โครงสร้างประโยค 1
- โครงสร้างประโยคทั่วไป โครงสร้างประโยคภาษาไทยคือ SVO (ประธาน+กริยา+กรรม) แต่โครงสร้างประโยคภาษาเกาหลี คือ SOV (ประธาน+กรรม+กริยา)
ฉัน ดื่ม กาแฟ
ภาษาไทย 나 마시다 커피
ภาษาเกาหลี 나는 커피를 마신다.
ประธาน กรรม กริยา - ในกรณีที่มีการใช้คำ คุณศัพท์เพื่อขยายคำ นามโดยปกติคำ ขยายในภาษาไทยจะอยู่ด้านหลังเสมอแต่คำ ขยายในภาษาเกาหลีจะอยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามคือด้านหน้า
ภาษาไทย คำนาม + คำคุณศัพท์ → บ้านใหญ่
ภาษาเกาหลี คำคุณศัพท์ + คำนาม → 큰 집 - คำบุพบท ‘at’ หรือ ‘in’ ในภาษาอังกฤษจะใช้กับคำ นามสถานที่หรือคำ บอกเวลาเพื่อระบุสถานที่หรือเวลาเช่นเดียวกับภาษาไทย และจะว่างคำ เหล่านี้ไว้หน้าคำ นาม (เช่น at home, in Korea) แต่ในภาษาเกาหลีคำ บ่งชี้เหล่านี้จะวางไว้หลังคำ นามกล่าวคือในภาษาไทย (preposition) ในภาษาเกาหลี (post position)
ภาษาไทย คำบุพบท + คำนาม → ที่่โรงเรียน
ภาษาเกาหลี คำนาม + คำบุพบท → 학교에서 - ในกรณีที่มีการใช้คำแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาไทยจะกล่าวถึงสิ่งของก่อนเจ้าของคือ “บ้าน” มาก่อนคำว่า “เพื่อน” แต่ในภาษาเกาหลีจะวางตำแหน่งสลับกัน
ภาษาไทย คำนาม + เจ้าของ → บ้านของเพื่อน
ภาษาเกาหลี เจ้าของ + คำนาม → 친구의 집 - ประโยคแสดงความต้องการ เช่น ‘가고 싶어요’ ภาษาไทยก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ คือ ‘must go’ หรือ ‘would like to go’ คือ คำกริยาช่วยอยู่หน้าคำกริยาแท้ แต่ในภาษาเกาหลีตำแหน่งจะวางสลับกัน
ภาษาไทย คำกริยาช่วย + คำกริยาแท้ → อยากไป
ภาษาเกาหลี คำกริยาแท้ + คำกริยาช่วย → 가고 싶어요 - โครงสร้างประโยคปฎิเสธในภาษาไทยนั้นเหมือนกับภาษาอังกฤษ เช่น ‘don’t go’ ซึ่งคำ ที่แสดงการปฎิเสธจะอยู่ หน้าคำกริยาแต่ในภาษาเกาหลีคำแสดงการปฎิเสธจะอยู่หลังคำกริยา
ภาษาไทย คำแสดงการปฏิเสธ + คำกริยา → อย่าไป
ภาษาเกาหลี คำกริยา + คำแสดงการปฏิเสธ → 가지 마!