第十七课:我肚子疼得厉害。
บทที่ 17: ฉันปวดท้องรุนแรงมาก
บทสนทนาที่ 1
- zhāng lǎo shī nǐ hǎo张 老 师, 你 好!我 今 天 不 能 去 上 课 了。สวัสดีครับ อ. จาง วันนี้ผมไปเรียนไม่ไหวนะครับ
- nǐ zěn me le你 怎 么 了?เป็นอะไรไปล่ะ
- wǒ gǎn mào le我 感 冒 了。ผมเป็นหวัดครับ
- nà nǐ hǎo hāo xiū xi ba那 你 好 好 休 息 吧!ถ้างั้นคุณพักผ่อนมากๆ ก็แล้วกัน
บทสนทนาที่ 2
- nǐ nǎr bù shū fu你 哪儿 不 舒 服?คุณไม่สบายตรงไหนครับ/คะ
- wǒ dù zi téng de lì hai wǒ zǎo shang chī le sān gè我 肚 子 疼 得 厉 害。 我 早 上 吃 了 三 个苹 果、 半 斤 葡 萄 和 很 多 冰 淇 淋。ผมปวดท้องมากครับ เมื่อเช้าผมทานแอปเปิ้ลไป 3 ผล ทานองุ่นไปครึ่งชั่งแล้วก็ทานไอศกรีมไปเยอะพอสมควร
- méi guān xi chī liǎng tiān yào jiù huì hǎo de没 关 系。吃 两 天 药 就 会 好 的。ไม่เป็นไร ทานยาสักสองวันก็หาย
- hǎo de xiè xie好 的, 谢 谢。ครับ ขอบคุณครับ
คำอธิบายการใช้ภาษา
1. 能
"能"(néng) หมายถึง สามารถ แสดงถึงความสามารถหรือความเป็นไปได้ในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (หากต้องการพูดถึงความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และการฝึกฝน จะต้องใช้คำว่า "会"(huì)) นอกจากนี้ยังหมายถึงการอนุญาตให้สามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ "可以"(kě yǐ) และ "能" มีวิธีการใช้คล้ายกัน แต่ "能" จะเน้นไปที่ความสามารถในการทำเรื่องราวหรือกิจธุระ ส่วน "可以" จะเน้นไปที่ความสมัครใจในการกระทำเรื่องราวหรือกิจธุระ มีน้ำเสียงค่อนข้างประนีประนอมและอ้อมค้อม
2. คำซ้ำ
"好好"(hǎo hāo) เป็นตัวอย่างคำซ้ำในภาษาจีนกลาง การซ้ำคำคุณศัพท์เช่นนี้เป็นการเน้นย้ำความให้มีน้ำหนักมากขึ้น หากคำคุณศัพท์ที่ต้องการซ้ำเป็นคำสองพยางค์(AB) เวลาซ้ำคำจะต้องซ้ำด้วยรูปแบบ AABB เช่น "高兴"(gāo xìng) ซ้ำเป็น "高高兴兴"(gāo gāo xìng xìng)
3. หน่วยน้ำหนัก้
ในประเทศจีนมีระบบการชั่งน้ำหนักหลายแบบ ระบบที่ใช้ทั่วไปได้แก่ระบบซื่อจื้อของจีนและระบบเมตริก หน่วยน้ำหนักที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณคือ "两"(liǎnɡ, ตำลึง) และ "斤"(jīn, ชั่ง) 1 两" หนักประมาณ 50 กรัมหรือ 1.764 ออนซ์ 1 斤มี 10 两 1 斤หนักประมาณ 500 กรัมหรือ 1.1021 ปอนด์ หนักประมาณแอปเปิ้ลขนาดกลาง 3 ผล นอกจากระบบซื่อจื้อแล้ว ประเทศจีนยังใช้หน่วย "กิโลกรัม" ด้วย หน่วยน้ำหนักที่กล่าวมานี้ใช้ในการซื้อขายผัก ผลไม้และเนื้อ ในตลาดสดและร้านหาบเร่แผงลอยทั่วไปมักใช้หน่วยในระบบซื่อจื้อ ส่วนในซูเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่จะใช้หน่วยในระบบเมตริก ในชนบท ระบบซื่อจื้อจะใช้กันแพร่หลาย ส่วนในเมืองนั้นจะใช้ทั้งสองระบบ
เกร็ดวัฒนธรรม
การแพทย์และยาแผนจีน
การแพทย์แผนจีนหมายถึงการแพทย์แผนโบราณของจีนซึ่งสืบทอดนานหลายพันปีและได้หลอมรวมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของชนชาติจีน
การแพทย์แผนโบราณของจีนใช้หลักการหยินหยางและธาตุทั้งห้าเป็นทฤษฎีพื้นฐาน และใช้วิธีตรวจวินิจฉัยโรค 4 วิธี คือ "วั่ง" (การมอง) "เหวิน" (การฟังและสูดดม) "เวิ่น" (การถาม) และ "เชี่ย" (การจับแมะหรือการจับชีพจร) เมื่อวินิจฉัยโรคแล้วจึงดำเนินการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม การแพทย์แผนโบราณของจีนมีทฤษฎีเฉพาะศาสตร์ที่เป็นระบบ โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติซึ่งประกอบขึ้นจากธาตุหยินและหยาง ธาตุทั้งสองมีคุณสมบัติตรงข้ามกันแต่ต่างอยู่บนพื้นฐานของกันและกัน ดังนั้นหากสภาพความสมดุลของหยินและหยางถูกทำลาย ก็ย่อมทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อว่าหลักการดำรงชีวิตและการเกิดโรคภัยต่างๆ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ (เช่นสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาล สภาพของพื้นที่ต่างๆ การผลัดเปลี่ยนของเวลากลางวันและกลางคืน เป็นต้น) ดังนั้นระดับการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แตกต่างย่อมไม่เท่ากัน ทำให้สภาพร่างกายและภาวะการเกิดโรคต่างกันไปด้วย ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยโรคของการแพทย์แผนจีนจึงให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านเวลา สิ่งแวดล้อมและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลมาก โดยจะไม่วินิจฉัยอย่างตายตัวจากอาการของโรคเพียงอย่างเดียว หลักการแพทย์แผนจีนถือว่าอวัยวะทุกส่วนในร่างกายรวมเป็นองค์เดียว ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาโรคจึงไม่ได้พิจารณาจากความผิดปกติของอวัยวะเฉพาะส่วนหรืออาการป่วยเพียงด้านเดียว แต่จะพิจารณาจากปัจจัยรอบด้านและให้ความสำคัญกับแนวคิดองค์รวมของร่างกายเป็นสำคัญ จากนั้นจึงเลือกใช้วิธีการรักษาหรือวิธีการป้องกันโรคที่เหมาะสม
วิธีการรักษาของการแพทย์แผนจีนมีหลากหลายวิธี โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การรักษาภายในด้วยการรับประทานยาและการรักษาภายนอกด้วยยาทา การนาบด้วยความร้อน การรม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาแบบอื่น เช่น การฝังเข็ม การใช้กระปุกร้อนอังผิวหนัง การขูดผิวหนัง การนวดกดจุด การนวดและชี่กง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาด้วยการรับประทานยาหรืออาหารบำรุงประเภทต่างๆ อีกด้วย
ปัจจุบันการแพทย์และยาแผนจีนได้รับการพัฒนาและแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งยังมีความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการแพทย์แผนจีนในระดับนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้การแพทย์แผนจีนมีบทบาทมากขึ้นในวงการการแพทย์โลก และคาดการณ์ว่าการแพทย์แผนจีนจะสามารถประโยชน์อย่างกว้างขวางแก่การรักษาสุขภาพอนามัยของชาวโลกในอนาคต
การฝังเข็ม
การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาโรคที่มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจีน การรักษาแบบนี้เป็น "การรักษาโรคภายในจากภายนอก" ด้วยวิธีการเฉพาะ โดยรักษาผ่านเส้นทางหลักและแขนงของทางเดินเลือดลมและจุดลมปราณต่างๆ
ทฤษฎีพื้นฐานของวิชาการฝังเข็มก็คือทฤษฎีเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลมภายในร่างกาย แพทย์แผนจีนเชื่อว่าเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลมมีลักษณะเป็นทางหลักและแขนงย่อยที่โยงใยถึงกัน จึงสามารถเชื่อมโยงอวัยวะส่วนต่างๆ ให้รวมเป็นองค์เดียวอย่างเป็นระบบ การรักษาโดยวิธีการฝังเข็มโดยทั่วไปมักจะเลือกฝังเข็มบนจุดลมปราณที่อยู่บนเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลม เพื่อไปกระตุ้นให้ภูมิต้านทานโรคภายในร่างกายของผู้ป่วยทำงานหรือเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกาย ทำให้สามารถรักษาโรคได้ตามความมุ่งหมาย
การวินิจฉัยโรคแบบแพทย์แผนจีน จะต้องหาสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเสียก่อน โดยการจำแนกลักษณะอาการของโรคเพื่อหาสาเหตุว่าอาการป่วยที่เกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของเส้นทางการไหลเวียนของเลือดลมเส้นใดหรือมาจากอวัยวะภายในส่วนใด และต้องจำแนกว่าอาการดังกล่าวจัดเป็นอาการที่เกิดจากภายนอกหรือภายใน เกิดจากความหนาวหรือความร้อน หรือเกิดจากความแกร่งหรือความพร่อง เป็นต้น จากนั้นจึงค่อยรักษาด้วยการฝังเข็มตรงจุดลมปราณที่เหมาะสมตามอาการของโรค เพื่อให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีและเป็นการปรับสมดุลของหยินหยางและสมรรถภาพของอวัยวะภายในต่างๆ
วิชาการฝังเข็มเป็นศาสตร์ทางการแพทย์ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี โดยตำราเล่มแรกของวิชานี้ชื่อว่า หวงตี้เน่ยจิง การรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มมีจุดเด่นหลายประการได้แก่ วิธีการรักษาเรียบง่าย เห็นผลเร็ว ประหยัดและปลอดภัย ศาสตร์ทางการแพทย์แขนงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและสืบทอดต่อกันมาตลอดระยะเวลา 2,000 ปี และในช่วงหลายปีมานี้วิชาการฝังเข็มก็กลายเป็นวิชาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยและการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มในกว่า 140 ประเทศทั่วโลก