อัพยยศัพท์ คือ กลุ่มศัพท์ที่แจกด้วยวิภัตติไม่ได้ คงรูปไว้อย่างเดิม ประกอบด้วยศัพท์ 3 จำพวก ได้แก่ อุปสรรค นิบาต และปัจจัย
อุปสรรค คือ
จำประเภทของมันว่าเป็นอุปสรรค นิบาต หรือปัจจัย แต่ละอย่างแปลอย่างไร
ข้อสอบมักถามถึงประเภทของอัพยยศัพท์ ทั้งอุปสรรค นิบาต และปัจจัย ซึ่งต้องจดจำวิธีการใช้อัพยยศัพท์ทั้ง 3 แบบให้ดี ควรแยกแยะให้ได้ว่าแต่ละอย่างต่างกันอย่างไร ข้อสอบส่วนใหญ่จะถามตรงๆ ไม่ค่อยพลิกแพลง พยายามจำคำแปลของอัพยยศัพท์ให้ได้
อุปสรรค คือ
- คำศัพท์ประเภทหนึ่งที่แจกด้วยวิภัตติไม่ได้
- ในภาษาบาลีมีอุปสรรคทั้งหมด 20 ตัว
- ใช้สำหรับประกอบหน้าคำนามหรือคำกริยา
- เพื่อให้มีความหมายแปลกออกไป
- อุปสรรคเมื่อนำหน้าคำนามจะมีลักษณะคล้ายคำคุณศัพท์ เช่น
- อธิ + ปติ = อธิปติ แปลว่า นายใหญ่ - เมื่อนำหน้าคำกริยาจะมีลักษณะคล้ายคำกริยาวิเศษณ์ เช่น
- อนุ + คจฺฉติ = อนุคจฺฉติ แปลว่า ไปตาม
- คล้อยตามธาตุ คือ เสริมความหมายของธาตุให้ชัดเจนขึ้น เช่น อนุคจฺฉติ (ไปตาม) อติกฺกมติ (ก้าวล่วง) เป็นต้น
- เบียดเบียนธาตุ คือ ทำให้ธาตุมีความหมายผิดไปเล็กน้อย เช่น อภิภวติ (ครอบงำ) เป็นต้น
- สังหารธาตุ คือ เปลี่ยนความหมายของธาตุให้ตรงกันข้าม เช่น อาคจฺฉติ (มา), ปราชยติ (พ่ายแพ้) เป็นต้น
- ไม่มีความหมายอะไร คือ วางไว้เฉยๆ ความหมายของธาตุยังคงเดิม เช่น อามสติ (จับต้อง) มาจาก มสฺ ธาตุ แม้จะเติมอุปสรรคลงไป ก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยน
- นิบาต
- นิบาตบอกอาลปนะ
- นิบาตบอกกาล
- นิบาตบอกสถานที่
- นิบาตบอกปริจเฉท
- นิบาตบอกอุปมาอุปไมย
- นิบาตบอกประการ
- นิบาตบอกปฏิเสธ
- นิบาตบอกความได้ยินเล่าลือ
- นิบาตบอกปริกัป (เงื่อนไข, คาดคะเน)
- นิบาตบอกความรับ
- นิบาตบอกความถาม
- นิบาตบอกความเตือน
- นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยค (นิบาตต้นข้อความ)
- นิบาตสำหรับทำบทให้เต็ม หรือนิบาตเสริมบท
- นิบาตมีเนื้อความต่าง ๆ
จำประเภทของมันว่าเป็นอุปสรรค นิบาต หรือปัจจัย แต่ละอย่างแปลอย่างไร
ข้อสอบมักถามถึงประเภทของอัพยยศัพท์ ทั้งอุปสรรค นิบาต และปัจจัย ซึ่งต้องจดจำวิธีการใช้อัพยยศัพท์ทั้ง 3 แบบให้ดี ควรแยกแยะให้ได้ว่าแต่ละอย่างต่างกันอย่างไร ข้อสอบส่วนใหญ่จะถามตรงๆ ไม่ค่อยพลิกแพลง พยายามจำคำแปลของอัพยยศัพท์ให้ได้