วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สนธิ: การเชื่อมคำ

สนธิ คือ การต่ออักขระให้เนื่องด้วยอักขระ เพื่อย่นย่ออักขระให้น้อยลงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการแต่งฉันท์และทำให้คำมีความสละสลวย (จำคำจำกัดความ) ประกอบด้วยการสนธิหลักๆ 2 อย่างคือ ศัพท์สนธิ และอักษรสนธิ


1) ศัพท์สนธิ คือ การนำศัพท์มาต่อกัน มี 2 อย่าง คือ

ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติกับศัพท์ที่มีวิภัตติ เช่น
  • จตฺตาโร + อิเม     เป็น    จตฺตาโรเม
  • เทฺว + อิเม              เป็น    เทฺวเม
ต่อในศัพท์สมาส เช่น
  • นีล + อุปฺปลํ           เป็น     นีลุปฺปลํ
  • โสต + อาปนฺโน     เป็น     โสตาปนฺโน
2) อักษรสนธิ คือ อักษรของศัพท์ที่นำมาต่อกันมี 3 อย่าง คือ

สระสนธิ คือ การต่อระหว่างสระกับสระ
  • พยัญชนะสนธิ คือ การต่อระหว่างพยัญชนะกับสระหรือพยัญชนะ
  • นิคคหิตสนธิ คือ การต่อระหว่างนิคหิตกับสระหรือพยัญชนะ


สนธิกิริโยปกรณ์ (วิธาน) คือ วิธีการทำสนธิมี 8 อย่าง ดังนี้
  • โลปะ คือ ลบอักษร
  • อาเทสะ คือ แปลงอักษร
  • อาคมะ คือ ลงอักษรใหม่
  • วิการะ คือ วิปริต หรือทำให้ต่างจากอักษรเดิม
  • ปกติ คือ คงอักษรไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง
  • ทีฆะ คือ ทำสระเสียงสั้นให้ยาว
  • รัสสะ คือ ทำสระเสียงยาวให้สั้น
  • สัญโญคะ คือ ซ้อนพยัญชนะ (ตามหลักพยัญชนะสังโยค)


ทั้ง 8 ข้อนี้ถือเป็นหัวใจของการทำสนธิ จำชื่อให้จำง่ายๆ คือ โล อาเท อาค วิ ป ที รัส สัญ




source : palicoach