วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第十三课:我们吃什么?/你们这儿有什么菜? บทที่ 13: พวกเราจะทานอะไรดี/ ร้านคุณมีอาหารอะไรบ้าง

第十三课:我们吃什么?/你们这儿有什么菜?
บทที่ 13: พวกเราจะทานอะไรดี/ ร้านคุณมีอาหารอะไรบ้าง

บทสนทนาที่ 1

  • wǒ men chī shén me
    我  们  吃  什  么?
    เราจะกินอะไรกันดี
  • wǒ men chī zhá jiàng miàn  ba
    我  们  吃  炸  酱  面  吧。
    (เรา)กินบะหมี่จ๋าเจี้ยงเมี่ยนกันเถอะ

บทสนทนาที่ 2

  • nǐ men  zhèr yǒu shén me cài
    你 们  这儿  有  什  么  菜?
    ร้านคุณมีอาหารแนะนำอะไรบ้างคะ/ครับ
  • wǒ men zhèr yǒu běi jīng kǎo yā yú xiāng ròu sī
    我  们  这儿 有  北  京  烤  鸭、鱼  香   肉  丝
    hé shuǐ zhǔ ròu piàn
    和  水  煮  肉  片。
    ร้านเรามีเป็ดปักกิ่ง หมูเส้นผัดเปรี้ยวหวาน แล้วก็หมูต้มทรงเครื่องค่ะ/ครับ
  • hǎo  wǒ men yào yí fèn běi jīng  kǎo yā
    好, 我  们  要  一 份  北  京  烤  鸭。
    อืม ขอเป็ดปักกิ่ง 1 ที่ครับ/ค่ะ



คำอธิบายการใช้ภาษา

"们"(men) หมายถึง "พวก..." เป็นคำแสดงจำนวนพหูพจน์ตั้งแต่สองขึ้นไป สามารถใช้กับคนหรือสิ่งที่เราให้ค่าเหมือนคน โดยวางคำนี้ไว้หลังคำสรรพนามหรือคำนามที่ต้องการกล่าวถึง เช่น
 我们(wǒ men) พวกเรา
 他们(tā men) พวกเขา
 人们(rén men) กลุ่มคน/คนทั่วไป

เกร็ดวัฒนธรรม

อาหารเลิศรส

อาหารจีน
ศิลปะและมาตรฐานการปรุงอาหารจีนจัดว่ามีชื่อเสียงในระดับโลก จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าอาหารจีนมีมากกว่าหมื่นชนิดและมีวิธีการปรุงอาหารมีมากกว่า 40 วิธี

ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์จีน อาหารในภูมิภาคต่างๆ ก็ค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นอาหารประจำท้องถิ่นที่มีรสชาติเฉพาะตัว อาหารประจำท้องถิ่นที่โดดเด่นมีอยู่ 8 กลุ่มด้วยกัน คือ อาหารซานตง อาหารเสฉวน อาหารกวางตุ้ง อาหารเจียงซู อาหารเจ้อเจียง อาหารฮกเกี้ยน อาหารหูหนานและอาหารอานฮุน อาหารจีนในกลุ่มอาหารท้องถิ่นทั้ง 8 ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เป่ยจิงข่าวยา(เป็ดปักกิ่ง) ฝัวเที่ยวเฉียง(พระกระโดดกำแพง) กงเป่าจีติง(ไก่ผัดเผ็ด) โค่วโจ่วจึ(ขาหมูนึ่งซีอิ๊ว) หลงจิ่งซยาเหริน(ผัดกุ้งแช่ชาหลงจิ่ง) หมาผอโต้วฝุ(ผัดเผ็ดเต้าหู้คุณยาย) ซีหูชู่อี๋ว์(ปลาซีหูเปรี้ยวหวาน) ซยาเหรินหนิวหลิ่ว(ผัดกุ้งกับเนื้อวัวแผ่น)และซ่วนโร่วหั่วกัว(เนื้อจิ้มจุ่มหม้อไฟ) เป็นต้น

อาหารจีนที่มีชื่อเสียงในเทศกาลต่างๆ
จีนมีอาหารที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก แต่ละชนิดมีรสชาติเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทแป้งที่มีรสชาติหอมกลมกล่อมหรืออาหารประเภทข้าวซึ่งอร่อยและมีให้เลือกหลากหลายไม่แพ้กัน อาหารจีนที่มีชื่อเสียงในเทศกาลต่างๆ ได้แก่


"เจี่ยวจือ" หรือเกี๊ยวเป็นอาหารที่มีความเป็นมากว่าพันปี เกี๊ยวเป็นอาหารที่คนจีนนิยมรับประทานกันมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลตรุษจีน การรับประทานเกี๊ยวในเทศกาลตรุษจีนถือเป็นประเพณีปฏิบัติในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจีน






"หยวนเซียว" หรือบัวลอยสอดไส้แบบจีนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ทังหยวน" หยวนเซียวเป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว โดยนำแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วสอดไส้หวานไว้ข้างใน เนื่องจากหยวนเซียวมีรูปร่างเหมือนพระจันทร์ ทั้งการดื่มน้ำของขนมหยวนเซียวร้อนๆ ยังเป็นการคลายความหนาวได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นหยวนเซียวจึงถือเป็นขนมประจำเทศกาลหยวนเซียวซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้าย และเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของคำว่า "ถวนหยวน" ซึ่งหมายถึงการกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน


"จ้งจึ" หรือบ๊ะจ่างมีส่วนประกอบหลักคือข้าวเหนียว วิธีทำบ๊ะจ่างจะใช้ใบไผ่หรือใบกกห่อข้าวเหนียวและส่วนประกอบอื่นๆ จากนั้นนำไปนึ่งจนสุก ตามตำนานเล่าว่า เดิมทีบ๊ะจ่างเป็นอาหารที่ชาวบ้านทำขึ้นเพื่อเซ่นไหว้ชีว์หยวนขุนนางผู้รักชาติซึ่งกระโดดน้ำตาย ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี(ต่อมากลายเป็นเทศกาลตวนอู่) ชาวบ้านจะนำกระบอกใส่ข้าวล่องเรือไปตามลำน้ำและโยนกระบอกข้าวลงในแม่น้ำเพื่อเซ่นไหว้ชีว์หยวน และต่อมาพิธีนี้ก็ได้กลายเป็นประเพณีในเทศกาลตวนอู่


"เย่ว์ปิ่ง" หรือขนมไหว้พระจันทร์เป็นขนมประจำเทศกาลไหว้พระจันทร์หรือจงชิวเจี๋ยที่มีกำเนิดในสมัยราชวงศ์ถัง ขนมไหว้พระจันทร์มีรูปร่างกลมแบนและสอดไส้ตรงกลาง ขนมไหว้พระจันทร์มีไส้หลายชนิดและมีวิธีการทำหลายแบบ จึงทำให้ขนมไหว้พระจันทร์มีรูปแบบหลากหลายให้เลือกรับประทาน

นอกจากอาหารที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอาหารจีนที่สืบทอดมาแต่โบราณหลายชนิด เช่น โจ้กล่าปา ขนมหมาฮวา ข้าวปาป่าวและก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น

ตะเกียบ


ไคว่จึ หรือ ตะเกียบนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าอย่างหนึ่งของจีน ทั้งยังเป็นอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในระดับโลก ตะเกียบได้รับการขนานนามจากชาวตะวันตกว่าเป็น "อารยธรรมของโลกตะวันออก" คนจีนเริ่มใช้ตะเกียบตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซางหรือนานกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ในยุคก่อนราชวงศ์ฉิน ตะเกียบมีชื่อเรียกว่า "挟" (jiā, จยา) ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นเรียกตะเกียบว่า "箸" (zhù, จู้) แต่เนื่องจากคนจีนสมัยโบราณเชื่อถือเรื่องโชคลาง จึงถือว่าคำว่า "จู้" ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า "住" (zhù, จู้) ที่หมายถึง หยุด มีความหมายไม่เป็นมงคล ดังนั้นจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "筷" (kuài, ไคว่) ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า "เร็ว" แทน และนี่ก็คือที่มาของชื่อเรียกของตะเกียบในภาษาจีน