วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงสร้างของประโยคมูลฐาน 2

โครงสร้างของประโยคมูลฐาน 2

จากโครงสร้างพื้นฐานของประโยค 5 แบบข้างต้น สามารถขยายได้โดยการละส่วนของประโยคหรือการย้ายส่วนของประโยคได้อีก 8 รูปแบบ ดังนี้

1) ประโยคที่ประกอบด้วยกรรมตรง กับกริยาสกรรม

เช่น
우산을 가져 가세요. (อู-ซา-นึล คา-จยอ คา-เซ-โย) เอาร่มไป
우산을 กรรมตรง
가져 가세요 กริยาสกรรม

2) ประโยคที่ประกอบด้วยกริยาอกรรม
เช่น
가라!. (คา-รา) ไป!

3) ประโยคที่ประกอบด้วยคำวิเศษณ์ กับกริยาอกรรม

เช่น
빨 리 오세요. (ปัล-ลี โอ-เซ-โย) มาเร็ว
빨리 คำวิเศษณ์
오세요 กริยาอกรรม

4) ประโยคที่ประกอบด้วยกรรมตรง คำวิเศษณ์ และกริยาสกรรม
เช่น
동생을 잘 돌보도록해라. (ดง-เซ-งึล ชัล ทล-โบ-โท-รก-เฮ-รา) ดูแลน้องให้ดี (อันนี้พ่อหรือแม่พูดนะ)
동생을 กรรมตรง
잘 คำวิเศษณ์
돌 보도록해라 กริยาสกรรม

5) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน กรรมตรง คำวิเศษณ์ และกริยาสกรรม
เช่น
그는 차를 빨리 몬다. (คือ-นึน ชา-รึล ปัล-ลี มน-ดะ) เขาขับรถเร็ว
그는 ประธาน
차를 กรรมตรง
빨리 คำวิเศษณ์
몬 다 กริยาสกรรม

6) ประโยคที่ประกอบด้วยหน่วยคุณศัพท์ ประธาน กรรมตรง คำวิเศษณ์ กริยาสกรรม
เช่น
꽃파는 소녀가 노래를 곱게 불렀다.(กด-พา-นึน โซ-นยอ-กา โน-เร-รึล คบ-เก บูล-ลอท-ตะ) เด็กสาวที่ขายดอกไม้ร้องเพลงเพราะ
꽃 파는 คุณศัพท์
소녀가 ประธาน
노래를 กรรมตรง
곱게 คำวิเศษณ์
불렀다 กริยาสกรรม

7) ประโยคที่ประกอบด้วยหน่วยคุณศัพท์ ประธาน คำวิเศษณ์ กริยาอกรรม
เช่น
빨간 꽃이 예쁘게 피었다. (ปัล-กัน โก-ชี เย-ปือ-เก พี-ออท-ตะ) ดอกไม้สีแดงบานสวย
빨간 คุณศัพท์
꽃이 ประธาน
예 쁘게 คำวิเศษณ์
피었다 กริยาสกรรม

8) ประโยคที่ประกอบด้วยหน่วยคุณศัพท์ ประธาน กรรมตรง กริยาสกรรม

เช่น
술취한 사람이 유리창을 깼다. (ซุล-ชวี-ฮัน ซา-รา-มี ยู-รี-ชา-งึล เกท-ตะ) คนที่เมาเหล้าทำกระจกหน้าต่างแตก
술취한 คุณศัพท์
사람이 ประธาน
유리창을 กรรมตรง
깼다 กริยาสกรรม

ในรูปแบบประโยค 4), 5), 6) และ 8) เมื่อกริยาเป็นกริยาทวิกรรม จะมีกรรมตรงกับกรรมรอง เนื่องจากภาษาเกาหลีมีการเติมวิภัตติปัจจัยเพื่อแสดงหน้าที่ของคำ ตำแหน่งของกรรมตรงกับกรรมรองจึงสลับกันได้

9) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน กรรมรอง กรรมตรง กริยาทวิกรรม
เช่น
선생님이 학생에게 상을 주었다. (ซอน-เซง-นี-มี ฮัก-เซ-เง-เก ซา-งึล ชุ-ออท-ตะ) ครูให้รางวัลแก่นักเรียน
선생님이 ประธาน
학생에게 กรรมรอง
상을 กรรมตรง
주었다 กริยาทวิกรรม

10) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน กรรมตรง กรรมรอง กริยาทวิกรรม
เช่น
선생님이 상을 학생에게 주었다. (ซอน-เซง-นี-มี ซา-งึล ฮัก-เซ-เง-เก ชุ-ออท-ตะ) ครูให้รางวัลแก่นักเรียน

โครงสร้างของประโยคมูลฐาน 1

โครงสร้างของประโยคมูลฐาน 1

โครงสร้างของประโยคมูลฐาน มีรูปแบบการเรียงคำนามกับคำกริยาอยู่ 5 แบบดังนี้

1) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน กับกริยาอกรรม (ไม่ต้องมีกรรมมารับ)
เช่น
새가 운다. (เซ-กา อุน-ดะ) นกร้อง
새가 ประธาน
운 다 กริยาอกรรม

2) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน กรรมตรง และกริยาสกรรม (มีกรรมมารับ)
เช่น
나는 음악을 좋아한다. (นา-นึน อือ-มา-กึล โช-วา-ฮัน-ดะ) ฉันชอบดนตรี
나는 ประธาน
음악을 กรรม
좋아한다 กริยาสกรรม

3) ประโยคที่ประกอบด้วยหน่วยคำคุณศัพท์ ประธาน และกริยาอกรรม
เช่น
옛 친구가 그립다. (เยท ชิน-กู-กา คือ-ริบ-ดะ) คิดถึงเพื่อนเก่า
옛 คำคุณศัพท์
친 구가 ประธาน
그립다 กรรม

4) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน คำวิเศษณ์ และกริยาอกรรม
เช่น
김선생님은 틀림없이 오실겁니다. (คิม-ซอน-เซง-นี-มึน ทึล-ลี-มอบ-ชี โอ-ชิล-กอม-นี-ดะ) คุณคิมจะมาแน่
김선생님은 ประธาน
틀림없이 คำวิเศษณ์
오실겁니다 กริยาอกรรม

5) ประโยคที่ประกอบด้วยหน่วยอิสระ กับประโยค
เช่น
아이고! 임은 가고 나만 홀로 남았구나. (อาอีโก! อีมึน คาโก นามัน ฮลโล นามัสคุนา) โธ่! ที่รักไปแล้ว เหลือฉันคนเดียว = ="
아이고! 임은 가고 หน่วยอิสระ
나만 홀로 남았구나 ประโยค

รูปแบบประโยค 5 แบบนี้ สามารถสรุปลำดับส่วนของประโยคได้ดังนี้

----------------------------------------------------------------
(หน่วย อิสระ)(คำคุณศัพท์)ประธาน(กรรม)(คำวิเศษณ์)กริยา

การออกเสียงพยัญชนะและสระ

การออกเสียงพยัญชนะและสระ

การออกเสียงพยัญชนะ

1.ㄱจะมีเสียงเป็น k เมื่ออยู่ในพยางค์หน้า และออกเสียงเป็น g เมื่ออยู่ในคำ
2.ㄷจะมีเสียงเป็น t เมื่ออยู่ในพยางค์หน้า และออกเสียงเป็น d เมื่ออยู่ในคำ
3.ㅂจะมีเสียง เป็น p เมื่ออยู่ในพยางค์หน้า และออกเสียงเป็น b เมื่ออยู่ในคำ
4.ㅈจะมี เสียงเป็น sh เมื่ออยู่ในพยางค์หน้า และออกเสียงเป็น j เมื่ออยู่ในคำ
 เช่น
가게 อ่าน คาเก แปลว่า ร้านค้า
돕다 อ่าน ทบดะ แปลว่า ช่วย
배부르다 อ่าน เพบูรึดะ แปลว่า อิ่ม

5.ㄹ จะออกเสียงเป็น ล เมื่อพยางค์หน้ามีตัวสะกด และออกเสียงเป็น ร เมื่อพยางค์หน้าไม่มีตัวสะกด เช่น
라디오 อ่าน ราดิโอ แปลว่า วิทยุ
기린 อ่าน คีริน แปลว่า ยีราฟ

6.ㅅ เจอสระ ㅣ จะออกเสียงเป็น ㅈ
เช่น ชื่อหนังสือพิมพ์เกาหลี시사 저널 อ่าน ชีซา เจอร์นัล

การออกเสียงสระ
ㅐㅔㅒㅖกับ พยัญชนะอื่นที่ไม่ใช่ㅇ(이응) ให้อ่านออกเสียงเป็น "เ -" (คือว่าคนเกาหลีสมัยใหม่นิยมอ่าน "แ -" เปน "เ -")
ดังนั้นคนชื่อแอน แม้จะถอดเป็นคำเกาหลีว่า “앤 – แอน” แต่คนเกาหลีก็จะเปลี่ยนชื่อคุณให้เป็น “엔 – เอน” อยู่ดี

การเปลี่ยน เสียงพยัญชนะท้าย
ในระบบเสียงเกาหลีมีหน่วยเสียงพยัญชนะ ท้ายทั้งหมด 7 หน่วยเสียง คือ /p/ /t/ / k/ /m/ /n/ /ŋ/ /l/

1. เสียงพยัญชนะท้าย ㅂ ㅍ จะเป็น /-p/
밥 อ่าน พับ /phap/ ข้าว
합 อ่าน ฮับ /hap/ รวมทั้งหมด (the sum total)
앞 อ่าน อับ /?ap/ ข้างหน้า
숲 อ่าน ซุบ /sup/ ป่า

2. เสียงพยัญชนะท้าย ㄷ ㅅ ㅆ ㅈ ㅊ ㅌ จะเป็น /-t/ 
곧 อ่าน กด /kot/ โดยตรง, ทันใด
옷 อ่าน โอช /?ot/ เสื้อ
있 อ่าน อิด /?it/ มีอยู่ (กริยารากศัพท์คือ 있다)
낮 อ่าน นัด /nat/ วัน, กลางวัน (day, daytime, day light)
꽃 อ่าน กด /kkot/ ดอกไม้
솥 อ่าน ซด /sot/ กาต้มน้ำ (an iron pot, kettle)

3. เสียงพยัญชนะท้าย ㄱ ㄲ ㅋ จะเป็น /-k/ 
악 อ่าน อัก /?ak/ oh! (อุทาน), หมดหวัง
밖 อ่าน พัก /phak/ ข้างนอก
녘 อ่าน นยอก /nyək/ ราวๆ (around)

4. เสียงพยัญชนะควบ ㅄ ㄳ ㄵ ออกเสียงตามพยัญชนะตัวหน้า
값 เป็น 갑 อ่าน กับ /kap/ ราคา
넋 เป็น 넉 อ่าน น็อก /nək/ ผี, วิญญาณ (a soul, a spirit, a ghost)
핥 เป็น 할 อ่าน ฮัล /hal/ lick (มาจากกริยารากศัพท์ 핥다)
앉 เป็น 안 อ่าน อัน /?an/ นั่ง (มาจากกริยารากศัพท์ 앉다)

5. เสียงพยัญชนะควบ ㄺ ㄼ ไม่เสมอไป
닭 เป็น 닥 อ่าน ทัก /tak/ ไก่
읽(고) เป็น 일꼬 อ่าน อิลโก่/?ilkko/ อ่าน (มาจากริยารากศัพท์ 읽다)
읽(지) เป็น 익찌 อ่าน อิกจิ่ /?ikcci/

6. พยางค์หน้ามีพยัญชนะท้าย และพยางค์หลังไม่มีพยัญชนะต้น (คือพยางค์ที่เริ่มด้วยสระ)
พยัญชนะท้ายของพยางค์หน้าจะย้ายตำแหน่งเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์หลัง

웃 을 เป็น 우슬 อ่าน อุซึล /wsшl/ หัวเราะ (มาจากกริยารากศัพท์ 웃다)
웃 은 เป็น 우슨 อ่าน อุซึน /wsшn/
값이 เป็น 갑시 อ่าน คับชี /kapsi/ ราคา
값을 เป็น 갑슬 อ่าน คับซึล /kapsшl/

ความหมายของธงชาติเกาหลี

ความหมายของธงชาติเกาหลี




태 극기Taegeukgi (แทกึกกี) 

เป็นธงประจำชาติของประเทศเกาหลี ประกอบด้วยวงกลมอยู่ตรงกลาง 
แบ่งเป็นสีน้ำเงิน และสีแดงเท่า ๆ กัน ซึ่งเป็นลักษณะของหยิน-หยาง 
และจะมีสัญลักษณ์สีดำตรงมุมทั้ง 4 ด้าน อยู่บนพื้นธงสีขาว 

สีน้ำเงิน หมาย ถึง หยิน หรือพลังในเชิงลบ
สีแดง หมาย ถึง หยาง หรือพลังในเชิงบวก

ส่วนสัญลักษณ์ทั้ง 4 มุม คือ
Geon อยู่มุมบนด้านซ้าย หมายถึง สวรรค์
Gon อยู่มุมล่างด้านขวา หมายถึง โลก
Gam อยู่มุมบนด้านขวา หมายถึง น้ำ
Li อยู่มุมล่างด้านซ้าย หมายถึง ไฟ

โดยรวมแล้วจะหมายถึง ความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ทิศทาง

มารู้เกี่ยวกับทิศทาง

밖 (ผัก) = ข้างนอก

안 (อัน) = ข้างใน

위 (วี) = ข้างบน

밑/아래 (มิท/อาเร) = ข้างใต้ , ข้างล่าง

옆 (หยอบ) = ข้างๆ

뒤 (ทวี) = ข้างหลัง

앞 (อับ) = ข้างหน้า

왼쪽 (เวน-จก) = ข้างซ้าย

오른쪽 (โอ-รึน-จก) = ข้างขวา

건너편 (คอน-นอ-พยอน) = ตรงข้าม

사이 (ซา-อี) = ระหว่าง

모퉁이 (โม-ทู-งี) = หัวมุม

똑바로 (ตก-พา-โร) = ตรงไป

เครือญาติ

เครือญาติ

คำเรียกเครือญาติ

할아버지 (ฮา-รา-บอ-จี) ปู่ บางครั้งเรียกว่า 할아버님 (ฮา-รา-บอ-นิม) เป็นการยกย่องค่ะ (ในละครเรื่อง Sweet 18 พระเอกเรียกแบบนี้) ถ้าจะแปลก็คือ คุณปู่
할머니 (ฮัล-มอ-นี) ย่า
외할아버지 (เว-ฮา-รา-บอ-จี) ตา
외할머니 (เว-ฮัล-มอ-นี) ยาย

아저씨 (อา-จอ-ชี) ลุง
아 주머니 (อา-จุ-มอ-นี) ป้า
삼촌 (ซัม-ชน) อา (น้องชายของพ่อ)
외삼촌 (เว-ซัม-ชน) อา (พี่/น้องชายของแม่)
이모 (อี-โม) น้า (พี่/น้องสาวของแม่)
고 모 (โค-โม) ป้า/อา (พี่/น้องสาวของพ่อ)

아버지 (อา-บอ-จี) พ่อ หรือเรียกสั้นๆ ว่า 아빠 (อา-ปา)
아머니 (อา-มอ-นี) แม่ หรือเรียกสั้นๆ ว่า 엄마 (ออม-มา)

오빠 (โอ-ปา) พี่ชาย (ผู้หญิงเรียก)
형 (ฮยอง) พี่ชาย (ผู้ชายเรียก)
언니 (ออน-นี) พี่สาว (ผู้หญิงเรียก)
누나 (นู-นา) พี่สาว (ผู้ชายเรียก)
여동생 (ยอ-ดง-เซง) น้องสาว
남동생 (นัม-ดง-เซง) น้องชาย

아 들 (อา-ดึล) ลูกชาย
딸 (ตัล) ลูกสาว

การเรียกชื่อ

การเรียกชื่อ

การเรียกชื่อของคนเกาหลีจะต่างกับคนไทยนิดนึงค่ะ
นั่นคือ เวลาที่คนไทยเรียกคนอื่นก็จะเรียกชื่อไปตรงๆ เลยใช่ไหมค่ะ เช่น สมชาย สมศรี สมทรง สมพงศ์ เป็นต้น..เอ๊ะทำไมแต่ละชื่อ.. :-_-':

แต่คนเกาหลี เวลาเรียกคนอื่นเค้าจะมีเสียงลงท้ายต่อด้วยค่ะ
(อันนี้กรณีเรียก เพื่อนหรือว่าคนที่มีอายุอ่อนกว่านะ) อธิบายได้อย่างนี้ค่ะ ..เอาคร่าวๆ นะ

1. การเรียกชื่อแล้วต่อท้ายชื่อด้วย 이 อ่านว่า อี หรือ 가 อ่านว่า กา(ใช้ในกรณีที่กล่าวถึงชื่อบุคคลที่สาม - ที่ไม่ต้องให้ระดับความสุภาพมาก - ในประโยคสนทนา)
กรณีชื่อพยางค์สุดท้ายมีตัวสะกด จะลงท้ายด้วย 이 ตัวอย่างเช่น
ชื่อ 해원 อ่าน เฮ วอน แต่เวลาเรียกจะเรียก 해원이 อ่านว่า เฮ วอ นี (หลัก linking เสียง)
ชื่อ 태성 อ่าน เท ซอง แต่เวลาเรียกจะเรียก 태성이 อ่านว่า เท ซอ งี (หลัก linking เสียงเช่นกัน)
กรณีชื่อ พยางค์สุดท้ายมิมีตัวสะกด จะลงท้ายชื่อด้วย 가 เช่น
ชื่อ 수미 อ่าน ซู มี แต่เวลาเรียกจะเรียก 수미가 อ่านว่า ซู มี กา

2. การเรียกชื่อแล้วต่อท้ายชื่อด้วย 아 อ่านว่า อา หรือ 야 อ่านว่า ยา (ใช้ในกรณีที่ต้องการเรียกชื่อคู่สนทนา ซึ่งเป็นเพื่อนกันหรืออายุน้อยกว่า)
กรณีชื่อพยางค์สุดท้ายมีตัวสะกด จะลงท้ายด้วย 아 เช่น
ชื่อ 남진 อ่าน นัม จิน เวลาเรียก เรียก 남진아 อ่านว่า นัม จิ นา
ชื่อ 수정 อ่าน ซู จอง เวลาเรียก เรียก 수정아 อ่านว่า ซู จอ งา
กรณีชื่อพยางค์สุดท้ายไม่มีตัวสะกด จะ ลงท้ายด้วย 야 เช่น
ชื่อ 나라 อ่าน นารา เวลาเรียก 나라야 อ่านว่า นา รา ยา
ชื่อ 윤희 อ่าน ยุน ฮี เวลาเรียก 윤희야 อ่านว่า ยุน ฮี ยา

นั้นเป็นเหตุผลที่อาจจะได้ยิน 자기 (จากี) เป็น 자기야 (จากียา) ซึ่งแปลว่า ที่รัก

การปฏิเสธ

การปฏิเสธ

아니오 (อา-นี-โอ) ไม่

안됩니다 (อัน-ดเวม-นี-ดะ) ไม่ได้
(됩니다 มาจาก 되다 = ได้)

사실이 아닙니다 (ซา-ชี-รี อา-นิม-นี-ดะ) ไม่เป็นความจริง
(사실 = ความจริง)

그렇지 않습니다 (คือ-รอค-จิ อัน-ซึม-นี-ดะ) ไม่ได้เป็นอย่างนั้น

전혀 모르겠습니다 (ชอน-นอ โม-รือ-เกส-ซึม-นี-ดะ) ไม่รู้เรื่องเลย
(전혀 เขียน전혀 แต่อ่านว่า /전너/)

저는 반대합니다 (ชอ-นึน บัน-เด-ฮัม-นี-ดะ) ฉันขอคัดค้าน
(반대하다 = คัดค้าน)

저는 동의할 수 없어요 (ชอ-นึน โด-เง-ฮัล สุ ออป-ซอ-โย) ฉันไม่เห็นด้วย
(동의하다 = เห็นด้วย)

그 렇게는 못합니다 (คือ-รอค-เก-นึน มด-ทัม-นี-ดะ) ทำแบบนั้นไม่ได้
(เมื่อ ㅅ เจอกับ ㅎ ออกเสียงเป็น ㅌ เช่น못합니다 = /못탑니다/)

그 렇게 생각하지 않습니다 (คือ-รอค-เก เซง-กัก-ฮา-จิ ฮัน-ซึม-นี-ดะ) ไม่คิดอย่างนั้น
(생각하다 =คิด)

การขอโทษ

การขอโทษ

미안합니다 (มี-อัน-ฮัม-นี-ดะ) ขอโทษ

죄 송합니다 (จเว-ซง-ฮัม-นี-ดะ) ขอโทษ

면목이 없습니다 (มยอน-โม-กี ออป-ซึม-นี-ดะ) ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหนดี
(면목 = หน้าตา)

제가 좀 지나쳤습니다 (เจ-กา โจม จี-นา-ชอส-ซึม-นี-ดะ) ฉันทำเกินไปหน่อย
(좀 = หน่อย, 지나치다 = เกินไป, เกินเลย, เกินกว่าเหตุ)

사과 드립니다 (ซา-กวา ดือ-ริม-นี-ดะ) ขอโทษ (สุภาพกว่า 미안합니다 และ 죄송합니다)
(사과 = ในที่นี้แปลว่า Apology แต่มีความหมายอีกอย่างนึงคือ แอปเปิ้ล!?!?)

실례합니다 (ชิล-เล-ฮัม-นี-ดะ) ขอโทษ (Excuse Me)

การขอบคุณ

감사합니다. คัมซา ฮัมนีดา/ คัมซามีดา = ขอบคุณ (สุภาพกว่า) 

고맙습니다. โคมับ ซึมนีดา = ขอบคุณ

고마워요. โคมาวอโย ขอบคุณ (สุภาพน้อยกว่า) 

고맙다. โคมับตะ = ใช้พูดกับเด็กๆ

กริยาที่ควรจำ

กริยาที่ควรจำ

청소하다 ชอง-โซ-ฮา-ดะ ทำความสะอาด --- 청소합니다 ชอง-โซ-ฮัม-นิ-ดะ -- 청소해요

마시다 มา-ซิ-ดะ ดื่ม --- 마십니다 มา-ซิ้ม-นิ-ดะ --- 마셔요

가 다 คา-ดะ ไป --- 갑니다 คัม-นิ-ดะ --- 가요

씻다 ซิด-ตะ ล้าง --- 씻습니다 ซิด-ซึ้ม-นิ-ดะ --- 씻어요

가 르치다 คา-รึ-ชิ-ดะ สอน --- 가르칩니다 คา-รึ-ชิม-นิ-ดะ --- 가르쳐요 

먹다 มอก-ตะ กิน --- 먹 습니다 มอก-ซึ้ม-นิ-ดะ --- 먹어요

오다 โอ-ดะ มา --- 옵 니다 อม-นิ-ดะ (อย่าคิดลึก) --- 와요

이야기하다 อิ-ยา-กิ-ฮา-ดะ คุย --- 이야기합니다 อิ-ยา-กิ-ฮัม-นิ-ดะ --- 이야기해요

일하다 อิร-ฮา-ดะ ทำงาน --- 일합니다 อิร-ฮัม-นิ-ดะ --- 일해요

헤어지다 เฮ-ออ-จิ-ดะ แยกทาง --- 헤어집니다 เฮ-ออ-จิม-นิ-ดะ --- 헤어져요

쓰다 ซึ-ดะ เขียน --- 씁니다 ซึ้ม-นิ-ดะ --- 써요

보다 โพ-ดะ ดู --- 봅니다 โพม-นิ-ดะ --- 봐요

공부하다 โคง-บู-ฮา-ดะ เรียน --- 공부합니다 โคง-บู-ฮัม-นิ-ดะ --- 공부해요

목욕하다 หมก-ยก-ฮา-ดะ อาบน้ำ --- 목욕합니다 โมก-โยก-ฮัม-นิ-ดะ --- 목욕해요

사다 ซา-ดะ ซื้อ --- 삽니다 ซั้ม-นิ-ดะ --- 사요

말하다 มาร-ฮา-ดะ พูด --- 말합니다 มาร-ฮัม-นิ-ดะ --- 말해요

듣 다 ทึ้ด-ตะ ฟัง --- 듣습니다 ทึ้ด-ซึ้ม-นิ-ดะ --- 들어요 (ตัวยกเว้น เปลื่ยน ㄷ เป็น ㄹ)

쉬다 ซวี-ดะ พักผ่อน --- 쉽니다 ซวิ้ม-นิ-ดะ --- 쉬어요

자다 ชา-ดะ นอน --- 잡니다 ชั้ม-นิ-ดะ --- 자요

운동하다 อุน-ดง-ฮา-ดะ ออกกำลัง --- 운동합니다 อุน-ดง-ฮัม-นิ-ดะ --- 운동해요

만나다 มัน-นา-ดะ พบ --- 만납니다 มัน-นั้ม-นิ-ดะ --- 만나요

읽다 อิ๊ก-ตะ อ่าน --- 읽습니다 อิก-ซึ้ม-นิ-ดะ ---읽어요

일어나다 อิ-รอ-นา-ดะ ตื่นนอน --- 일어납니다 อิ-รอ-นั้ม-นิ-ดะ --- 일어나요

요리하다 โย-รี-ฮา-ดะ ทำอาหาร --- 요리합니다 โย-รี-ฮัม-นิ-ดะ --- 요리해요

빨래하다 ปาร-เร-ฮา-ดะ เร็ว --- 빨래합니다 ปาร-เร-ฮัม-นิ-ดะ --- 빨래해요

노래부르다 โน-เร-บู-รึ-ดะ ร้องเพลง --- 노래부릅니다 โน-เร-บู-รึ้ม-นิ-ดะ --- 노래불러요

춤추다 ชุม-ชู-ดะ เต้น --- 춤춥니다 ชุม-ชุ๊ม-นิ-ดะ--- 춤춰요

วันและเดือน

วันและเดือน

วันในภาษาเกาหลี

일요일 (อี-โร-อิล) วันอาทิตย์
월요일 (วอ-โร-อิล) วันจันทร์
화요일 (ฮวา-โย-อิล) วันอังคาร
수요일 (ซุ-โย-อิล) วันพุธ
목요일 (โม-คโย-อิล) วันพฤหัส
금요일 (คือ-โม-อิล) วันศุกร์
토요일 (โท-โย-อิล) วันเสาร์

เดือนในภาษาเกาหลี

일월 (อี-รอล) มกราคม
이월 (อี-วอล) กุมภาพันธ์
삼월 (ซา-มอล) มีนาคม
사월 (ซา-วอล) เมษายน
오월 (โอ-วอล) พฤษภาคม
유월 (ยู-วอล) มิถุนายน
칠월 (ชี-รอล) กรกฎาคม
팔월 (พา-รอล) สิงหาคม
구월 (กู-วอล) กันยายน
시월 (ชี-วอล) ตุลาคม
십 일월 (ชี-บี-รอล) พฤศจิกายน
십이월 (ชี-บี-วอล) ธันวาคม


ตัวเลขเกาหลี

ตัวเลข

ในภาษาเกาหลีจะมีการใช้ทั้งตัวเลขที่มาจากภาษาเกาหลี และคำยืมมาจากภาษาจีนค่ะ

แบบ เกาหลี

0 = 공 (โคง) 
1 = 하나 (ฮา-นา)
2 = 둘 (ดุล)
3 = 셋 (เซส)
4 = 넸 (เนส)
5 = 다섯 (ดา-สอส)
6 = 여섯 (ยอ-สอส)
7 = 일곱 (อิล-กบ)
8 = 여덟 (ยอ-ตอล)
9 = 아홉 (อา-ฮบ)
10 = 열 (ยอล)
11 = 열 하나(ยอล ฮา-นา)
12 = 열 둘(ยอล ดุล)
13 = 열셋(ยอล เซส)
.
.
.
20 = 스물 (ซือ-มุล)
30 = 서른 (ซอ-รึน)
40 = 마흔 (มา-ฮึน)
50 = 쉰 (ชิน)
60 = 예순 (เย-ซุน)
70 = 일흔 (อิล-ฮึน)
80 = 여든 (ยอ-ดึน)
90 = 아흔 (อา-ฮึน)
100 = 백 (เบก)
1,000 = 천 (ชอน)
10,000 = 만 (มัน)
100,000 = 십만 (ชิบ-มัน)
1,000,000 = 백만 (เบก-มัน)
10,000,000 = 천만 (ชอน-มัน)
100,000,000 = 억 (ออก)

คำยืมจากภาษาจีน (Sino-Korean)

0 = 영 (ยอง)
1 = 일 (อิล)
2 = 이 (อี)
3 = 삼 (ซัม)
4 = 사 (ซา)
5 = 오 (โอ)
6 = 육 (ยุก)
7 = 칠 (ชิล)
8 = 팔 (พัล)
9 = 구 (คู)
10 = 십 (ชิบ)
11 = 십일 (ชิ-บิล)
12 = 십이 (ชิ-บี)
13 = 십삼 (ชิบ-ซัม)
.
.
.
20 = 이십 (อี-ชิบ)
30 = 삼십 (ซัม-ชิบ)
40 = 사십 (ซา-ชิบ)
50 = 오십 (โอ-ชิบ)
60 = 육십 (ยุก-ชิบ)
70 = 칠십 (ชิล-ชิบ)
80 = 팔십 (พัล-ชิบ)
90 = 구십 (คู-ชิบ)
100 = 백 (เบก)
1,000 = 천 (ชอน)
10,000 = 만 (มัน)
100,000 = 십만 (ชิบ-มัน)
1,000,000 = 백만 (เบก-มัน)
10,000,000 = 천만 (ชอน-มัน)
100,000,000 = 억 (ออก)

สระเกาหลี

สระพื้นฐาน
รูปสระพื้นฐาน 10 ตัว
เสียงสระ
อา
ยา
ออ
ยอ
โอ
โย
อู
ยู
อึ,อือ
อิ,อี

สระประสมหรือสระ ควบ

รูปสระ ประสมหรือสระควบ 11 ตัว
เสียงสระ
 (มาจาก +)
แอ
 (มาจาก +)
แย
 (มาจาก +)
เอ
 (มาจาก +)
เย
วา
แว
 (มาจาก  +)
วอ
 (มาจาก +)
เว
เว
 (มาจาก +)
วี
 (มาจาก  +)
อึย,อี,เอ

วิธีการวางสระ
สระที่เป็น แนวตั้ง ได้แก่ ㅏ ㅑ ㅓㅕㅣรวมถึงสระประสมด้วย จะวางไว้ทางขวามือของพยัญชนะ
ส่วน สระแนวนอน ได้แก่ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ ㅡ จะวางไว้ด้านล่างของพยัญชนะ
ถ้าสงสัยว่าควร ใช้สระอะไร วา มีหลายแบบจัง จะใช้ตัวไหน ก็ต้องท่องศัพท์นะคะ
การออกเสียง 의 จะออกเสียงตามหน้าที่ของคำนั้น
1. เมื่อ 의 อยู่ในพยางค์แรกของคำ และไม่มีพยัญชนะต้นนำหน้า จะออกเสียงเป็น อึย เช่น
의자 (อึยจา)
의원 (อึยวอน)

2. เมื่อสระ 의 ไม่ได้วางอยู่ในพยางค์แรกของคำ หรืออยู่ในพยางค์แรกแต่มีพยัญชนะต้นนำหน้า จะออกเสียงเป็น อี เช่น
거의 (คออี)
희망 (ฮีมัง)

3. เมื่อสระ 의 ทำหน้าที่เป็นคำแสดงความเป็นเจ้าของ จะออกเสียงเป็น เอ (แปลว่า เป็นของ,ของ) เช่น
언니의 (ออนนีเอ)
오빠의 (โอปาเอ)
재중의 (แจจุเง)


พยัญชนะเกาหลี

พยัญชนะ พื้นฐาน
พยัญชนะพื้นฐาน
(14 ตัว)
เสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น
/พยัญชนะตาม
เสียงเมื่อเป็นตัวสะกด
(ตามมาตราไทย ; แม่...)
(기역 คีหยอก)
 
กก
(니은 - นีอึน)
กน
 (디귿 - ทีกึด)
 
กด
 (리을 - รีอึล)
 
กน (ล)
 (미음 - มีอึม)
กม
 (비읍 - พีอึบ)
 
กบ
 (시옷 - ชีโอส)
 (หรือ  ถ้าประสมกับสระอี หรือควบ ว)
กด
(이응 - อีอึง)
อ (หรือออกเสียงตามสระ เช่น ยา วา)
กง
 (지읒 - ชีอึด)
 
กด
 (치읓 - ชี่อึด)
ช เสียงหนัก
กด
(키 읔 - คี่หยอก)
ค เสียงหนัก
กก
 (티 읕 - ที่อึด)
ท เสียงหนัก
กด
 (피읖 - พี่อึบ)
พ เสียงหนัก
กบ
 (히읗  ฮี่อึด)
กด

ㄱㄷㄹㅂㅅㅈ ถ้าอยู่เป็นพยัญชนะตัวแรกของคำ ก็จะออกเสียงเป็น ค ท ร พ ซ ช ตามลำดับ 
แต่ถ้าเป็นพยัญชนะตัวถัดไป ก็จะออกเสียงเป็นตัวข้างหลัง ก ด ล บ ช 

พยัญชนะซ้อน
(16 ตัว)
เสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น
/พยัญชนะตาม
เสียงเมื่อเป็นตัวสะกด
(ตามมาตราไทย ; แม่...)
ㄲ (쌍 기역 - ซังคีหยอก)
ก เสียงหนัก
กก
 (기역시옷)
-
กก
 (니은지읒)
-
กน
(니은히읗)
-
กน
ㄸ (쌍 디귿 - ซังทีกึด)
กด
(리을기역)
-
กก กน(ล)
(리을미음)
-
กม
(리을비읍)
-
กน (ล) กบ
(리을시옷)
-
กน (ล)
(리을티읕)
-
กน (ล)
(리을피읖)
-
กบ
(리을히읗)
-
กน (ล)
 (쌍비읍 - ซังพีอึบ)
กบ
(비읍시옷)
-
กบ
 (쌍시옷 - ซังชีโอส)
ซ (หรือ ช เสียงหนัก)
กด
(쌍 지읒 - ซังชีอึด)
จ เสียงหนัก
กด
ตัวสะกด

มาตรา (ตามมาตราไทย)
พยัญชนะ
แม่ ก กา (คำที่ไม่มีตัวสะกด)
-
แม่กก
    
แม่กด
        
แม่กบ
     
แม่กน (ล)
  ㄶ ( ㄺ    )
แม่กง
แม่กม
แม่เกย
-
แม่เกอว
-
ตัวสะกดจะวางไว้ล่างสุดของคำ โดยเริ่มเขียนจากพยัญชนะ สระ และตัวสะกดตามลำดับ

ตัว ㄼ จะอ่านได้ทั้ง บ และ น หรือ ㄺ ก็อ่านได้ทั้ง ก และ น
ก็ต้องดูว่าอ่าน ยังไง (เปิดดิกๆ)
แม่ เกย กับ เกอว นั้นจะไม่มี
แต่บางคนอาจจะเคย
ได้ยิน ซองเฮเคียว ซึ่งมาจาก 송혜교 (ซอง ฮเย คโย)
เวลาเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะได้ ว่า Song Hye-kyo

ส่วนที่ว่าจะใช้พยัญชนะหรือตัวสะกดตัวไหนก็ต้อง อาศัยการท่องมากๆ
ก็คล้ายภาษาไทยนั่นแหละ ที่เสียง /พ/ มีหลายรูป เช่น  ภ พ ผ ฝ