第五课:今天几号?
บทที่ 5: วันนี้วันที่เท่าไหร
บทสนทนาที่ 1
- jīn tiān xīnɡ qī jǐ今 天 星 期 几?วันนี้วันอะไรครับ
- jīn tiān xīnɡ qī rì今 天 星 期 日。วันนี้วันอาทิตย์
- xīnɡ qī rì jīn tiān wǒ hé lǐ méi yǒu yuē huì星 期 日?!今 天 我 和 李 梅 有 约 会!现 在 几 点 了?วันอาทิตย์เหรอ วันนี้ผมมีนัดกับหลี่ เหมย ตอนนี้กี่โมงแล้วครับ
- bā diǎn èr shí sì fēn八 点 二 十 四 分。8 โมง 24 นาที
บทสนทนาที่ 2
- jīn tiān jǐ hào今 天 几 号?วันนี้วันที่เท่าไหร่ครับ
- jīn tiān jiǔ hào zěn me le今 天 九 号。 怎 么 了?วันนี้วันที่ 9 มีอะไรหรือเปล่าครับ
- yuē huì shì zài xià zhōu rì约 会 是 在 下 周 日。ที่แท้นัดของผมเป็นวันอาทิตย์หน้านี่เอง
คำอธิบายการใช้ภาษา
1. 号
การใช้คำว่า "号"(hào) ในบทนี้ต่างไปจากในบทที่ 3 "号" ที่เราได้เรียนไปแล้วนั้นหมายถึง หมายเลขหรือลำดับ แต่ในบทนี้ "号" หมายถึง วันที่ เช่น "6月5号"(liù yuè wǔ hào) ก็คือ วันที่ 5 ของเดือนมิถุนายน (เดือน 6)
2. 月
ชื่อเดือนในภาษาจีนจะใช้ตัวเลขเรียงลำดับตั้งแต่ 1-12 วางไว้หน้าคำว่า "月"(yuè) ได้แก่่
一月(yī yuè) มกราคม
二月(èr yuè) กุมภาพันธ์
三月(sān yuè) มีนาคม
四月(sì yuè) เมษายน
五月(wǔ yuè) พฤษภาคม
六月(liù yuè) มิถุนายน
七月(qī yuè) กรกฎาคม
八月(bā yuè) สิงหาคม
九月(jiǔ yuè) กันยายน
十月(shí yuè) ตุลาคม
十一月(shí yī yuè) พฤศจิกายน
十二月(shí èr yuè) ธันวาคม
3. "周" และ "星期"
การเรียกชื่อวันในภาษาจีนจะใช้ตัวเลขเรียงลำดับตั้งแต่ 1-6 วางไว้หลังคำว่า "周……"(zhōu)、"星期……"(xīng qī)、"礼拜……" (lǐ bài, ทั้งสามคำนี้แปลว่า "สัปดาห์") หมายถึงวันจันทร์ – วันเสาร์ตามลำดับ ส่วนวันอาทิตย์นั้นจะใช้คำว่า "日"(rì, ดวงอาทิตย์) และ "天" (tiān, ท้องฟ้า) มาประกอบ วันต่างๆ ในภาษาจีนมีชื่อเรียกดังนี้
- วันอาทิตย์ 周日(zhōu rì),星期日(xīng qī rì),星期天(xīng qī tiān),礼拜日(lǐ bài rì),礼拜天 (lǐ bài tiān, แต่ไม่พูดว่า周天)
- วันจันทร์ 周一(zhōu yī),星期一(xīng qī yī),礼拜一(lǐ bài yī)
- วันอังคาร 周二(zhōu èr),星期二(xīng qī èr),礼拜二(lǐ bài èr)
- วันพุธ 周三(zhōu sān),星期三(xīng qī sān),礼拜三(lǐ bài sān)
- วันพฤหัสบดี 周四(zhōu sì),星期四(xīng qī sì),礼拜四(lǐ bài sì)
- วันศุกร์ 周五(zhōu wǔ),星期五(xīng qī wǔ),礼拜五(lǐ bài wǔ)
- วันเสาร์ 周六(zhōu liù),星期六(xīng qī liù),礼拜六(lǐ bài liù)
4. เวลา
1) การบอกเวลา 3 แบบ
A. แบบที่ 1 ใช้คำว่า "点"(diǎn, นาฬิกา/โมง) บอกหน่วยชั่วโมงและคำว่า "分"(fēn) บอกหน่วยนาที ในภาษาพูด เราสามารถละหน่วยนาที "分" ได้ แต่หากหน่วยนาทีน้อยกว่า 10 จะต้องเติมคำว่า "零"(líng, ศูนย์) ไว้หน้าหน่วยนาทีด้วย
B. แบบที่ 2 หากหน่วยนาทีอยู่ในช่วง 30 นาทีแรกของชั่วโมง จะใช้คำว่า "过"(guò) ซึ่งมีความหมายว่า "ผ่าน" ในการบอกเวลา เช่น "六点过八分"(liù diǎn guò bā fēn) หมายถึง "ผ่านเวลา 6 นาฬิกามาแล้ว 8 นาที" การบอกเวลาแบบนี้จะไม่ละคำว่า "分"(fēn)
C. แบบที่ 3 หากหน่วยนาทีอยู่ในช่วง 30 นาทีหลังของชั่วโมง จะใช้คำว่า "差"(chà) ซึ่งมีความหมายว่า "ขาด" ในการบอกเวลา เช่น "差五分六点"(chà wǔ fēn liù diǎn) หมายถึง "ขาดอีก 5 นาทีจะเป็นเวลา 6 นาฬิกา"
2) การบอกช่วงเวลา 15 นาทีและครึ่งชั่วโมง
"刻"(kè) หมายถึงช่วงเวลา 15 นาที ซึ่งเท่ากับ ¼ ชั่วโมง
"半"(bàn) หมายถึง “ครึ่ง”
3) คำศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา
a. 小时(xiǎo shí) ชั่วโมง (คำบอกระยะเวลาหรือช่วงเวลา)
b. 分钟(fēn zhōng) นาที (คำบอกระยะเวลาหรือช่วงเวลา)
c. 上午(shàng wǔ) ช่วงเช้า
d. 下午(xià wǔ) ช่วงบ่าย
ตัวอย่างการบอกเวลา
10: 28 十点二十八分(shí diǎn èr shí bā fēn) 十点二十八(shí diǎn èr shí bā)
7:00 七点(qī diǎn) 七点整(qī diǎn zhěng)
9:07 九点零七分(jiǔ diǎn líng qī fēn) 九点零七(jiǔ diǎn líng qī)
4:35 四点三十五分(sì diǎn sān shí wǔ fēn) 四点三十五(sì diǎn sān shí wǔ)
5:15 五点十五分(wǔ diǎn shí wǔ fēn) 五点一刻(wǔ diǎn yī kè)
6:45 六点四十五(liù diǎn sì shí wǔ) 七点差一刻(qī diǎn chà yī kè)
12:30 十二点三十分(shí èr diǎn sān shí fēn) 十二点半(shí èr diǎn bàn)
5. 怎么了?
"怎么了?"(zěn me le) เป็นวลีที่ใช้บ่อยในภาษาพูด มีความหมายว่า "มี(เรื่อง/ปัญหา)อะไรหรือเปล่า/เป็นอะไรไปเหรอ" หรือ "เกิด(เรื่อง)อะไรขึ้น"
เกร็ดวัฒนธรรม
หนงลี่ (ปฏิทินการเกษตรหรือปฏิทินจันทรคติ)
- ตามตำนานเชื่อกันว่ามีการคิดค้น "หนงลี่" หรือปฏิทินการเกษตรขึ้นในสมัยราชวงศ์เซี่ยซึ่งเป็นราชวงศ์ในยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์แรกของจีน ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เซี่ยลี่" หรือปฏิทินแห่งเซี่ย สาเหตุที่เรียกปฏิทินนี้ว่า "หนงลี่" ก็เนื่องมาจากปฏิทินดังกล่าวเป็นปฏิทินที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมาตั้งแต่สมัยโบราณ หนงลี่มีการคำนวณที่เที่ยงตรงตามหลักวิทยาศาสตร์จึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ตรงตามสภาพดินฟ้าอากาศจริง ด้วยเหตุนี้หนงลี่จึงได้ใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน หนงลี่แบ่งเวลาในช่วงปีตามรอบวันธรรมชาติออกเป็น 4 ฤดูกาลและ 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ส่วนการแบ่งเดือนต่างๆ จะยึดตามรูปร่างของพระจันทร์เป็นหลัก กล่าวคือจะเริ่มต้นนับวันที่หนึ่งของเดือนในคืนที่พระจันทร์เสี้ยวหรือ "พระจันทร์ใหม่" (ซินเย่ว์) ปรากฏบนท้องฟ้าและนับคืนก่อนที่พระจันทร์เสี้ยวจะปรากฏอีกครั้งเป็นวันสุดท้ายของเดือน ปีหนึ่งของระบบหนงลี่จะมี 355 วัน ซึ่งคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงในการหมุนของโลกประมาณ 11 วัน ดังนั้นจึงกำหนดให้มี "รุ่นเย่ว์" หรือเดือนอธิกสุรทินทุก 3 ปี และทุก 19 ปีกำหนดให้มีเดือนอธิกสุรทินทั้งหมด 7 เดือน ปีใดที่มีเดือนอธิกสุรทินก็จะเรียกปีนั้นว่า "รุ่นเหนียน" ทั้งนี้การกำหนดให้เดือนใดเป็นเดือนอธิกสุรทินนั้นไม่มีกฎตายตัว แต่จะกำหนดตามช่วงการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ
- นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 เป็นต้นมา ทางการจีนได้ประกาศใช้ระบบปฏิทินสากล ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "หยางลี่" หรือปฏิทินสุริยคติ และเรียกระบบปฏิทินโบราณ "หนงลี่" ซึ่งยังใช้กันทั่วไปในกลุ่มชาวบ้านว่า "อินลี่" หรือปฏิทินจันทรคติ
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24
- การกำหนดช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เกษตรกรจีนเป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยกำหนดช่วงเปลี่ยนของเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศในแต่ละฤดูกาล ระบบนี้จึงเสมือนเป็นคู่มือการเพาะปลูกของเกษตรกรและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป เนื่องจากศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองของจีนตลอด 2,000 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะรวมศูนย์อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ดังนั้นการกำหนดช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 จึงยึดเอาสภาพอากาศและสภาพธรรมชาติที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่บริเวณนี้เป็นหลัก ทว่า ประเทศจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 จึงไม่ตรงตามสภาพดินฟ้าอากาศจริงในหลายพื้นที่ของประเทศจีน
ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 (นับตามวันเดือนในระบบปฏิทินสากล)
- ฤดูใบไม้ผลิ
- "ลี่ชุน" หรือเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (3-5 ก.พ.)
- "อี๋ว์สุ่ย" หรือน้ำฝน (18-20 ก.พ.)
- "จิงเจ๋อ" หรือ(สัตว์)ตื่นจากฤดูจำศีล (5-7 มี.ค.)
- "ชุนเฟิน" หรือคืนและวันในฤดูใบไม้ผลิที่ยาวเท่ากัน (20-22มี.ค.)
- "ชิงหมิง" หรือเช็งเม้ง (4-6 เม.ย.)
- "กู๋อี่ว์" หรือฝนธัญพืช (19-21เม.ย.)
- ฤดูร้อน
- "ลี่เซี่ย" หรือเริ่มต้นฤดูร้อน (5-7พ.ค.)
- "เสียวหม่าน" หรือเมล็ดพันธุ์อุดม (20-22 พ.ค.)
- "หมางจ้ง" หรือหว่านเพาะ (5-7 มิ.ย.)
- "เซี่ยจื้อ" หรือช่วงวันยาวที่สุดในฤดูร้อน (21-22 มิ.ย.)
- "เสียวสู่" หรือร้อนเล็ก (6-8 ก.ค.)
- "ต้าสู่" หรือร้อนใหญ่ (22-24 ก.ค.)
- ฤดูใบไม้ร่วง
- "ลี่ชิว" หรือเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง (7-9 ส.ค.)
- "ชู่สู่" หรืออากาศร้อนสิ้นสุด (22-24 ส.ค.)
- "ไป๋ลู่" หรือน้ำค้างขาว (7-9 ก.ย.)
- "ชิวเฟิน" หรือคืนและวันในฤดูใบไม้ร่วงที่ยาวเท่ากัน (22-24 ก.ย.)
- "หานลู่" หรือน้ำค้างหนาว ( 8-9 ต.ค.)
- "ซวงเจี้ยง" หรือน้ำค้างแข็ง (23-24 ต.ค.)
- ฤดูหนาว
- "ลี่ตง" หรือเริ่มฤดูหนาว (7-8 พ.ย.)
- "เสียวเสวี่ย" หรือหิมะเล็ก (22-23 พ.ย.)
- "ต้าเสวี่ย" หรือหิมะใหญ่ (6-8 ธ.ค.)
- "ตงจื้อ" หรือช่วงคืนยาวที่สุดในฤดูหนาว (21-23 ธ.ค.)
- "เสี่ยวหาน" หรือหนาวเล็ก (5-7 ม.ค.)
- "ต้าหาน" หรือหนาวใหญ่ (20-21 ม.ค.)
เทศกาลสำคัญในระบบปฏิทิน "หนงลี่" ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน หยวนเซียว ตวนอู่ และจงชิว
- ชุนเจี๋ย (เทศกาลตรุษจีน) ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย
- หยวนเซียวเจี๋ย (เทศกาลหยวนเซียว) ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย
- ตวนอู่เจี๋ย (เทศกาลตวนอู่) ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5
- ชีซี (เทศกาลเด็กหญิง) ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7
- จงชิวเจี๋ย (เทศกาลไหว้พระจันทร์) ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
- ฉงหยางเจี๋ย (เทศกาลฉงหยาง) ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9
- ล่าปาเจี๋ย หรือ ตงจื้อเจี๋ย (เทศกาลล่าปา) ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12
- ฉูซี (วันส่งท้ายปีเก่า) วันที่ 30 เดือน 1