วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

문법 : ไวยากรณ์ -겠-

‘-겠-’ วางไว้หลังคำกริยาหรือคำคุณศัพท์เพื่อแสดงการคาดเดาหลังจากที่ได้เห็นสภาพหรือสถานการณ์ในปัจจุบัน(เมื่อคาดเดาเรื่องในอดีตควรเติม ‘-았/었’ เข้าไปหน้า ‘-겠-’ ด้วย)

가: 설날에 한국 친구 집에 초대를 받았어요.
      ผมได้รับคำเชิญให้ไปบ้านเพื่อนในวันขึ้นปีใหม่เกาหลี

나: 정말 좋겠어요.
      ดีจังเลยค่ะ

가: 요즘 일이 많아서 너무 바빠요.
      ช่วงนี้ฉันมีงานเยอะก็เลยยุ่งมากค่ะ

나: 일이 많아서 힘들겠어요.
      งานเยอะแบบนี้คุณคงจะเหนื่อย

가: 어제 우리 팀 회식이 있었는데 노래방에도 갔어요.
      เมื่อวานทีมเรากินเลี้ยงกัน ไปคาราโอเกะกันครับ

나: 그래요? 재미있었겠어요.
      อย่างนั้นหรือคะ คงจะสนุกนะคะ

비교해 보세요 เปรียบเทียบไวยากรณ์

‘-겠-’ และ ‘-(으)ㄹ 거예요’

เป็นไวยากรณ์ที่ใช้เพื่อแสดงปณิธานของประธานหรือพูดถึงความคาดเดาที่ผู้พูดคิดเกี่ยวกับอะไรบางอย่างเมื่อต้องการพูดถึงปณิธาน ‘-겠-’ จะใช้ได้กับประธานบุรุษที่ 1 เท่านั้น แต่ ‘-(으)ㄹ 거예요’ สามารถใช้ได้กับประธานบุรุษที่2 และ 3 ในกรณีที่ต้องการพูดถึงการคาดเดา ‘-겠’ จะใช้เมื่อเหตุผลในการคาดเดาเป็นความคิดของผู้พูดเพียงคนเดียว และ‘-(으)ㄹ 거예요’ ใช้เมื่อเหตุผลในการคาดเดาเป็นความคิดโดยรวมหรือเป็นความจริงทั่วไป
  • 바루 씨가 야근을 하겠어요.(X)
  • 바루 씨가 야근을 할 거예요.(O)
  • 여기를 누르면 불이 켜지겠어요.(X)
  • 여기를 누르면 불이 켜질 거예요.(O)