คุณนาม หมายถึง คำแสดงลักษณะของนามนาม (รวมทั้งปุริสสรรพนาม) ให้รู้ว่าดีหรือชั่ว สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว ผอมหรืออ้วน เป็นต้น แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
- คุณนามชั้นปกติ แสดงลักษณะของนามนามอย่างปกติ ไม่เปรียบเทียบกับอะไร เช่น
- ดี
- ชั่ว
- สูง
- ผอม เป็นต้น - คุณนามชั้นวิเสส แสดงลักษณะของนามนาม อย่างพิเศษกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับ สิ่งอื่นๆ มักมี “ตร” “อิย” “อิยิสฺสก” เป็นปัจจัยต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ แปลว่า “กว่า” เช่น
- ดีกว่า
- ชั่วกว่า
- สูงกว่า เป็นต้น
และใช้ “อติ” เป็นอุปสัคนำหน้าคุณนามชั้นปกติเพื่อบอกความหมายแปลว่า “ยิ่ง” เช่น
- ดียิ่ง
- สูงยิ่ง
- อ้วนยิ่ง เป็นต้น - คุณนามชั้นอติวิเสส แสดงลักษณะของนามนาม อย่างพิเศษมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นๆ มักใช้ “ตม” “อิฏฺฐ” เป็นปัจจัย แปลว่า “ที่สุด” เพื่อต่อท้ายคุณนามชั้นปกติ เช่น
- ดีที่สุด
- ชั่วที่สุด
- สูงที่สุด เป็นต้น
และใช้ “อติวิย” เป็นอุปสัคกับนิบาตนำหน้าคุณนามชั้นปกติ แปลว่า “เกินเปรียบ” เช่น
- ผอมเกินเปรียบ
- อ้วนเกินเปรียบ เป็นต้น