第三课:你住在哪儿?
บทที่ 3: คุณพักอยู่ที่ไหน
บทสนทนาที่ 1
- zǎo shɑnɡ hǎo dà chuān nǐ zhù zài nǎr早 上 好, 大 川! 你 住 在 哪儿?อรุณสวัสดิ์ค่ะ ต้า ชวน คุณพักอยู่ที่ไหนคะ
- wǒ zhù zài yī hào sù shè lóu我 住 在 一 号 宿 舍 楼。ผมพักที่หอพัก 1 ครับ
- zhè xiē huār shì wǒ men sònɡ ɡěi ɡāo qiánɡ de这 些 花儿 是 我 们 送 给 高 强 的!ดอกไม้พวกนี้เราจะให้คุณเกา เฉียงน่ะค่ะ
บทสนทนาที่ 2
- sūn dà wěi nǐ zhù zài nǎr孙 大 伟, 你 住 在 哪儿?ซุน ต้าเหว่ย คุณพักอยู่ที่ไหนครับ
- wǒ zhù zài liù hào sù shè lóu我 住 在 六 号 宿 舍 楼。ผมพักที่หอพัก 6 ครับ
- wǒ zhù zài qī hào sù shè lóu我 住 在 七 号 宿 舍 楼。我 们 住 得 很 近。ฉันพักที่หอพัก 7 ค่ะ เราพักอยู่ใกล้กันมากเลยนะคะ
- zài jiàn再 见!แล้วพบกันใหม่ครับ/ค่ะ
คำอธิบายการใช้ภาษา
1.โครงสร้างประโยค "是……的"
ในโครงสร้างประโยค "是……的"(shì……de) เรามักใช้โครงสร้างคำ "的" มาบรรยายหรือขยายความสิ่งต่างๆ เพื่อเน้นย้ำหรือยืนยัน โครงสร้างคำ "的" มักประกอบขึ้นจากคำนาม สรรพนามหรือคุณศัพท์ตามด้วยคำว่า "的" ตัวอย่างการใช้โครงสร้างคำ "的" ในโครงสร้างประโยค "是……的" เช่น 1) 这些花是我的。(zhè xiē huā shì wǒ de) 2) 这些花不是柯林的。(zhè xiē huā bú shì kē lín de)
2.ตัวเลขในภาษาจีน
1) ตัวเลขพื้นฐาน
0 零(líng)
1 一(yī)
2 二(èr)
3 三(sān)
4 四(sì)
5 五(wǔ)
6 六(liù)
7 七(qī)
8 八(bā)
9 九(jiǔ)
10 十(shí)
100 百(bǎi)
2) การประกอบตัวเลขหลักต่างๆ
การประกอบตัวเลขหลักต่างๆ ในภาษาจีนนั้นไม่ยาก เราใช้หลัก "个" (gè, หน่วย)、"十" (shí, สิบ)、"百" (bǎi, ร้อย)、"千" (qiān, พัน) เป็นหลักพื้นฐาน
A. หลักการประกอบตัวเลข:
ให้นำตัวเลขที่จะพูดวางไว้ด้านหน้าหลักต่างๆ ที่ต้องการเหมือนในภาษาไทย
__千 (พัน) __百 (ร้อย) __十 (สิบ) __个 (หน่วย) (โดยเราจะไม่อ่านหลัก "个" แต่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
12 十二(shí èr)
30 三十(sān shí)
56 五十六(wǔ shí liù)
700 七百(qī bǎi)
478 四百七十八(sì bǎi qī shí bā)
8631 八千六百三十一(bā qiān liù bǎi sān shí yī)
B. กฎการอ่านตัวเลขทั่วไป
a. จำนวนตั้งแต่ 10-19 จะละค่าของตัวเลขในหลักสิบไว้ ไม่ต้องอ่าน"一"(yī) แต่ถ้าเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งร้อยขึ้นไป จะต้องอ่านค่าตัวเลข "一" ของหลักสิบเสมอ เช่น
16 十六(shí liù)
318 三百一十八(sān bǎi yī shí bā)
b. ในภาษาพูด หากต้องการอ่านจำนวนตั้งแต่หนึ่งร้อยขึ้นไปที่มีเลขในหลักหน่วยเป็นศูนย์ เราสามารถละ "十"(shí) ข้างท้ายจำนวนได้ เช่น
240 二百四(èr bǎi sì)
c. หากต้องการอ่านตัวเลขตั้งแต่หนึ่งร้อยขึ้นไป โดยตัวเลขนั้นมีหลักสิบเป็น "0" แต่หลักหน่วยไม่ใช่ "0" เวลาอ่านจะต้องอ่านเลข "0" ของหลักสิบด้วย โดยอ่านว่า "零" (líng)
500 五百(wǔ bǎi)
907 九百零七(jiǔ bǎi línɡ qī)
C. การอ่านตัวเลขในภาษาจีนจะแบ่งคั่นทีละ 4 หลัก (เช่น 35942 จะแบ่งคั่นเป็น 3,5942 ไม่ใช่ 35,942 และการเขียนตัวเลขจะไม่ใช้เครื่องหมายจุลภาคมาคั่น) หลักที่สูงจาก "千" (qiān, พัน) คือ "万" (wàn, หมื่น) และหลักที่สูงจาก "万" (wàn, หมื่น) ขึ้นไปคือ "亿" ( yì, หมื่นหมื่น = ร้อยล้าน) เช่น
10000 一万(yí wàn)
75983 七万五千九百八十三(qī wàn wǔ qiān jiǔ bǎi bā shí sān)
100000000 一亿(yí yì)
435986000 四亿三千五百九十八万六千(sì yì sān qiān wǔ bǎi jiǔ shí bā wàn liù qiān)
เกร็ดวัฒนธรรม
หูถ้งและซื่อเหอย่วน
"หูถ้ง" เป็นตรอกซอยโบราณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของปักกิ่ง หูถ้งส่วนใหญ่ในปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์หยวน หมิงและชิง โดยสร้างอยู่รายรอบบริเวณพระราชวังต้องห้าม แรกเริ่มนั้นการจัดที่พักอาศัยในหูถ้งจะกำหนดตามฐานะทางสังคม ยิ่งอยู่ใกล้พระราชวังต้องห้ามมากเท่าไหร่ ก็แสดงถึงฐานะทางสังคมที่สูงขึ้นตามลำดับ หูถ้งที่อยู่ในแนวทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกของพระราชวังต้องห้ามจะเป็นที่พักอาศัยของขุนนางและชนชั้นสูง ส่วนหูถ้งที่อยู่ในแนวทิศเหนือจรดทิศใต้นั้นจะเป็นที่พักอาศัยของสามัญชน
หูถ้งแต่ละสายจะมีชื่อเรียกต่างกันไป ชื่อของหูถ้งนั้นมีหลากหลาย โดยมากจะตั้งชื่อตามชื่อหน่วยงานของราชสำนัก วัง วัด คลังพัสดุ โรงงาน สะพาน แม่น้ำ ตลาดนัด สินค้า เครื่องใช้ แซ่ของผู้อาศัย ภูมิทัศน์ ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวบ้าน ชื่อเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังใช้เรียกอยู่จนถึงปัจจุบัน
แรกเริ่มนั้น ตระกูลหนึ่งจะอาศัยรวมอยู่ในหูถ้งเดียวกัน กลายเป็นหน่วยครอบครัวขยายที่มีคนหลายรุ่นอาศัยอยู่ด้วยกัน แต่ต่อมามีหูถ้งจำนวนไม่น้อยที่มีคนจากต่างครอบครัวมาอยู่รวมกัน ในหูถ้งจะมีบ้านแบบโบราณที่เรียกกว่า "ซื่อเหอย่วน" ซื่อเหอย่วนประกอบขึ้นด้วยบ้านสี่หลังซึ่งตั้งล้อมรอบและหันหน้าเข้าหาลานบ้านเดียวกัน มีลักษณะคล้ายตัวอักษร "口"(kǒu) ด้วยเหตุนี้บ้านโบราณแบบดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกตามโครงสร้างของมันว่า "ซื่อเหอย่วน" (บ้านสี่หลังที่ร่วมใช้ลานบ้านเดียวกัน) ซื่อเหอย่วนสร้างขึ้นอย่างแออัดแต่เป็นระเบียบ โดยบ้านทั้งสี่ตั้งอยู่บนทิศเหนือ ใต้ ตะวันออกและตะวันตกพอดี เมื่อซื่อเหอย่วนหลายๆ หลังมาตั้งอยู่รวมกันจึงเหลือเป็นพื้นที่แคบและยาวต่อกัน กลายเป็นตรอกเล็กซอยน้อยที่เรียกว่าหูถ้งนั่นเอง สิ่งปลูกสร้างซึ่งสร้างขึ้นอย่างเป็นระเบียบตัดเป็นแนวเส้นตรงจากเหนือจรดใต้ จากตะวันออกจรดตะวันตกนี้เอง ได้กลายเป็นที่พักอาศัยของชาวบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจีน
ซื่อเหอย่วนในปักกิ่งมีความเป็นมายาวนาน แต่ไม่กี่ปีมานี้ การพัฒนาเมืองให้ทันสมัยได้ทำให้หูถ้งจำนวนมากถูกรื้อถอน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหูถ้งก็ต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่ ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงได้กำหนดให้หูถ้งจำนวน 20 กว่าสายเป็นเขตอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่ออนุรักษ์ทัศนียภาพของเมืองเก่าและรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่นี้เอาไว้ ปัจจุบัน หูถ้งยังคงกินเนื้อที่ส่วนใหญ่ของใจกลางเมืองปักกิ่ง โดยมีประชาชนจำนวนหนึ่งในสามของประชาชนในเขตเมืองอาศัยอยู่ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหูถ้งยังคงรักษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเก่าไว้มาก หูถ้งผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายร้อยปีจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของตำนานการดำเนินชีวิตของชาวปักกิ่งเก่า ทั้งรูปแบบและมนต์เสน่ห์ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของสิ่งปลูกสร้างในหูถ้งก็ยังคงดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศให้แวะเวียนมาเยี่ยมชมมากขึ้นทุกปี