วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第三十课:我要回国了。 บทที่ 30: ฉันจะกลับประเทศแล้ว

第三十课:我要回国了。
บทที่ 30: ฉันจะกลับประเทศแล้ว

บทสนทนาที่ 1

  • jīn tiān wèi shén  me  qǐng wǒ chī fàn
    今  天  为  什  么  请  我  吃  饭?
    วันนี้เลี้ยงข้าวผมทำไมครับ
  • xiàng nǐ gào bié ā
    向   你  告  别 啊!
    ก็เลี้ยงลาคุณไงครับ
  • nǐ yào  qù  nǎr
    你 要  去 哪儿?
    คุณจะไปไหนเหรอครับ
  • wǒ  yào huí guó le
    我  要  回  国  了。
    ผมจะกลับประเทศแล้ว
  • nǎ tiān  zǒu wǒ qù  sòng nǐ
    哪  天  走? 我  去  送  你。
    กลับวันไหนครับ ผมจะได้ไปส่ง
  • xiè xie bú yòng sòng  le  nǐ nà me máng
    谢  谢, 不  用   送  了,你 那 么  忙。
    ขอบคุณครับ ไม่ต้องไปส่งหรอก คุณยุ่งขนาดนั้น

บทสนทนาที่ 2

  • nǐ dài  hù  zhào le ma
    你 带  护  照  了 吗?
    คุณพกหนังสือเดินทางมาด้วยหรือเปล่า
  • dài le
    带  了。
    พกมาครับ
  • duō gēn  wǒ men  lián  xì
    多  跟  我  们  联  系!
    ติดต่อกับพวกเราบ่อยๆ นะคะ/ครับ
  • wèn hòu nǐ  de jiā rén
    问  候  你  的 家 人!
    ฝากทักทายคนที่บ้านคุณด้วยนะคะ/ครับ
  • zhù nǐ yí  lù shùn fēng
    祝  你 一 路  顺  风!
    ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะคะ/ครับ
  • xiè xie dà  jiā zài jiàn le
    谢  谢  大  家,再  见  了!
    ขอบคุณทุกคนนะครับ ลาก่อนครับ
  • zài jiàn
    再  见!
    ลาก่อนค่ะ/ครับ


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 请

ในที่นี้ "请"(qǐng) เป็นคำแสดงการเชื้อเชิญ

2. 问候你的家人。

ประโยคนี้เป็นคำพูดที่ใช้บ่อยเวลาไปส่งเพื่อนที่จะเดินทางกลับบ้าน หมายถึง "ฝากทักทายคนที่บ้านคุณด้วยนะคะ/ครับ" โดยได้มีการละคำว่า "代表我"(dài biǎo wǒ, แทนฉัน) ซึ่งเดิมจะวางไว้หน้าประโยค


เกร็ดวัฒนธรรม

พิธีและธรรมเนียมปฏิบัติ 6: ประเพณีการดื่มเหล้าและการส่งแขกหรือผู้ที่จะออกเดินทาง

1. ประเพณีการดื่มเหล้าของจีน
เหล้า ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องดื่มเท่านั้น หากแต่หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ตามประเพณีโบราณของจีน เหล้าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานเลี้ยง เนื่องจากชาวจีนถือว่าการดื่มเหล้าเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการแลกเปลี่ยนและสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ดังนั้นหากมีการเลี้ยงแขกก็มักจะมีการดื่มเหล้าเป็นสิ่งคู่กันเสมอ ในโอกาสเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ ของจีน จะมีกิจกรรมการดื่มเหล้าที่มีความหมายแตกต่างกันออกไป

"เหล้าครบเดือน" (หม่านเย่ว์จื่ว) หรือ "เหล้าร้อยวัน" (ป่ายรื่อจิ่ว) เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไปในกลุ่มชนชาติต่างๆ ของจีน การดื่มเหล้าครบเดือนนี้จะทำกันในโอกาสที่เด็กมีอายุครบหนึ่งเดือน โดยจะมีการจัดโต๊ะเหล้าหลายโต๊ะ และเชิญญาติสนิทมิตรสหายมาร่วมฉลอง ปกติผู้ที่มาร่วมงานจะต้องเตรียมของขวัญหรืออั่งเปามามอบแก่เจ้าภาพด้วย

"เหล้าอายุยืน" โดยทั่วไปจะดื่มกันในโอกาสฉลองครบรอบวันเกิดของผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 50, 60 และ 70 ปีหรือสูงขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า "ต้าโซ่ว" งานเลี้ยงเหล้าอายุยืนนี้มักจัดโดยลูกหลานของผู้สูงอายุ และเชิญเพื่อนฝูงญาติพี่น้องมาร่วมงาน

"เหล้าขึ้นแป" (ซั่งเหลียงจิ่ว) และ "เหล้าขึ้นบ้านใหม่" (จิ้นอูจิ่ว) เป็นเหล้าที่ดื่มกันในโอกาสสร้างบ้านใหม่ ในชนบทจีนการสร้างบ้านถือเป็นเรื่องใหญ่ และในระหว่างการก่อสร้างนั้น ขั้นตอนการขึ้นแปบ้านถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ดังนั้นจึงมีประเพณีดื่มเหล้าฉลองในวันที่มีการขึ้นแป เมื่อบ้านสร้างเสร็จก็จะมีการดื่มเหล้าเฉลิมฉลองในวันขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีการดื่มเหล้าขึ้นบ้านใหม่นี้มีจุดประสงค์หลักสองประการคือ ดื่มฉลองที่บ้านใหม่สร้างเสร็จและอวยพรให้ผู้อยู่อาศัยประสบแต่ความสุขสวัสดี อีกประการหนึ่งก็เพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษให้มาปกปักษ์รักษา

"เหล้าเปิดกิจการ" (ไคเยี่ยจิ่ว) และ "เหล้าแบ่งอั่งเปา" (เฟินหงจิ่ว) เป็นประเพณีการดื่มเหล้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า เหล้าเปิดกิจการจะดื่มกันในโอกาสฉลองเปิดกิจการหรือโรงงานใหม่ เพื่ออวยพรให้กิจการรุ่งเรืองก้าวหน้า ส่วนเหล้าแบ่งอั่งเปานั้นจะดื่มในโอกาสแบ่งเงินปันผลหรือเงินโบนัสในช่วงปลายปี

"เหล้าเลี้ยงส่ง" (จ้วงสิงจิ่ว หรือ ซ่งสิงจิ่ว) จะดื่มกันในโอกาสเลี้ยงส่งเพื่อนที่จะเดินทางไกลเพื่อเป็นการแสดงความรู้สึกอำลาอาลัย

2. การส่งแขกหรือผู้ที่จะออกเดินทาง
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของจีน หากแขกที่มาเยี่ยมที่บ้านต้องการเดินทางกลับ เจ้าบ้านจะต้องส่งแขกตั้งแต่แขกก้าวออกจากประตูบ้านและยืนรอจนกว่าแขกจะลับสายตาไป การทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการให้เกียรติต่อแขกผู้มาเยือน โดยปกติเมื่อมีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน เจ้าบ้านจะต้องรอให้แขกเป็นผู้บอกลาก่อน หากเจ้าบ้านเป็นผู้บอกลาก่อนย่อมทำให้แขกรู้สึกว่าเจ้าบ้านไม่ต้อนรับหรือต้องการไล่แขก ดังนั้นหากไม่มีความจำเป็นเจ้าบ้านจึงไม่ควรเป็นผู้บอกลาก่อน เมื่อแขกต้องการลากลับ โดยทั่วไปเจ้าบ้านจะต้องพูดโน้มน้าวให้แขกอยู่ต่อสักครู่เพื่อแสดงถึงน้ำใจในการต้อนรับของตน หากแขกยืนยันว่าต้องการลากลับ เจ้าบ้านจะต้องรอให้แขกเป็นผู้ลุกจากที่นั่งก่อนแล้วจึงลุกขึ้นตาม มิฉะนั้นจะถือเป็นการเสียมารยาท

ส่วนธรรมเนียมการส่งแขกที่จะเดินทางกลับจะต้องเดินไปส่งแขกในระยะทางที่เหมาะสม เช่น เดินไปส่งที่รถ หรือไปส่งถึงสถานีขนส่งหรือสนามบิน เมื่อไปถึงสถานที่ส่ง ควรกล่าวอำลากับแขกและยืนส่งจนกว่าแขกจะเดินทางออกจากสถานที่นั้น

ในการกล่าวอำลา แขกผู้มีเยือนมักพูดว่า "jiù cǐ gào cí" (ขอลาตรงนี้) "hòu huì yǒu qī" (โอกาสหน้าพบกันใหม่) ส่วนเจ้าบ้านก็มักกล่าวว่า "yí lù shùn fēng" (ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ) "lǚ tú píng' ān" (ขอให้ปลอดภัยตลอดการเดินทาง) บางครั้งทั้งเจ้าบ้านและแขกต่างก็กล่าวคำว่า "zài jiàn" (แล้วพบกันใหม่) ต่อกันหรือต่างฝ่ายต่างกำชับให้ "duō duō bǎo zhòng" (รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี) หรืออาจฝากทักทายเพื่อนร่วมงานและคนในครอบครัวของแต่ละฝ่าย

第二十九课:这个假期你们有什么计划? บทที่ 29: วันหยุดนี้คุณวางแผนจะทำอะไร

第二十九课:这个假期你们有什么计划?
บทที่ 29: วันหยุดนี้คุณวางแผนจะทำอะไร

บทสนทนาที่ 1

  • kuài fàng jià le zhè ge jià qī  nǐ  men
    快   放  假 了。 这  个 假 期 你  们
    yǒu shén me jì huà
    有  什  么 计 划?
    ใกล้ปิดเทอมแล้ว ปิดเทอมนี้พวกคุณมีแผนจะทำอะไรกันบ้าง
  • wǒ dǎ  suan  huí  jiā guò  nián
    我  打  算  回  家  过  年。
    ผม/ฉันจะกลับไปฉลองตรุษจีนที่บ้าน
  • wǒ dǎ  suan liú zài xué  xiào  xué  xí
    我  打  算  留  在  学  校  学  习。
    ผม/ฉันจะทบทวนบทเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย

บทสนทนาที่ 2

  • hēi hú màn zhè ge  jià qī  nǐ yǒu shén  me dǎ  suan
    嘿, 胡  曼, 这  个  假 期 你 有  什  么  打  算?
    ไฮ หู มั่น ปิดเทอมนี้คุณวางแผนว่าจะทำอะไรครับ
  • wǒ xiǎng  huí jiā kàn  wǒ de jiā rén nǐ ne
    我  想  回  家 看  我 的  家 人。 你 呢?
    ฉันอยากจะกลับไปเยี่ยมบ้าน แล้วคุณล่ะคะ
  • wǒ yě shì wǒ hěn xiǎng niàn  wǒ de  jiā rén
    我  也 是, 我  很   想  念  我  的  家 人。
    ผมก็เหมือนกัน ผมคิดถึงที่บ้านมาก


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 快……

"快"(kuài) ในที่นี้หมายถึง "即将" (jí jiāng) หรือ "马上" (mǎ shàng) ซึ่งแปลว่า "ใกล้ถึง(เวลา)" หรืออาจพูดว่า "快要……"(kuài yào) ก็ได้

2. 过年

คำว่า "过"(guò) ในวลี "过年"(guò nián) มีความหมายเหมือนกับคำว่า "过" ในวลี "过中秋节"(guò zhōng qiū jié) ที่ปรากฏในบทที่ 22 "过" ทั้งสองตัวต่างหมายถึง "度过" (dù guò, ผ่าน/ใช้(เวลา)) ส่วนคำว่า "年"(nián) ในที่นี้หมายถึงเทศกาลตรุษจีน

3. 想 และ 想念

"想"(xiǎng) ในบทนี้หมายถึง "想要"(xiǎng yào, อยากจะ) หรือ "打算"(dǎ suan, วางแผนจะ) ส่วนคำว่า "想念"(xiǎng niàn) หมายถึง หวังที่จะได้พบกับคนหรือสิ่งแวดล้อมที่ตนได้จากมานาน มีความหมายตรงกับคำว่า "คิดถึง" ในภาษาไทย

เกร็ดวัฒนธรรม

วันหยุดตามกฎหมายของจีน

วันสำคัญที่รัฐบาลจีนประกาศให้เป็นวันหยุดตามกฎหมาย ได้แก่

วันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี โดยปกติจะกำหนดให้วันที่ 1-3 มกราคมเป็นวันหยุดตามกฎหมาย ในประเทศจีนไม่มีกิจกรรมการฉลองเป็นพิเศษในวันขึ้นปีใหม่

เทศกาลตรุษจีน ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ - 7 ค่ำตามปฏิทินจันทรคติของจีน รัฐบาลจีนกำหนดให้ 7 วันนี้เป็นวันหยุดตามกฎหมาย แต่ละปีวันหยุดเทศกาลตรุษจีนจะไม่ตรงกันเนื่องจากเทศกาลนี้ถือตามปฏิทินจันทรคติ แต่โดยปกติจะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในเทศกาลตรุษจีนชนชาติต่างๆ ทั่วประเทศจีนจะมีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี

วันแรงงานสากล ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ตามปกติรัฐบาลจีนจะประกาศให้วันที่ 1-7 พฤษภาคมเป็นวันหยุดตามกฎหมาย

วันชาติจีน ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี วันที่ 1-7 ตุลาคมถือเป็นวันหยุดตามกฎหมาย กิจกรรมการเฉลิมฉลองในวันชาติยิ่งใหญ่รองจากเทศกาลตรุษจีนเท่านั้น

สัปดาห์ทอง่

วันแรงงานสากลและวันชาติจีนของทุกปีจะเป็นช่วงวันหยุดยาว 7 วันของชาวจีน ช่วงวันหยุดยาว 7 วันนี้เองที่เรียกว่า "สัปดาห์ทอง" "สัปดาห์ทอง" มีความหมายต่อชาวจีนแต่ละคนต่างกันไป

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว วันหยุดยาวช่วงวันแรงงานสากลถือเป็นช่วงเวลาพักผ่อน เนื่องจากสังคมจีนปัจจุบันมีจังหวะชีวิตที่เร่งรีบและมีแรงกดดันสูงในด้านการเรียนและการงาน ชาวจีนจำนวนมากจึงเลือกที่จะใช้โอกาสช่วงวันหยุดยาวนี้ในการผ่อนคลายจิตใจ

ส่วนคนอีกจำนวนหนึ่งเลือกที่จะออกเดินทางท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่มีรถยนต์ส่วนตัว โดยมากก็จะขับรถไปเที่ยวกับครอบครัว ส่วนคนที่ทำงานอยู่ต่างถิ่นเป็นเวลานานก็มักเลือกพักผ่อนอยู่กับบ้านหรือกลับไปเยี่ยมพ่อแม่และครอบครัวที่บ้านเกิด นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยถือโอกาสทำงานพิเศษในช่วงวันหยุดนี้ เช่น เป็นพนักงานขายในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น และมีคนจีนบางส่วนที่ใช้เวลาในช่วงวันหยุดยาวนี้อ่านหนังสืออยู่ที่บ้านหรือไปร้านหนังสือ บางกลุ่มอาจไปเรียนพิเศษหรือเข้าคอร์สอบรม เนื่องจากความจำเป็นด้านการเรียนหรือหน้าที่การงาน

นอกจากนี้กลุ่มชาวต่างชาติที่มาทำงานและใช้ชีวิตในประเทศจีนที่มากขึ้นเรื่อยๆ บางส่วนก็ได้เข้าไปรวมอยู่ในกระแสนักท่องเที่ยวในช่วงสัปดาห์ทองนี้ด้วย

第二十八课:骑车别骑太快了! บทที่ 28: อย่าขี่จักรยานเร็วเกินไปล่ะ

第二十八课:骑车别骑太快了!
บทที่ 28: อย่าขี่จักรยานเร็วเกินไปล่ะ

บทสนทนาที่ 1

  • xiǎo xīn kuài ràng  kāi
    小  心! 快  让  开!
    ระวัง! หลีกทางด้วยครับ/ค่ะ!
  • duì bù qǐ wǒ de chē  zhá  huài le
    对  不 起,我  的  车  闸  坏  了。
    ขอโทษครับ/ค่ะ เบรกรถผม/ฉันเสีย
  • méi guān  xi  qí chē bié qí tài kuài le
    没  关  系,骑 车  别  骑 太 快  了!
    ไม่เป็นไรครับ อย่าขี่รถเร็วเกินไปก็แล้วกัน
  • hǎo  de shí  zài  hěn bào  qiàn
    好  的, 实 在  很  抱  歉!
    ครับ/ค่ะ ขอโทษจริงๆ ครับ/ค่ะ

บทสนทนาที่ 2

  • nín  zěn me le
    您  怎  么 了?
    อาจารย์เป็นอะไรไปครับ
  • méi shén me  gāng  cái  chōu le liǎng zhī yān
    没  什  么, 刚  才  抽  了  两  支  烟,
    yǒu  diǎnr ké sou
    有  点儿 咳  嗽。
    ไม่เป็นไร เมื่อครู่ผมสูบบุหรี่ไปสองมวน ก็เลยไอนิดหน่อย
  • nín bié  chōu yān le duì shēn  tǐ  bù hǎo
    您  别  抽  烟  了,对  身  体 不  好。
    อาจารย์อย่าสูบบุหรี่เลยครับ ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • xiè xie wǒ  jǐn  liàng shǎo chōu diǎnr
    谢  谢, 我  尽  量  少  抽  点儿。
    ขอบคุณครับ ผมจะพยายามสูบให้น้อยลง


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 快让开!

"快让开!"(kuài ràng kāi) เป็นประโยคที่ใช้เมื่อต้องการให้คนหลีกทางโดยเร็ว คำว่า "开"(kāi) ในประโยคนี้หมายถึง "(หลบ/หลีก)ออกไป" ซึ่งต่างจากความหมายที่เคยเรียนมาแล้วก่อนหน้านี้

2. 来不及

"来不及" (lái bù jí) หมายถึง ไม่สามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ทันเนื่องจากมีระยะเวลาสั้นเกินไป หรืออาจพูดอีกอย่างได้ว่า "没来得及" (méi lái de jí)

3. 别……

เราสามารถใช้คำว่า "别"(bié) ตามด้วยคำกริยาในการตักเตือนคู่สนทนาไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

4. คำช่วยน้ำเสียง "了"

การใช้คำว่า "了"(le) วางไว้ท้ายประโยค "别骑太快了"(bié qí tài kuài le) เป็นการทำให้น้ำเสียงของประโยคคำสั่งนี้อ่อนลง

5. ……对……不好

"……对……不好"(duì ... bù hǎo) หมายถึง (สิ่งๆ หนึ่งหรือการกระทำอย่างหนึ่ง)ทำให้เกิดผลเสียหรือสิ่งไม่ดีต่ออีกสิ่งหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง

เกร็ดวัฒนธรรม

วิธีคิดของคนจีน

โดยทั่วไปคนจีนจะมีวิธีคิดพิจารณาเรื่องราวต่างๆ โดย "ยึดทางสายกลาง" "เอกภาพ" และ "การแฝงเร้น"

คนจีนยึดทางสายกลางและให้ความสำคัญกับสันติภาพ ดังนั้นในการจัดการกับปัญหาต่างๆ คนจีนจะสามารถปรับ "ระดับ" การจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือไม่จัดการปัญหาแบบสุดขั้วหรือโน้มเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป การจัดการปัญหาด้วยหลัก"ยึดทางสายกลาง"นี้ ไม่ได้เป็นการจัดการปัญหาที่ขาดความกระตือรือร้นหรือความคิดสร้างสรรค์ หากแต่เป็นการเข้าถึงและการปรับความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างปัจจัยต่างๆ ของปัญหาให้กลับคืนสู่ภาวะสมดุล

คนจีนจะมองปัญหาต่างๆ โดยภาพรวมและให้ความสำคัญกับเอกภาพ องค์รวมและความกลมกลืน คนจีนมักมองว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์รวมและไม่ยินดีที่จะแยกตัวออกมาเป็นเอกเทศ ดังจะเห็นได้จากความเป็นเอกภาพของชนชาติจีน และลำดับการเรียงชื่อแซ่ตามธรรมเนียมจีนโบราณซึ่งจะขึ้นต้นด้วยแซ่ ตามด้วยตัวอักษรแทนชื่อลำดับรุ่นในตระกูล จากนั้นจึงเป็นชื่อตัว นอกจากนี้ยังมีลักษณะอื่นๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับเอกภาพของคนจีน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับกลุ่มหรือสังคม ลำดับการบอกที่อยู่หรือสถานที่และการบอกเวลาซึ่งจะเรียงลำดับจากหน่วยใหญ่ไปสู่หน่วยย่อยเสมอ การบอกที่อยู่หรือสถานที่จะเรียงลำดับจากประเทศ มณฑล อำเภอ ตำบลและหมู่บ้านตามลำดับ ส่วนการบอกเวลาจะเรียงลำดับจากปี เดือน วัน ชั่วโมง นาทีและวินาทีตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ หากความคิดหรือการกระทำของใครผิดแผกไปจากกระแสสังคมมาก คนนั้นก็จะถูกมองว่าเป็นพวกนอกคอก ในการคิดพิจารณาเรื่องราวต่างๆ นอกจากจะยึดทางสายกลางแล้ว คนจีนยังมองเรื่องราวต่างๆ ในภาพรวมด้วย นอกจากนี้คนจีนยังเชื่อในสัญชาตญาณและประสบการณ์ของตน ดังนั้นการคิดพิจารณาบนพื้นฐานของความรู้สึกจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาปัญหาของคนจีน

วิธีคิดของคนจีนยังมีลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง คือ "การแฝงเร้น" คนจีนเคยชินกับการใช้คำเปรียบเปรย การบอกเป็นนัย และการใช้สิ่งต่างๆ มาเป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกภายใน ดังปรากฎในสำนวนสุภาษิตต่างๆ ของจีน เช่น “Jiāngshān yì gǎi, běnxìng nán yí” (เปลี่ยนทางภูเขาและสายน้ำนั้นง่าย แต่เปลี่ยนนิสัยคนนั้นยาก), "Mǎ shàn bèi rén qí, rén shàn bèi rén qī" (ม้าดีถูกขี่ คนดีถูกรังแก) เป็นต้น ซึ่งจริงๆ แล้วคำว่า "ภูเขา" "ม้า" "น้ำ" และ "คน" ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด การพูดแฝงนัยและการใช้สัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆ ของคนจีนจึงเป็นสิ่งที่น่าค้นหายิ่งนัก


第二十七课:考的真不错!祝贺你! บทที่ 27: สอบได้ไม่เลวทีเดียว ยินดีด้วย

第二十七课:考的真不错!祝贺你!
บทที่ 27: สอบได้ไม่เลวทีเดียว ยินดีด้วย

บทสนทนาที่ 1

  • zhè  cì  kǎo  shì  chéng  jì zěn me  yàng
    这  次 考  试  成  绩 怎  么  样?
    ผลสอบคราวนี้เป็นยังไงบ้าง
  • hái kě yǐ  dé le yōu xiù
    还  可 以。得 了  优  秀。
    ก็พอใช้ครับ ได้คะแนนยอดเยี่ยม
  • kǎo  de zhēn bú cuò  zhù hè nǐ
    考  得  真  不  错! 祝  贺 你!
    สอบได้ไม่เลวเลยจริงๆ (สอบได้ดีจริงๆ) ยินดีกับคุณด้วยนะครับ

บทสนทนาที่ 2

  • āi zhēn chà jìn wǒ yǐ jing  hěn nǔ lì  zhǔn  bèi
    唉! 真  差  劲!我 已  经  很  努 力  准  备
    kǎo  shì le dàn shì chéng  jì  hái shì  bú  tài hǎo
    考  试 了, 但  是  成  绩 还  是  不  太  好。
    เฮ่อ แย่จริงๆ ผมขยันและเตรียมตัวสอบเต็มที่แล้ว แต่ผลสอบก็ยังไม่ค่อยดี
  • méi guān  xi  xià cì  hǎo  hǎo kǎo
    没  关  系,下  次  好  好  考!
    ไม่เป็นไรน่ะ คราวหน้าตั้งใจสอบใหม่
  • hǎo  de  xiè xiè
    好  的, 谢  谢。
    จังหวะไม่ดีเลยครับ เขาออกไปทานข้าวแล้ว

คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 得

"得" (dé) ที่ปรากฏในบทนี้หมายถึง "得到" (dé dào) หรือ "获得" (huò dé) ซึ่งแปลว่า "ได้รับ" ตัวอักษร "得" อ่านได้หลายเสียงและมีความหมายต่างกันไปตามเสียงที่อ่าน ดังนั้น คำว่า "得" (dé) ในบทนี้จึงมีความหมายต่างจากคำว่า "得" (de) ซึ่งเป็นคำช่วยโครงสร้างที่เคยเรียนมาในบทก่อนๆ

2. 上次/下次

"上次"(shàng cì) หมายถึง "ครั้งก่อน/ที่แล้ว" ส่วน "下次"(xià cì) หมายถึง "ครั้งหน้า/ต่อไป" คำว่า "下"(xià) ในที่นี้มีวิธีใช้เหมือนในบทที่ 5

3. 差劲้

"差劲"(chà jìn) ในบทนี้เป็นคำคุณศัพท์ที่หมายถึงใช้บรรยายความรู้สึกผิดหวัง แปลว่า แย่, ใช้ไม่ได้

เกร็ดวัฒนธรรม

พิธีและธรรมเนียมปฏิบัติ 5: ประเพณีการแต่งงานแบบโบราณของจีน

ก่อนงานแต่งงาน ครอบครัวของบ่าวสาวจะต้องตระเตรียมงานให้พร้อมล่วงหน้า เช่น แจ้งข่าวแก่เพื่อนฝูงญาติพี่น้องและเตรียมงานเลี้ยง เป็นต้น

ในวันงาน เจ้าบ่าวจะจัดเกี้ยวไปรับเจ้าสาวถึงบ้าน (ปัจจุบันมักใช้รถแต่งงานแทน โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้รถยนต์ราคาแพง) เกี้ยวรับเจ้าสาวหรือรถแต่งงานของจีนจะต้องมี "ขบวนรับเจ้าสาว" ตามไปด้วย โดยผู้ร่วม "ขบวนรับเจ้าสาว" โดยทั่วไปจะเป็นญาติของฝ่ายเจ้าบ่าว นอกจากขบวนรับเจ้าสาวแล้ว สมัยก่อนยังต้องมีวงดนตรีนำหน้าเกี้ยวรับเจ้าสาวด้วย เมื่อรับเจ้าสาวมาถึงบ้านเจ้าบ่าว บ่าวสาวจะต้องคำนับฟ้าดินและพ่อแม่ โดยบ่าวสาวจะยืนเคียงกันหน้าโต๊ะบูชาฟ้าดิน เจ้าบ่าวยืนด้านขวาและเจ้าสาวยืนด้านซ้าย ผู้ดำเนินงานจะประกาศให้บ่าวสาวเริ่มคำนับ "หนึ่งคำนับฟ้าดิน สองคำนับพ่อแม่ สามบ่าวสาวคำนับกันและกัน" จากนั้นชานเค่อหรือแม่สื่อก็จะประคองเจ้าสาวไปยังห้องหอ ตามธรรมเนียมจีนโบราณถือว่า บ่าวสาวจะเป็นสามีภรรยากันอย่างเป็นทางการต่อเมื่อได้คำนับฟ้าดินและพ่อแม่แล้ว ดังนั้นขั้นตอนการคำนับฟ้าดินและพ่อแม่จึงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในพิธีแต่งงาน ขั้นตอนต่อมาคือการส่งบ่าวสาวเข้าห้องหอ ระหว่างที่ส่งบ่าวสาวเข้าห้องหอนั้น ก็จะมีงานเลี้ยงที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจัดขึ้นเพื่อต้อนรับญาติสนิทมิตรสหายและเพื่อนบ้านที่มาร่วมแสดงความยินดี

เมื่องานเลี้ยงจบลงก็ยังไม่ถือว่าเสร็จสิ้นพิธี หลังจากงานเลี้ยงเพื่อนสนิทรุ่นเดียวกันหรือรุ่นน้องของเจ้าบ่าวจะพากันไปที่ห้องหอ เพื่อหยอกล้อหรืออาจถึงขั้นแกล้งคู่บ่าวสาว ตามธรรมเนียมจีนแล้ว กิจกรรมหยอกล้อบ่าวสาวถือว่าเป็นการอวยพรคู่บ่าวสาวอย่างหนึ่ง ดังนั้นคู่บ่าวสาวจะไม่ถือโกรธแม้ว่าจะถูกแกล้งหรือหยอกล้อก็ตาม เมื่อการหยอกล้อถึงห้องหอเสร็จสิ้นลง กลุ่มเพื่อนก็จะแยกย้ายกลับบ้าน บ่าวสาวจึงได้พักผ่อน

คำอวยพรของจีน่

คำอวยพรหมายถึงคำพูดแสดงความยินดีหรือให้พรในโอกาสเฉลิมฉลองต่างๆ ตัวอย่างคำอวยพรภาษาจีนที่นิยมใช้ในโอกาสต่างๆ ได้แก่

การแสดงความยินดีในโอกาสที่บุคคลมีผลงานหรือก้าวหน้าในหน้าที่การงานหรือการเรียน เราสามารถพูดแสดงความยินดีว่า "gōng xǐ nǐ!" หรือ "zhù hè nǐ!" ซึ่งมีความหมายว่า "ยินดีด้วย" หรือบางครั้งอาจพูดว่า "gōng xǐ gōng xǐ!" (ยินดีด้วย ยินดีด้วย) ตรงๆ ก็ได้

ในวันขึ้นปีใหม่หรือเทศกาลตรุษจีน เรามักอวยพรกันด้วยประโยคที่ว่า "xīn nián kuài lè!" (สวัสดีปีใหม่) หรือ "wàn shì rú yì!" (ขอให้สมความปรารถนาทุกประการ)

ในโอกาสงานเลี้ยงวันเกิด คำอวยพรที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ "shēng ri kuài lè!" (สุขสันต์วันเกิด) แต่หากต้องการอวยพรวันเกิดของผู้สูงอายุ ควรอวยพรว่า "Fú rú dōnghǎi, shòu bǐ nán shān." (ขอให้มีความสุขดั่งทะเลตะวันออกและมีอายุยืนดั่งภูเขาใต้)

ส่วนการอวยพรคู่บ่าวสาวในงานแต่งงาน นิยมอวยพรว่า "bái tóu dào lǎo" (ขอให้รักกันจนแก่จนเฒ่า), "zǎo shēng guì zǐ" (ขอให้มีลูกไวๆ), "tiān cháng dì jiǔ" (ขอให้รักกันตราบชั่วฟ้าดินสลาย) เป็นต้น

第二十六课:明天咱们去看京剧吧! บทที่ 26: พรุ่งนี้พวกเราไปดูงิ้วกันเถอะ

第二十六课:明天咱们去看京剧吧!
บทที่ 26: พรุ่งนี้พวกเราไปดูงิ้วกันเถอะ

บทสนทนาที่ 1

  • zhè  xiē shì  shén  me
    这  些  是  什  么?
    ของพวกนี้คืออะไรครับ
  • zhè  xiē shì jīng jù liǎn pǔ nǐ kàn  guò jīng jù ma
    这  些  是 京  剧  脸  谱。你 看  过  京  剧 吗?
    ของพวกนี้คือหน้ากากงิ้วครับ คุณเคยดูงิ้วหรือเปล่า
  • méi  kàn  guò
    没  看  过。
    ไม่เคยดูครับ
  • míng tiān  zán  men  qù  kàn jīng jù ba
    明   天  咱  们  去  看  京  剧 吧!
    พรุ่งนี้เราไปดูงิ้วกันเถอะ
  • hǎo a jiào lǐ  méi tā men yì  qǐ qù ba
    好  啊!叫  李 梅  他  们  一 起 去 吧!
    ดีครับ เรียกหลี่ เหมยและคนอื่นๆ ไปด้วย

บทสนทนาที่ 2

  • piào mài guāng le
    票  卖  光  了。
    บัตรขายหมดแล้วค่ะ/ครับ
  • méi guān  xi wǒ men  kě yǐ qù  bié  de  dì fang
    没  关  系,我  们  可 以 去  别  的  地  方。
    ไม่เป็นไร พวกเราไปที่อื่นก็ได้
  • zán men  qù xiāng shān ba
    咱  们  去  香   山  吧!
    พวกเราไปภูเขาเซียงซานกันเถอะ
  • xiāng shān  tài yuǎn  le  qù yí  hé yuán zěn me yàng
    香   山  太  远  了。去 颐 和  园   怎  么  样?
    ภูเขาเซียงซานไกลเกินไป ไปอี๋เหอหยวน(พระราชวังฤดูร้อน)ดีกว่าไหม
  • wǒ jué de qù gù gōng gèng yǒu  yì  si
    我  觉  得  去 故  宫   更   有  意 思。
    ฉัน/ผมว่าไปกู้กง(พระราชวังต้องห้าม)น่าจะสนุกกว่า
  • zhēn má fan  kuài diǎnr jué  dìng ba
    真   麻  烦, 快  点儿  决  定  吧!
    ยุ่งจริงๆ เลย รีบตัดสินใจเข้าเถอะ


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 叫

คำว่า "叫"(jiào) ในบทนี้หมายถึงการสั่ง อนุญาตหรือบอกให้ใครทำกริยาหรือสิ่งใดเรื่องหนึ่ง อาจแปลความหมายเป็นภาษาไทยได้ว่า "เรียก/ให้" ความหมายของคำว่า "叫" ในบทนี้ไม่เหมือนกับความหมายในประโยค "我叫大川"(wǒ jiào dà chuān) ที่ได้เรียนมาก่อนหน้านี้ ซึ่งหมายถึง "มีชื่อว่า"

2. 胡曼他们

ในที่นี้ "胡曼他们"(hú màn tā men) หมายถึง ตัวหู มั่นเองและเพื่อนๆ ของหู มั่น

3. ……光了

"คำกริยา+光了"(guāng le) หมายถึง สิ่งๆ หนึ่งได้ถูกทำกริยาดังกล่าวจนหมดหรือไม่มีเหลือแล้ว เช่น "票卖光了" (piào mài guāng le, บัตรขายหมดแล้ว) ก็จะหมายถึง "票都卖完了" (piào dōu mài wán le, บัตรถูกขายหมดเกลี้ยงแล้ว)

4. 有意思

"有意思"(yǒu yì si) ในที่นี้หมายถึง "有趣" (yǒu qù, สนุก, น่าสนใจ) "意思"(yì si) ในความหมายนี้ไม่เหมือนกับคำว่า "意思" ในประโยค "什么意思" (shén me yì si, ความหมาย) และ "不好意思" (bù hǎo yì si, ขอโทษ, รู้สึกละอาย/ไม่สบายใจ) ที่ได้เรียนในบทก่อนๆ

5. 麻烦

คำว่า "麻烦"(má fan) ในประโยค "真麻烦"(zhēn má fan) เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ยุ่งยากหรือน่ารำคาญ แต่คำว่า "麻烦" ในประโยค "麻烦您"(má fan nín) นั้นเป็นคำกริยา หมายถึง รบกวน

เกร็ดวัฒนธรรม

อุปรากรจีน


ละครโบราณของจีนมีประวัติความเป็นมาช้านาน ละครในแต่ละท้องถิ่นของจีนต่างมีวิวัฒนาการของตนและค่อยๆ หล่อหลอมกลายเป็นละครที่มีลักษณะเฉพาะรวมกว่า 360 ชนิด ในจำนวนนี้อุปรากรจีนหรืองิ้ว(จิงจี้ว์) นับว่าเป็นศิลปะการละครที่โดดเด่นและมีบทบาทมากที่สุด จนได้รับการขนานนามให้เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดมรดกทางวัฒนธรรมของจีน

อุปรากรจีนมีกำเนิดมา 200 ปีแล้ว มีอยู่ช่วงหนึ่งเรียกชื่อว่า "ผิงจี้ว์" และ "กั๋วจี้ว์" ในระหว่างการพัฒนาอุปรากรจีน ได้มีการรับเอาชื่อของละครบางส่วน ท่วงทำนองเพลงและวิธีการแสดงจากละครคุนฉี่ว์และละครฉินเชียง ทั้งยังมีการซึมซับเอาท่วงทำนองของเพลงพื้นเมืองจำนวนหนึ่งไว้ หลอมรวมเป็นรูปแบบศิลปะและระบบการแสดงที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ

ศิลปะการแสดงบนเวทีของอุปรากรจีนมีแบบแผนที่เป็นมาตรฐาน ทั้งเสียงร้อง ท่วงทำนองเพลง เครื่องดนตรี การแสดง การแต่งหน้าและหน้ากากของตัวละครล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตัวละครในการแสดงอุปรากรจีนเรียกว่า "หังตั้ง" หรือ "เจวี๋ยเซ่อ" โดยแบ่งออกเป็นตัวละครในบทบาทต่างๆ ได้แก่ เซิง ตั้น จิ้ง มั่วและโฉ่ว "เซิง" คือตัวละครชาย "ตั้น" คือตัวละครหญิง "จิ้ง" คือตัวละครที่ใบหน้ามีลวดลาย "มั่ว" คือตัวละครสมทบที่เป็นชายวัยกลางคน ส่วน "โฉ่ว" คือตัวตลกที่มีนิสัยสนุกสนานร่าเริง

ตลอดประวัติศาสตร์การพัฒนาของอุปรากรจีน ได้มีศิลปินนักแสดงที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากหน้าหลายตา หนึ่งในจำนวนนั้นคือ เหมย หลานฟาง ปรมาจารย์แห่งวงการอุปรากรจีน เหมย หลานฟางได้รับยกย่องให้เป็น "นักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นรูปอวตารแห่งความงาม" เขาเป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปะการแสดง "แนวเหมย" (เหมยไพ่) ซึ่งมีชื่อเสียงทั้งในจีนและต่างประเทศ จนมีการยกย่องให้ศิลปะการละครของจีนซึ่งมีศิลปะการแสดงแนวเหมยเป็นตัวแทน ศิลปะการละครของStanislavsky ชาวโซเวียต และศิลปะการละครของ Brecht ชาวเยอรมนีเป็นแบบแผนศิลปะการละครที่ยิ่งใหญ่ทั้งสามของโลก

เครื่องดนตรีโบราณของจีน่


ดนตรีจีนผ่านการบ่มเพาะและสร้างสรรค์มาเป็นเวลาช้านาน ชาวจีนประดิษฐ์เครื่องดนตรีอันมีเอกลักษณ์เฉพาะชนชาติขึ้นเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเครื่องดนตรีพื้นเมืองของจีนที่ใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลายมีมากกว่า 400 ชนิด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ เครื่องเป่า เครื่องดีด เครื่องสี และเครื่องตี

ประเภทที่ 1 เครื่องเป่า
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของจีนมีเกือบหนึ่งร้อยชนิด แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะที่ต่างกันคือ เครื่องเป่าที่มีลิ้น เครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้นและเครื่องเป่าที่มีเสียงเกิดจากลิ้นและเลา เครื่องเป่าที่สำคัญได้แก่ ปี่ ขลุ่ย สั่วน่า ก่วนและเซิง เป็นต้น

ประเภทที่ 2 เครื่องดีด
เครื่องดนตรีประเภทดีดของจีนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องดีดแนวขวาง เช่น พิณ เซ่อ เจิง และเครื่องดีดแนวตั้ง เช่น หร่วน ผีผา เย่ว์ฉิน หลิ่วฉิน ซานเสียน เป็นต้น

ประเภทที่ 3 เครื่องสี
เครื่องดนตรีประเภทสีของจีนเกิดหลังเครื่องเป่า เครื่องดีดและเครื่องตี เครื่องสีประเภทหลักของจีนคือหูฉิน เครื่องสีประเภทต่างๆ ของจีนในปัจจุบันต่างพัฒนามาจากหูฉิน ไม่ว่าจะเป็น เอ้อร์หู เกาหู จงหู ต้าถ่ง ซื่อหู ตีหู เก๋อหู จิงหู จิงเอ้อร์หู ป่านหู จุ้ยฉินและจุ้ยหู เป็นต้น

ประเภทที่ 4 เครื่องตี
ในบรรดาเครื่องดนตรีประเภทตีของจีน เปียนจง เปียนชิ่ง ฟางเสี่ยงและอวิ๋นหลัวเป็นเครื่องตีที่สามารถบรรเลงให้เป็นท่วงทำนองได้ ส่วนเครื่องตีชนิดอื่นส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องให้จังหวะหรือเครื่องดนตรีประกอบเพื่อเพิ่มสีสันเท่านั้น เครื่องตีให้จังหวะที่สำคัญได้แก่ กลอง ฆ้อง หนาวปั๋วและป่านปัง เป็นต้น

เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นมักใช้บรรเลงร่วมกัน กลายเป็นดนตรีพื้นเมืองจีนอันไพเราะเสนาะหูู


第二十五课:对不起,我来晚了。 บทที่ 25: ขอโทษ ฉันมาสาย

第二十五课:对不起,我来晚了。
บทที่ 25: ขอโทษ ฉันมาสาย

บทสนทนาที่ 1

  • duì bù qǐ wǒ  lái wǎn le
    对  不 起,我  来  晚  了。
    ขอโทษครับ ผมมาสาย
  • wā wǒ  yǐ wéi nǐ bú huì lái le
    哇! 我  以 为  你 不  会 来 了!
    โอ ฉันคิดว่าคุณจะไม่มาเสียแล้ว
  • wǒ xiǎng gěi nǐ  yí  gè jīng  xǐ
    我  想  给 你 一 个  惊  喜。
    ผมอยากทำเซอร์ไพร์สคุณน่ะ
  • zì  xíng  chē wǒ tài xǐ huan le
    自  行  车! 我  太 喜  欢  了!
    จักรยาน ฉันชอบจริงๆ

บทสนทนาที่ 2

  • duì bù qǐ duì bù qǐ wǒ bú shì gù  yì de
    对  不 起,对  不 起,我  不 是  故 意 的。
    ขอโทษครับ ขอโทษ ผมไม่ได้ตั้งใจ
  • méi guān  xi
    没  关  系。
    ไม่เป็นไรค่ะ
  • kuài cā ca ba
    快  擦 擦 吧!
    รีบเช็ดออกเถอะครับ
  • hǎo  de  xiè xiè
    好  的, 谢  谢。
    ค่ะ ขอบคุณค่ะ


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 以为

"以为"(yǐ wéi) เป็นคำกริยาที่แสดงว่าความเข้าใจหรือความคิดที่ตนเองคิดไว้ว่าถูกต้องนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น "我以为是他呢,没想到是你。" (wǒ yǐ wéi shì tā ne, méi xiǎng dào shì nǐ; ฉันเข้าใจมาตลอดว่าเป็นเขา ไม่คิดเลยว่าจะเป็นคุณ)

2. 惊喜

"惊喜"(jīng xǐ) หมายถึงความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่เกิดจากเรื่องที่ตนไม่คาดคิดมาก่อน

3. 擦擦

การซ้ำคำกริยาอย่างเช่นกลุ่มคำว่า "擦擦" (cā ca, เช็ดๆ หน่อย) เป็นรูปแบบที่ใช้บ่อยในภาษาจีนกลาง เมื่อซ้ำคำกริยาแล้ว คำกริยาตัวที่สองจะต้องอ่านเป็นเสียงเบา รูปแบบการซ้ำคำกริยานี้แสดงว่ากริยานั้นทำในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทำไม่จริงจัง หรือบางครั้งหมายถึงการลองทำ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้โครงสร้าง "กริยา + 一下"(yí xià) หรือ "กริยา + 一 + กริยา" เช่น "擦一下"(cā yī xià) , "擦一擦"(cā yi cā) ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ "擦擦" ได้ด้วย

เกร็ดวัฒนธรรม

ความอ่อนน้อมถ่อมตนของชาวจีน

ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคุณธรรมอันดีงามซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณของชนชาติจีน คนจีนมีคำพูดโบราณที่ว่า "qiān shòu yì, mǎn zhāo sǔn" (ถ่อมตัวรับผลดี เย่อหยิ่งชักนำผลเสีย) คำว่า "ถ่อมตัว" ในที่นี้หมายถึงอ่อนน้อม ไม่ลำพองตน ยอมรับความเห็นและคำวิจารณ์ของผู้อื่น รวมถึงการปฏิบัติตัวต่อผู้อื่นอย่างมีมารยาท เช่น เมื่อได้รับคำชมจากผู้อื่น คนจีนมักจะแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยการตอบรับคำชมว่า "guò jiǎng le" (กล่าวชมเกินไปแล้ว) หรือ "nǎ li nǎ li" (ที่ไหนกัน) เป็นต้น ความอ่อนน้อมถ่อมตนของชาวจีนโดยเนื้อแท้แล้วหมายถึงการให้เกียรติ มิตรภาพอันดีงามและการบังคับตนเองให้อยู่ในกรอบประเพณี มิใช่ความขลาดกลัวหรือการดูถูกตัวเองแต่อย่างใด ดังนั้นหากใครมีคุณธรรมอันดีงามข้อนี้ก็จะเจริญก้าวหน้าและได้รับการยอมรับนับถือจากผู้อื่น

ความอ่อนน้อมถ่อมตนยังคงเป็นคุณธรรมอันดีงามที่ไม่ตกยุคในสังคมจีนปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพราะความอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้ผู้ที่ประสบความสำเร็จมองเห็นข้อด้อยของตนและสามารถพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป