第十四课:请问……在吗?
บทที่ 14: ขอถามหน่อย......อยู่ไหม
บทสนทนาที่ 1
- wèi nǐ hǎo喂, 你 好。ฮัลโหล สวัสดีครับ
- nǐ hǎo qǐng wèn xiǎo qiáng zài ma你 好。 请 问 小 强 在 吗?สวัสดีค่ะ/ครับ เสี่ยวเฉียงอยู่ไหมคะ/ครับ
- xiǎo qiáng nǐ dǎ cuò le zhèr méi yǒu zhè ge rén小 强? 你 打 错 了。这儿 没 有 这 个 人。เสี่ยวเฉียง? คุณโทรผิดแล้วครับ ที่นี่ไม่มีคนชื่อเสี่ยวเฉียง
- xiǎo qiáng shì wǒ de xiǎo míng hǎo de wǒ mǎ shàng lái小 强 是 我 的 小 名。 好 的, 我 马 上 来。เสี่ยวเฉียงเป็นชื่อเล่นของผม มา ผมรีบไปรับเดี๋ยวนี้แหละ
บทสนทนาที่ 2
- wèi nǐ hǎo喂, 你 好。ฮัลโหล สวัสดีครับ
- nǐ hǎo qǐng wèn gāo qiáng zài ma你 好。 请 问 高 强 在 吗?สวัสดีค่ะ/ครับ เกา เฉียงอยู่ไหมคะ/ครับ
- zhēn bù qiǎo tā qù chī fàn le真 不 巧, 他 去 吃 饭 了。จังหวะไม่ดีเลยครับ เขาออกไปทานข้าวแล้ว
- nà wǒ wǎn yì diǎnr zài dǎ gěi tā xiè xie zài jiàn那 我 晚 一 点儿 再 打 给 他。谢 谢, 再 见。ถ้าอย่างนั้นดิฉัน/ผมจะโทรมาใหม่ตอนสายกว่านี้หน่อย ขอบคุณนะคะ/ครับ สวัสดีค่ะ/ครับ
- zài jiàn再 见。แล้วพบกันใหม่ครับ/ค่ะ
คำอธิบายการใช้ภาษา
1. 小…… และ 老……
คำว่า "小……"(xiǎo) มักวางไว้หน้าแซ่หรือชื่อเพื่อใช้เป็นชื่อเรียกบุคคล แสดงความสนิทสนม (เช่นในบทสนทนาที่ 1 ชื่อเล่นของ "高强"(gāo qiáng) คือ "小强"(xiǎo qiáng)) โดยทั่วไป "小……" จะใช้เป็นชื่อที่เรียกกันในกลุ่มเพื่อนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือเป็นชื่อที่ผู้อาวุโสกว่าเรียกผู้ที่อายุน้อยกว่า ส่วนคำว่า "老……"(lǎo) จะวางไว้หน้าแซ่เพื่อใช้เป็นชื่อเรียกบุคคลที่อาวุโสกว่า แสดงถึงความสนิทสนมเช่นกัน เช่น "老王"(lǎo wáng)
2. 这儿 และ 这
"这儿"(zhèr) หมายถึงสถานที่ แปลว่า "ที่นี่" หรือพูดได้อีกอย่างว่า "这里" (zhè li) ส่วน"这" เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อ้างถึง แปลว่า "นี่"
3. 真
"真"(zhēn) แปลว่า "จริงๆ" มักใช้นำหน้าคำคุณศัพท์และคำวิเศษณ์เพื่อแสดงความประหลาดใจ
4. 那
"那"(nà) ในบทนี้มีความหมายว่า "ถ้าอย่างนั้น/ถ้างั้น..."
เกร็ดวัฒนธรรม
พิธีและธรรมเนียมปฏิบัติ 2: การรับโทรศัพท์
คนจีนส่วนใหญ่เมื่อรับโทรศัพท์จะพูดว่า "wèi! nǐ hǎo!" (ฮัลโหล สวัสดีค่ะ/ครับ) หากเป็นการรับโทรศัพท์ในที่ทำงาน จะต้องบอกชื่อหน่วยงานของตน เช่น "zhè li shì..." (ที่นี่...) และบางครั้งอาจจำเป็นต้องบอกชื่อแซ่ของผู้รับสายด้วย หากรับโทรศัพท์ที่บ้าน โดยทั่วไปผู้รับสายจะถามว่า "qǐng wèn nín zhǎo nǎ wèi?" (ต้องการพูดสายกับ(หา)ใครคะ/ครับ) หากผู้รับสายคือคนที่ผู้โทรต้องการพูดด้วยก็ให้พูดว่า "zhōng jiù shì." (ดิฉันเองค่ะ/ผมเองครับ) หากผู้รับสายไม่ใช่คนที่ผู้โทรต้องการพูดด้วย ก็ควรพูดว่า "qǐng shāo děng." (กรุณารอสักครู่ค่ะ/ครับ) จากนั้นจึงไปตามคนที่ผู้โทรต้องการพูดด้วยมารับโทรศัพท์ หากคนคนนั้นไม่อยู่ ผู้รับสายก็ควรบอกให้ผู้โทรทราบพร้อมเสนอความช่วยเหลือ เช่น "wáng xiān sheng bú zài, zhōng néng bāng nín shén me máng ma?" (คุณหวางไม่อยู่ค่ะ/ครับ ดิฉัน/ผมจะช่วยอะไรคุณได้บ้างไหมคะ/ครับ) หากผู้โทรโทรผิด ก็ควรพูดกับผู้โทรว่า "duì bu qǐ, nǐ dǎ cuò le." (ขอโทษค่ะ/ครับ คุณโทรผิดแล้ว)
เมื่อจบการสนทนาทางโทรศัพท์ ควรถามคู่สนทนาอย่างให้เกียรติว่า "qǐng wèn nín hái yǒu shén me shì qing ma?" (ไม่ทราบว่าคุณยังมีธุระอะไรอีกไหมคะ/ครับ) เมื่อจะวางสาย ผู้โทรควรรอให้ผู้รับวางสายก่อนแล้วจึงวางทีหลัง ผู้ที่อายุน้อยกว่าควรรอให้ผู้อาวุโสกว่าวางสายเสียก่อนแล้วตนจึงค่อยวางสาย นอกจากนี้ ห้ามวางสายโดยที่ยังไม่จบบทสนทนาและห้ามวางสายกลางคันหรือวางสายโดยกระแทกหูโทรศัพท์ เพราะการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจผิดได้
วัดวาอาราม
"ซื่อเมี่ยว" หมายถึงวัดวาอารามหรือคำเรียกโดยรวมของศาสนสถาน ในภาษาจีนมีคำเรียกศาสนสถานของศาสนาพุทธหลายคำ เช่น "ซื่อ" แรกเริ่มนั้นคำว่า "ซื่อ" ไม่ได้หมายถึงวัดพุทธ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉินเป็นต้นมา "ซื่อ" มักใช้เป็นคำเรียกของบ้านพักขุนนาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่น คำว่า "ซื่อ" ใช้เป็นชื่อเรียกที่พักสำหรับรับรองพระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์สูงที่เดินทางมาจากชมพูทวีป ต่อมาหลังจากที่ศาสนาพุทธได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศจีน เพื่อเป็นการแสดงเคารพต่อพุทธศาสนา ชาวจีนจึงได้มีการใช้คำว่า "ซื่อ" เรียกศาสนสถานของศาสนาพุทธ นับตั้งแต่นั้นมาคำว่า "ซื่อ" จึงกลายเป็นชื่อเฉพาะของวัดในศาสนาพุทธ เช่น ไป๋หม่าซื่อหรือวัดม้าขาว เส้าหลินซื่อหรือวัดเส้าหลิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคำเรียกศาสนสถานอื่นๆ ในศาสนาพุทธ เช่น "อาน" ซึ่งหมายถึงสำนักชี นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานที่เก่าแก่ที่สุดอีกอย่างหนึ่งของจีนคือ "สือคู" ซึ่งหมายถึงถ้ำหินสลักพุทธรูปซึ่งเป็นถ้ำที่สร้างขึ้นด้วยการเจาะหน้าผา
ชื่อเรียกศาสนสถานของศาสนาเต๋าก็มีหลายคำเช่นกัน ได้แก่ "กง", "ย่วน" และ "ฉือ" ตัวอย่างชื่อศาสนสถานของศาสนาเต๋า เช่น ฝ่าหวาย่วน ปี้สยาฉือ เป็นต้น
ส่วนศาสนสถานของลัทธิหรู(ขงจื๊อ) เรียกว่า "เมี่ยว", "กง" และ "ถาน" ตัวอย่างเช่น ข่งเมี่ยว เหวินเมี่ยว ยงเหอกง เทียนถาน เป็นต้น
สำหรับศาสนสถานของศาสนาอิสลาม ในภาษาจีนจะเรียกว่า "ซื่อ" เช่น ชิงเจินซื่อ
ในสมัยโบราณชาวบ้านจะเรียกสถานที่เซ่นไหว้บรรพชน เทพเจ้ารวมถึงปราชญ์เมธีผู้ล่วงลับว่า "เมี่ยว" หรือ "ฉือ" เช่น ไท่เมี่ยว จงเย่ว์เมี่ยว ซีเย่ว์เมี่ยว หนานเย่ว์เมี่ยว เป่ยเย่ว์เมี่ยวและไต้เมี่ยว เป็นต้น
วัดวาอารามเป็นสถานที่เก็บรักษามรดกทางประวัติศาสตร์ของแต่ละราชวงศ์ไว้อย่างสมบูรณ์ วัดวาอารามต่างๆ เป็นสถานที่ที่ได้บันทึกความรุ่งโรจน์ทางสังคมวัฒนธรรมในระบบศักดินาของจีน ตลอดจนความรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยของศาสนาในแต่ละยุคสมัยเอาไว้ ด้วยเหตุนี้วัดจึงถือเป็นสถานที่สำคัญซึ่งเปี่ยมด้วยคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ วัฒนธรรมที่มีต้นกำเนิดจากวัดยังได้แทรกซึมสู่วิถีชีวิตของชาวจีนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิจิตรศิลป์ ศิลปะการเขียนพู่กันจีน ศิลปะการแกะสลัก ดนตรี ระบำ โบราณวัตถุ ประเพณีพื้นบ้านและงานวัด เป็นต้น แต่ละพื้นที่ในประเทศจีนต่างก็มีงานวัดที่มีกิจกรรมหลากหลาย ในงานวัดจะมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองต่างๆ ตามแต่ละเทศกาล และยังมีการประกอบพิธีทางพุทธศาสนาหรือพิธีของศาสนาอื่นๆ ตามช่วงกำหนดเวลาด้วย