 세탁하여요 >> 세탁해요 (เซทักแฮโย) = ซักผ้า
    공부하다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 여요 จะได้ 공부하여요 >> 공부해요 (คงบูแฮโย) = เรียน
    사랑하다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 여요 จะได้ 사랑하여요 >> 사랑해요 (ซารังแฮโย) = รัก
    피곤하다 ให้ตัด 다 แล้วเติม 여요 จะได้ 피곤하여요 >> 피곤해요 (พีกนแฮโย) = เหนื่อย


    แบบฝึกหัด
    จงเปลี่ยนคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูป ~요
    1. 부르다 (ร้องเพลง)
    2. 운동하다 (ออกกำลังกาย)
    3. 만나다 (พบ,เจอ)
    4. 놀다 (เล่น)
    5. 사다 (ซื้อ)
    6. 말하다 (พูด)
    7. 좋다 (ดี)
    8. 좋아하다 (ชอบ)
    9. 싫어하다 (ไม่ชอบ)
    10. 행복하다 (มีความสุข)
    11. 기쁘다 (ดีใจ)
    12. 웃다 (หัวเราะ)
    13. 미안하다 (ขอโทษ)
    14. 고독하다 (เหงา)
    15. 화정하다 (โกรธ)
    16. 이를 닦다 (แปรงฟัน)
    17. 전화하다 (โทรศัพท์)
    18. 문을 닫다 (ปิดประตู)
    19. TV를 켜다 (เปิดทีวี)
    20. 모자를 쓰다 (สวมหมวก)


    เฉลย 
    1. 부러요
    2. 운동해요
    3. 만나요
    4. 놀아요
    5. 사요
    6. 말해요
    7. 좋아요
    8. 좋아해요
    9. 싫어해요
    10. 행복해요
    11. 기뻐요
    12. 웃어요
    13. 미안해요
    14. 고독해요
    15. 화정해요
    16. 이를 닦아요
    17. 전화해요
    18. 문을 닫아요
    19. TV를 켜요
    20. 모자를 써요