第二十二课:月饼真好吃!
บทที่ 22: ขนมไหว้พระจันทร์อร่อยจัง
บทสนทนาที่ 1
- dà chuān nǐ zhī dào jīn tiān shì zhōng qiū jié ma大 川, 你 知 道 今 天 是 中 秋 节 吗?ต้า ชวน คุณรู้ไหมว่าวันนี้เป็นวันไหว้พระจันทร์
- zhōng qiū jié shì shén me中 秋 节 是 什 么?วันไหว้พระจันทร์คืออะไรครับ
- zhōng qiū jié shì zhōng guó de chuán tǒng jié rì中 秋 节 是 中 国 的 传 统 节 日,是 团 圆 的 节 日。咱 们 今 天 去张 老 师 家 过 中 秋 节 吧!วันไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลโบราณของจีน เป็นวันที่คนในครอบครัวจะมาอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา วันนี้พวกเราไปฉลองวันไหว้พระจันทร์ที่บ้าน อ. จางกันเถอะ
- hǎo ā好 啊!ดีครับ
บทสนทนาที่ 2
- zhè shì shén me这 是 什 么?นี่คืออะไรคะ/ครับ
- zhè shì yuè bǐng zhōng qiū jié wǒ men这 是 月 饼。 中 秋 节 我 们都 赏 月, 吃 月 饼。นี่คือขนมไหว้พระจันทร์ ในวันไหว้พระจันทร์เราจะชมพระจันทร์และทานขนมไหว้พระจันทร์กัน
- yuè liang zhēn hǎo kàn yuè bǐng zhēn hǎo chī月 亮 真 好 看, 月 饼 真 好 吃!พระจันทร์สวยมาก ขนมไหว้พระจันทร์ก็อร่อย
- hǎo chī nǐ jiù duō chī diǎnr好 吃 你 就 多 吃 点儿。อร่อยก็กินเยอะๆ สิ
คำอธิบายการใช้ภาษา
1. 咱们
"咱们" (zán men) มีความหมายว่า "พวกเรา" เหมือนกับคำว่า "我们" (wǒ men) แต่ "咱们" จะหมายรวมถึงฝ่ายผู้ฟังหรือคู่สนทนาของเราด้วย ในขณะที่ "们" จะหมายถึงเพียงฝ่ายผู้พูดฝ่ายเดียว
2. คำกริยา "过" (ผ่าน/ใช้(เวลา))
"过"(guò) ในที่นี้หมายถึง "度过"(dù guò) หรือ ผ่าน/ใช้(เวลา) โดยทั่วไปคำนี้มักตามหลังด้วยชื่อเทศกาลหรือวันสำคัญต่างๆ เมื่อประกอบกันแล้วจะมีความหมายตรงกับในภาษาไทยว่า "ฉลองวัน..."เช่น "今天我和父母过生日。" (jīn tiān wǒ hé fù mǔ guò shēng rì, วันนี้ฉันฉลองวันเกิดกับพ่อแม่)
3. 好
เมื่อ "好"(hǎo) ตามหลังด้วยคำกริยาจะสื่อความหมายถึงความรู้สึกที่ดีหรือความสุขที่เกิดจากกริยานั้นๆ เช่น "好看"(hǎo kàn, สวย, ดูดี)""好吃"(hǎo chī, อร่อย)" "好玩"(hǎo wán, สนุก)เป็นต้น
เกร็ดวัฒนธรรม
พิธีและธรรมเนียมปฏิบัติ 4: เทศกาลตรุษจีนและเทศกาลไหว้พระจันทร์
1.เทศกาลตรุษจีน
"ชุนเจี๋ย" หรือตรุษจีนถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ตามความหมายของชื่อเทศกาล "ชุนเจี๋ย" หมายถึงเทศกาลแห่งฤดูชุนหรือฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งก็คือปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติจีนนั่นเอง เมื่อฤดูใบไม้ผลิเวียนมาถึง ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ของสรรพสิ่ง ชาวไร่ชาวนาก็เตรียมพร้อมสำหรับฤดูการหว่านเพาะและเก็บเกี่ยวพืชพรรณรอบใหม่ ในช่วงเทศกาลคนทำงานและนักเรียนนักศึกษาต่างหยุดพักผ่อนหรือเดินทางกลับภูมิลำเนา ทำให้รถไฟและการจราจรอื่นๆ คับคั่งไปถนัดตา ชาวจีนจะทำความสะอาดและตกแต่งบ้านเพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีนด้วยการปิดชุนเหลียนหรือคำมงคลคู่ไว้ที่ประตูบ้าน เนื้อหาของชุนเหลียนโดยมากมักเป็นประโยคที่แสดงถึงความปรารถนาหรือความคาดหวังในปีใหม่ที่จะมาถึง นอกจากนี้ยังมีการแขวนโคมแดงที่ติดตัวอักษร "ฝู" ซึ่งหมายถึงความสุขและโชคลาภหรือติดรูปเทพแห่งโชคลาภไว้ การติดตัวอักษร "ฝู" ที่โคมแดงจะต้องติดกลับหัว เพราะถือเคล็ดที่ว่าเมื่อมีคนเห็นก็จะพูดว่า "福倒了"(fú dào le "ฝู" กลับหัว) ซึ่งออกเสียงเหมือนประโยคที่ว่า "福到了"(fú dào le "ฝู" หรือโชคลาภมาเยือน)
ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่ทุกคนในครอบครัวจะมาอยู่รวมกันพร้อมหน้าพร้อมตา ลูกๆ ที่ไปทำงานต่างถิ่นก็จะต้องกลับมาเยี่ยมพ่อแม่และร่วมฉลองตรุษจีนพร้อมกันทั้งครอบครัว คืนส่งท้ายปีเก่ามีชื่อเรียกว่าคืนถวนหยวน(คืนแห่งการพร้อมหน้า) ในคืนนี้คนในบ้านจะต้องมานั่งล้อมวงห่อเกี๊ยว(เจี่ยวจือ)ด้วยกัน ขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำเกี๊ยวคือการนวดแป้ง(和面, huó miàn) คำว่า "和"พ้องเสียงกับคำว่า "合"(hé) หมายถึงร่วมกัน ส่วนตัวอักษร "饺"(jiǎo) ในคำว่า "饺子"(jiǎo zi) ออกเสียงคล้ายกับคำว่า "交"(jiāo) ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อ คำว่า "合" และ "交" จึงสื่อความหมายถึงการมาอยู่รวมกัน ดังนั้นคนจีนจึงใช้เจี่ยวจือมาเป็นสัญลักษณ์แทนการอยู่รวมกันพร้อมหน้าพร้อมตา นอกจากการรับประทานเกี๊ยวพร้อมกันแล้ว ในคืนส่งท้ายปีเก่าคนจีนส่วนใหญ่ยังนิยมชมการแสดงในโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติจีนและรอจนถึงการนับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่พร้อมกันด้วย
บรรยากาศการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนมีระยะเวลาตลอดหนึ่งเดือน เริ่มจากการเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟและบรรพบุรุษในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ช่วงกลางเทศกาลผู้ใหญ่จะให้เงินรับขวัญปีใหม่(yā suì qián)ซึ่งใส่ไว้ในซองสีแดง(อั่งเปา)แก่เด็กๆ ส่วนญาติสนิทมิตรสหายก็จะไปเยี่ยมเยียนกันถึงบ้านเพื่ออวยพรปีใหม่แก่กัน ในช่วงครึ่งเดือนหลังของเทศกาลก็จะเข้าสู่เทศกาลหยวนเซียว ในช่วงนี้จะมีโคมไฟประดับประดาทั่วเมือง ผู้คนมากมายก็จะออกมาเดินเที่ยวกันตามท้องถนน เมื่อพ้นเทศกาลหยวนเซียวจึงถือว่าเทศกาลตรุษจีนสิ้นสุดลง"
เทศกาลตรุษจีนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กั้วเหนียน" ซึ่งหมายถึง "ผ่านพ้นเหนียน" "เหนียน" คือสัตว์ในจินตนาการของคนจีนสมัยโบราณ เชื่อกันว่าเหนียนเป็นสัตว์ที่นำโชคร้ายมาสู่คน เมื่อ "เหนียน" มาเยือน พืชพรรณก็จะไม่เจริญเติบโตและแห้งเหี่ยวลง เมื่อ "เหนียน" "ผ่านพ้น" ไป สรรพสิ่งก็จะเจริญเติบโต ดอกไม้ก็จะบานสะพรั่งอีกครั้ง ดังนั้นคนโบราณจึงใช้วิธีการจุดประทัดเพื่อขับไล่ "เหนียน" ให้พ้นไป ต่อมาการจุดประทัดจึงกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติต่อๆ กันมาในเทศกาลตรุษจีน
2. เทศกาลไหว้พระจันทร์
จงชิวเจี๋ยหรือเทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลโบราณที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากเทศกาลตรุษจีน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ในคืนวันไหว้พระจันทร์จะมีพระจันทร์เต็มดวง(yuán mǎn) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ "การมาอยู่รวมกันพร้อมหน้าพร้อมตา" (tuányuán) ดังนั้นเทศกาลไหว้พระจันทร์จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ถวนหยวนเจี๋ย" โดยทั่วไปในคืนวันไหว้พระจันทร์ คนในบ้านจะนั่งชมจันทร์พร้อมกับรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ด้วยกัน รูปร่างกลมๆ (yuán)ของขนมไหว้พระจันทร์ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แทน"ถวนหยวน" หรือการมาอยู่รวมกันพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัวอีกอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน