วิธีเปิดพจนานุกรมจีน – ไทย
โดยทั่วไปนิยมค้นหาอยู่ 2 วิธี ได้แก่
1. ค้นหาคำจากสัทอักษร (pīnyīn)
2. ค้นหาโดยการนับขีด
ค้นหาคำจากสัทอักษร (pīnyīn)
วิธีนี้เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ใช้ตำราเรียน ที่มีตัวอักษรจีน และมีพินอินกำกับ แต่เราไม่ทราบคำแปล เช่น
拿手 náshǒu good at
ตัวอย่างคำศัพท์นี้ ถ้าเราไม่ทราบความหมายภาษาอังกฤษ เราก็สามารถเลือกวิธีเปิดพจนานุกรมหาคำศัพท์จากพินอิน ที่เค้ามีไว้ให้ได้ค่ะ เรามาทำตามขั้นตอนดังนี้กันค่ะ
1. น้อง ๆ เปิดไปหน้าที่ 22 ค่ะน้องจะเห็นตาราง และพยัญชนะพินอินเต็มไปหมดเลยค่ะ ให้น้องหาศัพท์ข้างบนที่พี่จิ๋วกำหนดไว้นั้นก็คือคำว่า náshǒu เราก็ต้องมองหาตัว N กันค่ะ มาดูกันสิค่ะว่าอยู่หน้าไหน...
2. N อยู่หน้าที่ 24 ค่ะ คราวนี้ให้น้อง ๆ ลากสายตามาดูกันว่า ná อยู่ตรงไหน (วิธีเรียงพยัญชนะก่อนหลัง จะเหมือนกับภาษาอังกฤษค่ะ ในส่วนของวรรณยุกต์ก็จะเรียงตามลำดับเสียง 1-4 ค่ะ ¯ ́ ˘ ̀)
3. ná พวกเราเจอกันแล้วใช่มั้ยค่ะ จะเห็นตัวเลขทางด้านขวามือ ตัวเลขทางด้านขวามือหมายถึงให้พวกเราเปิดไปที่หน้าตามที่เค้าระบุไว้ค่ะ อย่างตัว ná ขวามือคือหน้า 763 พวกเราลองเปิดไปดูเลยค่ะ
4. อ่า...คราวนี้พวกเราก็ลองมองดูว่า ná ตัวอักษรจีน拿 แบบนี้มันอยู่ตรงไหนหว่า..
5. เมื่อเจอแล้วให้พวกเราหาคำหลังต่อเลยค่ะshǒu--手 --拿手 – náshǒu
6. 拿手 náshǒu พวกเราเห็นกันแล้วน่ะค่ะ หมายถึง ถนัด เชี่ยวชาญ ชำนาญ นั้นเองค่ะ
7. พวกเราหมั่นฝึกหาศัพท์จากพินอินดูน่ะค่ะ
ค้นหาโดยการนับขีด
1. เริ่มจากพวกเราต้องรู้จักหมวดนำของตัวอักษรภาษาจีน (首部)และนับขีดให้เป็นก่อนค่ะ การนับขีดจะนับเป็นและนับได้ถูกต้องนั้น ขึ้นอยู่กับว่าตอนที่น้อง ๆ เริ่มเรียนเขียนตัวอักษรจีนใหม่ ๆ เขียนถูกต้องตามลำดับขีดที่อาจารย์ท่านสอนหรือไม่ด้วยน่ะค่ะ คนที่เขียนได้ถูกต้องตามลำดับจะนับขีดแม่นกว่าพวกที่ชอบลักไก่เขียนตัวอักษรจีนค่ะ
2. หลังจากนั้นมารู้จักโครงสร้างการประกอบกันของตัวอักษรจีนค่ะ (汉字结构)
โครงสร้างของตัวอักษรจีน เป็นสิ่งทีจำเป็นที่จะต้องรู้และจำ เพราะนอกจากจะทำให้เขียนตัวอักษรจีนได้ถูกต้องแล้วยังมีความสำคัญในการมีส่วนช่วยในการเปิดพจนานุกรมอีกด้วย โครงสร้างอักษรจีน สามารถแบ่งได้ 14 รูปแบบ ดังนี้
1. โครงสร้างซ้ายขวา เช่น 挣、伟、休、妲
2. โครงสร้างบนล่าง เช่น 志、苗、字、胃
3. โครงสร้างซ้ายกลางขวา เช่น 彬、湖、棚、椭
4. โครงสร้างบนกลางล่าง เช่น 奚、髻、禀、亵
5. โครงสร้างขวา คลุมครึ่งบนเช่น 句、可、司、式
6. โครงสร้างซ้าย คลุมครึ่งบน เช่น 庙、病、房、尼
7. โครงสร้าง ซ้าย คลุมครึ่งล่าง เช่น 建、连、毯、尴
8. โครงสร้าง ขวา คลุมครึ่งล่าง เช่น 斗
9. โครงสร้างครอบบน เช่น 同、问、闹、周
10.โครงสร้างครอบล่าง เช่น 击、凶、函、画
11. โครงสร้างครอบข้างซ้าย เช่น 区、巨、匝、匣
12. โครงสร้างกรอบครอบ เช่น 囚、团、因、囹
13. โครงสร้างเดี่ยว เช่น 丈、甲、且、我
14. โครงสร้างพิเศษ เช่น 坐、爽、夹、噩
3. คราวนี้เราจะมาเริ่มหัดเปิดหาศัพท์ผ่านการนับขีดตัวอักษรกันค่ะ
ตัวอย่าง 松
n ก่อนอื่นต้องสามารถแบ่งโครงสร้างของตัวอักษรจีนให้ออกจากกันก่อนค่ะ น้องต้องจับมันแยกออกจากกันเป็น 2 ส่วนก่อนค่ะ คือ 木 + 公หลังจากนั้นค่อยมาดูกันว่าส่วนใดคือตัว 部首
n เริ่มหาจากตัว部首 โดยการนับขีดว่ามีกี่ขีด จากตัวอย่าง部首
คือตัว 木ให้พวกเรานับดูว่ามีกี่ขีดค่ะ
(ลักษณะการแบ่งโครงสร้าง ให้พวกเราดูที่โครงสร้างภาษาจีนข้างบนนี้ ถ้าแบ่งเป็นซ้ายขวาแบบนี้ ให้เดาว่าหาตัว部首ทางด้านซ้ายมือก่อนค่ะ หาไม่เจอค่อยไปทางขวา ถ้าหากเป็นบนล่างเช่น 宋ให้เดาว่าหาบนก่อนหาไม่เจอค่อยไปเริ่มที่ตัวล่างค่ะ เป็นต้น )
n เมื่อนับขีดได้แล้ว จากตัวอย่างนับได้จำนวน 4 ขีด ให้พวกเรากวาดสายตาไปหา 四画 (4 ขีด)
n จากนั้นพวกเราจะเจอตัว部首ที่มีจำนวน 4 ขีดอยู่เต็มไปหมดค่ะ ให้มองลงหาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอตัว木 ที่เราต้องการค่ะ
n พวกเราเจอแล้วจะเห็น 86 木 52
หมายถึง ช่องที่(86) หน้าที่(52)
n จากนั้นให้เปิดไปหน้าที่ 52 และหาช่องที่ 86
n เมื่อพวกเราเจอช่องที่ 86 เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ให้กลับมาดูอักษรด้านหลังของตัว 松 นั้นก็คือตัว 公ให้พวกเรานับขีดตัวอักษรดังกล่าวว่ามีกี่ขีดค่ะ
n จากตัวอย่างตัว 公 นับได้ 4 ขีด ให้ไปหาดูที่ 四画(4 ขีด) จากนั้นกวาดสายตาลงมาเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอตัว 松
n เมื่อหาเจอแล้ว ให้พลิกไปหน้าที่ในตำราระบุไว้(หน้าที่ 1039) แล้วดูสิค่ะว่าแปลว่าอะไร
n อ่า... คำตอบคือ松 sōng หย่อน คลาย หลวม
n กรณีที่ให้ตายก็ไม่รู้ว่าอะไรคือตัว 部首ดูไม่ออกจริง ๆ ให้พลิกกลับไปหน้า 27 ตรงตาราง部首แล้วกวาดสายตาไปบรรทัดสุดท้ายของล๊อกสุดท้าย จะเจอคำว่า
251 余类 74 (余类— ประเภทที่เหลือ)
หมายถึง ช่องที่(251) หน้าที่(74)
n ให้พวกเราลองเปิดไปหน้า 74 ช่องที่ 251 ดูว่าเจอหรือไม่ตัวอักษรที่เราต้องการหา