‘안’ ใช้วางไว้หน้าคำกริยาหรือคำคุณศัพท์เพื่อทำให้เป็นประโยคปฎิเสธเช่นเดียวกับคำว่า 'ไม่' ในภาษาไทย คำกริยา ‘운동하다’ ซึ่งอยู่ในรูป ‘คำนาม + 하다’ คำว่า ‘안’ จะเข้าไปวางไว้ตรงกลางระหว่าง ‘คำนาม + 하다’ เป็น ‘คำนาม 안 하다’ นอกจากนี้ 있다 (มี) จะมีรูปปฏิเสธ คือ 없다 เราจะไม่ใช้รูป 안 + 있다
안 expresses the negative or the opposite meaning of the verb or the adjective. In the case of the noun+하다 verbs, 안 comes between the noun and the 하다 verb. The negative way to express the verb is 없다, rather than 안 있다.
가: 아침 먹었어요?
กินข้าวเช้าหรือยังครับ
나: 아니요, 안 먹었어요.
ไม่ครับ ไม่ได้กินครับ
가: 어제 운동했어요?
เมื่อวานคุณได้ออกกำลังกายไหมครับ
나: 아니요, 운동 안 했어요.
ไม่ครับ ไม่ได้ออกกำลังกายครับ
가: 이 영화가 재미있어요?
หนังเรื่องนี้สนุกไหมครับ
나: 아니요, 재미없어요.
ไม่ครับ ไม่สนุกครับ
비교해 보세요 เปรียบเทียบไวยากรณ์
‘안’ และ ‘못’
‘안’ และ ‘못’ เป็นไวยากรณ์ที่แสดงถึงการปฏิเสธเหมือนกัน ‘안’ เป็นการบอกปฏิเสธในภาษาไทย คือ "ไม่" ยกตัวอย่าง ไม่กิน, ไม่ไป แต่ ‘못’ เป็นรูปฏิเสธเหมือนกันแต่แสดงถึงไม่สามารถทำได้ เช่น กินไม่ได้, ไปไม่ได้ นอกจากนั้น ‘못’ ไม่สามารถวางไว้หน้าคำคุณศัพท์
가고 싶지 않아서 안 가요. (O)
가고 싶지 않아서 못 가요. (X)
오늘은 안 추워요. (O)
오늘은 못 추워요. (X)