‘-(으)니까’ วางไว้หลังคำกริยาหรือคำคุณศัพท์เพื่อบอกว่าเนื้อหาข้างหน้าเป็นเหตุผลหรือที่มาของการตัดสินใจส่วนใหญ่มักจะใช้ร่วมกับไวยากรณ์ ‘-(으)세요’, ‘-(으)ㄹ까요?’, ‘-(으)ㄹ래요?’, ‘-(으)ㅂ시다’
지금은 차가 막히니까 지하철을 타고 가세요.
ตอนนี้รถติด นั่งรถไฟใต้ดินไปเถอะครับ
날씨가 좋으니까 밖으로 나갈까요?
อากาศดี เราออกไปข้างนอกกันไหมครับ
내일은 주말이니까 같이 영화를 봅시다.
พรุ่งนี้เป็นวันสุดสัปดาห์ ไปดูหนังด้วยกันนะครับ
비교해 보세요 เปรียบเทียบไวยากรณ์
‘-(으)니까’ และ ‘-아서/어서’
‘-(으)니까’ และ ‘-아서/어서’ เหมือนกันตรงที่ใช้บอกเหตุผลหรือสาเหตุ แต่ต่างกันที่ประโยคหลังของ ‘-아서/어서’ ไม่สามารถใช้ประโยคขอร้องหรือประโยคคำสั่งได้ ในขณะที่ประโยคหลัง ‘-(으)니까’ นั้นไม่มีข้อจำกัดใด ๆ อีกประการหนึ่ง -(으)니까’ สามารถรวมกับไวยากรณ์รูปอดีต ‘-았/었-’ ได้ แต่ ‘-아서/어서’ นั้นจะรวมกับ ‘-았/었-’ ไม่ได้
더우니까 창문을 여세요. (O)
더워서 창문을 여세요. (X)
배가 아팠어서 병원에 갔어요. (X)
유용한 표현 ประโยคน่ารู้
그동안 잘 지내셨어요?
ที่ผ่านมาสบายดีไหม
가: 투안 씨 오랜만이네요. 고향에 잘 다녀왔어요?
คุณตวน ไม่ได้พบกันนานเลยนะคะ กลับบ้านเกิดเรียบร้อยดีไหมคะ
나: 네, 과장님. 그동안 잘 지내셨어요?
ครับ ผู้จัดการ ช่วงที่ผ่านมาสบายดีไหมครับ