โครงสร้างของประโยคมูลฐาน 1
โครงสร้างของประโยคมูลฐาน มีรูปแบบการเรียงคำนามกับคำกริยาอยู่ 5 แบบดังนี้
1) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน กับกริยาอกรรม (ไม่ต้องมีกรรมมารับ) เช่น 새가 운다. (เซ-กา อุน-ดะ) นกร้อง 새가 ประธาน 운 다 กริยาอกรรม 2) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน กรรมตรง และกริยาสกรรม (มีกรรมมารับ) เช่น 나는 음악을 좋아한다. (นา-นึน อือ-มา-กึล โช-วา-ฮัน-ดะ) ฉันชอบดนตรี 나는 ประธาน 음악을 กรรม 좋아한다 กริยาสกรรม 3) ประโยคที่ประกอบด้วยหน่วยคำคุณศัพท์ ประธาน และกริยาอกรรม เช่น 옛 친구가 그립다. (เยท ชิน-กู-กา คือ-ริบ-ดะ) คิดถึงเพื่อนเก่า 옛 คำคุณศัพท์ 친 구가 ประธาน 그립다 กรรม 4) ประโยคที่ประกอบด้วยประธาน คำวิเศษณ์ และกริยาอกรรม เช่น 김선생님은 틀림없이 오실겁니다. (คิม-ซอน-เซง-นี-มึน ทึล-ลี-มอบ-ชี โอ-ชิล-กอม-นี-ดะ) คุณคิมจะมาแน่ 김선생님은 ประธาน 틀림없이 คำวิเศษณ์ 오실겁니다 กริยาอกรรม 5) ประโยคที่ประกอบด้วยหน่วยอิสระ กับประโยค เช่น 아이고! 임은 가고 나만 홀로 남았구나. (อาอีโก! อีมึน คาโก นามัน ฮลโล นามัสคุนา) โธ่! ที่รักไปแล้ว เหลือฉันคนเดียว = =" 아이고! 임은 가고 หน่วยอิสระ 나만 홀로 남았구나 ประโยค รูปแบบประโยค 5 แบบนี้ สามารถสรุปลำดับส่วนของประโยคได้ดังนี้ ---------------------------------------------------------------- (หน่วย อิสระ)(คำคุณศัพท์)ประธาน(กรรม)(คำวิเศษณ์)กริยา |