วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第十六课:这件衣服多少钱? บทที่ 16: เสื้อผ้าชุดนี้ราคาเท่าไหร่

第十六课:这件衣服多少钱?
บทที่ 16: เสื้อผ้าชุดนี้ราคาเท่าไหร่

บทสนทนาที่ 1

  • zhè  jiàn yī  fu duō shǎo qián
    这  件  衣 服 多  少  钱?
    เสื้อชุดนี้ราคาเท่าไหร่ครับ
  • èr bǎi bā shí yuán
    二 百  八  十  元。
    280 หยวนค่ะ
  • èr bǎi  yuán  kě  yǐ ma
    二 百  元  可 以 吗?
    200 หยวนได้ไหมครับ
  • zuì dī  èr bǎi  èr shí yuán
    最  低 二 百  二 十  元。
    ลดได้ต่ำสุด 220 หยวนค่ะ
  • hǎo  de  wǒ mǎi le
    好  的, 我  买  了。
    ตกลงครับ ผมซื้อหนึ่งชุด

บทสนทนาที่ 2

  • wǒ kě yǐ shì  yí  xià ma
    我  可 以 试  一 下  吗?
    ผมขอลองหน่อยได้ไหมครับ
  • kě yǐ  nǐ xiǎng yào shén  me yán  sè de
    可 以。你  想  要  什  么  颜  色 的?
    ได้ค่ะ/ครับ คุณต้องการสีอะไรคะ/ครับ
  • lán sè  de
    蓝  色  的。
    สีฟ้าครับ
  • yǒu méi yǒu  dà  yì diǎnr de
    有  没  有  大 一 点儿 的?
    มีตัวใหญ่กว่านี้หน่อยไหมครับ
  • méi yǒu
    没  有。
    ไม่มีค่ะ/ครับ


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. การละคำ้

ในบทสนทนาที่ 2 เราจะสังเกตเห็นว่า ประโยค "……什么颜色的"(shén me yán sè de) และ "蓝色的"(lán sè de) ได้ละคำว่า "衣服"(yī fu, เสื้อผ้า) ซึ่งเดิมอยู่ในตำแหน่งท้ายสุดเอาไว้ เนื่องจาก "衣服" (เสื้อผ้า)เป็นหัวข้อสนทนาที่คู่สนทนาต่างทราบกันอย่างชัดเจน ดังนั้นเราจึงสามารถละคำว่า "衣服" (เสื้อผ้า) ในที่นี้ได้

2. 一下

"一下"(yī xià, สักหน่อย/หน่อย) เป็นคำที่ใช้บรรยายการกระทำที่รวดเร็วหรือใช้เวลาสั้นๆ

3. 有没有……?

"有没有……?"(yǒu méi yǒu) มีความหมายเหมือนกับ "有……吗?"(yǒu ma) แปลว่า มีหรือไม่/มีไหม "有"(yǒu) แปลว่า "มี" ส่วน "没有"(méi yǒu) เป็นคำปฏิเสธของ "有" แปลว่า "ไม่มี" เมื่อนำคำสองคำนี้มาเรียงต่อกันก็จะกลายเป็นการตั้งคำถามแบบให้เลือกว่า "มีหรือไม่มี"

เกร็ดวัฒนธรรม

ถังจวง (เสื้อคอจีน)

เสื้อคอจีนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ถังจวง" ที่จริงแล้วชื่อเรียกนี้เป็นชื่อที่เริ่มเรียกโดยชาวต่างชาติ เนื่องจากราชวงศ์ถังของจีนเป็นยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองจนมีชื่อเสียงขจรไปไกลถึงต่างแดน ดังนั้นในสมัยต่อๆ มาชาวต่างชาติจึงเรียกคนจีนว่า "ถังเหริน" หรือคนถัง ย่านที่พักอาศัยของชาวจีนหรือไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอาเซียนและในยุโรปก็เรียกว่า "ถังเหรินเจีย" หรือถนนของคนถัง และชาวจีนโพ้นทะเลเองก็เรียกตัวเองว่า "ถังเหริน" เช่นกัน ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เป็นเพราะราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์ที่ชาวจีนภาคภูมิใจมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง ต่อมาจึงมีการเรียกเสื้อผ้าแบบโบราณของจีนที่คนถังในย่านถังเหรินเจียสวมใส่ว่า "ถังจวง" หรือชุดถัง ซึ่งที่จริงแล้วถังจวงไม่ใช่ชุดในสมัยราชวงศ์ถังแต่อย่างใด แต่เป็นชุดของสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย


ถังจวงหรือเสื้อคอจีนดัดแปลงมาจากเสื้อนอกของชายในสมัยปลายราชวงศ์ชิง แบบเสื้อถังจวงมีลักษณะเด่น 4 ประการคือ 1. คอเสื้อตั้ง โดยเปิดคอเสื้อด้านหน้าตรงกลางไว้ 2. แขนเสื้อและตัวเสื้อเป็นผ้าชิ้นเดียวกัน จึงไม่มีรอยตะเข็บต่อระหว่างแขนเสื้อและตัวเสื้อ 3. สาบเสื้อเป็นแนวตรงหรือแนวเฉียง 4. กระดุมเสื้อเป็นกระดุมแบบจีนซึ่งประกอบด้วยเม็ดกระดุมที่ใช้ผ้าถักเป็นปมและห่วงรังดุม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะอื่นๆ เช่น ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรปักลายหรือผ้าต่วน สีเสื้อมีให้เลือกหลากหลาย โดยมากจะมีสีแดงสด สีแดงคล้ำ สีแดงน้ำตาล สีน้ำเงินไพลินและสีกาแฟเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสีเหลืองสว่าง สีเหลืองทอง สีเขียวมรกต สีดำและสีทองด้วย

ฉีผาว (ชุดกี่เพ้า)


ฉีผาวหรือกี่เพ้าเป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดของหญิงชาวแปดกองธงในสมัยราชวงศ์ชิง กี่เพ้าเป็นเครื่องแต่งกายที่เกิดจากการหลอมรวมเป็นหนึ่งของชนชาติต่างๆ ของจีนและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน กี่เพ้าเป็นงานตัดเย็บที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหัตถกรรมการปักลวดลาย ภาพดอกไม้และนกหรือภาพอื่นๆ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน

หากดูตามความหมายของตัวอักษรจีน ฉีผาวหรือกี่เพ้านั้นโดยมากมักหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาว เมื่อผ่านวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยจนมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง จึงได้มีการตีความหมายจากตัวอักษรคำว่าฉีผาวว่าหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาวที่ชาวกองธงทั้งชายและหญิงสวมใส่ ("ฉี" แปลว่า ธง "ผาว" แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาว) แต่ชุดกี่เพ้าในยุคต่อมานั้นพัฒนามาจากชุดเสื้อคลุมยาวที่หญิงชาวแปดกองธงสวมใส่ ต่อมาหญิงชาวฮั่นได้แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวแมนจู ในทางกลับกันหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวมองโกลก็แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวฮั่นเช่นกัน การเลียนแบบกันไปมาทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างการแต่งกายของหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวฮั่น การแต่งกายของหญิงสองชนชาติจึงคล้ายคลึงกันมากขึ้นตามลำดับ จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นกลายชุดกี่เพ้ายุคแรกที่เป็นที่นิยมทั่วประเทศจีน ต่อมาเมื่อเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกแพร่หลายเข้ามาในประเทศจีน ก็ได้มีการดัดแปลงชุดกี่เพ้าให้เข้ากับลักษณะเด่นของชุดแบบตะวันตกกลายเป็นชุดกี่เพ้าแบบใหม่ที่เรียบง่ายและแพร่หลายสู่คนทั่วไปมากขึ้น

ชุดกี่เพ้าในปัจจุบันเป็นชุดที่ออกแบบไปตามแฟชั่นมากขึ้น แต่สีของชุดกี่เพ้าก็ยังคงเป็นสีแบบชุดกี่เพ้าโบราณ เช่น ชุดกี่เพ้าที่ใช้สีแดงสด สีเขียวสดและสีฟ้าสดตัดกับสีแดงและสีดำ นอกจากนี้ยังมีการนำผ้าหลายชนิดมาใช้ในการตัดเย็บและมีรูปแบบหลากหลายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นชุดกี่เพ้าสั้น ชุดกี่เพ้ายาว หรือชุดกี่เพ้าที่ออกแบบตามฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว