声调 shēngdiào เซิงเตี้ยว
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ของจีนมีทั้งสิ้น 4 เสียงโดยแต่ละเสียงจะใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์และมีชื่อเรียกเฉพาะ แต่ ณ ที่นี้ จะขอเรียก ว่าเสียงที่ 1 เสียงที่ 2 เสียงที่ 3 และ เสียงที่ 4 พร้อมทั้งอธิบายเปรียบเทียบกับเสียงวรรณยุกต์ไทย เพื่อสะดวกต่อการเรียนรู้แบบจานด่วน ดังนี้
เสียงที่ 1 เสียงที่ 2 เสียงที่ 3 เสียงที่ 4
ā á ǎ à
สามัญ ๋ ่ ้
อา อ๋า อ่า อ้า
กฎของการเติมวรรณยุกต์
1. เครื่องหมายวรรณยุกต์จะใส่ไว้ตรงสระเท่านั้น ห้ามใส่ไว้บนพยัญชนะ
2. ห้ามใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้บน –n –ng
3. ตำแหน่งการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ จะใส่ไว้ตามลำดับสระพี่น้องดังนี้
1 ( คนโต )
|
2
|
3
|
4 ( ฝาแฝด )
|
5
| |
a
อา
|
o
โอ
|
e
เออ
|
i
อี
|
u
อู
|
ü
อวี
|
EX: bāo gěi liè nüē tū
เปา เก่ย เลี่ย เนวีย ทู
5. กรณีที่เป็นสระ ü (อวี) ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้ข้างบนจุดจุด เช่น nǚ (หนวี่)
4. กรณีที่เป็นสระ i (อี)ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ทับจุด เช่น lī (ลี)
6. กรณีที่เป็นสระฝาแฝด ( i อี u อู) ให้วางวรรณยุกต์ไว้ที่สระด้านหลังเสมอ เช่น duī (ตุย) diū (ติว)
7. กรณีที่เสียงวรรรยุกต์เสียงที่ 3 เจอเสียงวรรณยุกต์เสียง ที่ 3 ด้วยกัน เสียงข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นเสียงที่ 2 เช่น
* ˇˇ = ´ ˇ
หนี่ห่าว หนี ห่าว
* ˇˇˇ = ˇ´ˇ/ ´´ˇ
หว่อ เหิ่น ห่าว หว่อ เหิน ห่าว หว๋อ เหิน ห่าว
* ˇˇˇˇ = ´ˇ´ˇ
wǒ yě hěn hǎo ออกเสียงเป็น wó yě hén hǎo(ฉันก็สบายดีเหมือนกัน)
หว่อ เย่ เหิ่น ห่าว หว๋อ เย่ เหิน ห่าว