วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第二十三课:周四你能来参加我的生日聚会吗? บทที่ 23: วันพฤหัสบดีคุณมาร่วมงานวันเกิดฉันได้ไหม

第二十三课:周四你能来参加我的生日聚会吗?
บทที่ 23: วันพฤหัสบดีคุณมาร่วมงานวันเกิดฉันได้ไหม

บทสนทนาที่ 1

  • lǐ  méi  nǐ wèi shén  me mǎi le zhè me  duō  dōng xi
    李 梅, 你 为  什  么  买  了  这  么  多  东  西?
    หลี่ เหมย ทำไมคุณซื้อของเยอะขนาดนี้
  • wèi  wǒ  de shēng ri  jù  huì zuò zhǔn  bèi
    为  我  的  生  日 聚 会  做  准  备。
    zhōu sì  nǐ néng  lái cān jiā wǒ de  shēng ri  jù  huì ma
    周  四 你  能  来  参  加 我  的  生  日 聚 会  吗?
    เตรียมจัดงานวันเกิดของตัวเองน่ะค่ะ วันพฤหัสบดีคุณมาร่วมงานวันเกิดของฉันได้ไหมคะ
  • xíng wǒ yí dìng  lái
    行, 我 一 定  来。
    ได้ครับ ผมมาแน่นอน

บทสนทนาที่ 2

  • hēi lǐ méi  zhè me qiǎo
    嘿,李 梅, 这 么  巧!
    ไฮ หลี่ เหมย บังเอิญจริงๆ
  • hēi dà chuān shì ā zhēn qiǎo zhè  zhōu  sì néng  lái
    嘿, 大  川。 是 啊!真  巧! 这  周  四  能  来
    cān  jiā wǒ de  shēng ri  jù huì ma
    参  加 我  的  生  日 聚 会  吗?
    ไฮ ต้า ชวน ใช่ค่ะ บังเอิญจริงๆ วันพฤหัสบดีนี้คุณมาร่วมงานวันเกิดของฉันได้ไหมคะ
  • èn  wǒ zhōu sì wǎn shang yǒu kè bù  néng  qù le
    …… 我  周  四 晚   上   有  课,不  能  去 了。
    hái shì yào  zhù nǐ  shēng ri kuài lè
    还  是  要  祝  你  生  日 快  乐!
    เอ่อ......ค่ำวันพฤหัสบดีผมมีเรียน ไปไม่ได้ครับ ยังไงก็สุขสันต์วันเกิดล่วงหน้าก็แล้วกันครับ
  • méi guān  xi  xiè xie
    没  关  系。谢  谢!
    ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณนะคะ

คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 为什么

"为什么" (wèi shén me, ทำไม) เป็นคำแสดงคำถามซึ่งถามถึงสาเหตุ เราจะวางคำว่า "为什么" ไว้ต้นประโยคและจบประโยคด้วยเครื่องหมายคำถาม หรืออาจเพิ่มคำช่วยน้ำเสียง "呢"(ne) หรือ "呀"(ya) ตรงท้ายประโยคเพื่อเน้นย้ำ แล้วจึงใส่เครื่องหมายคำถามต่อท้ายก็ได้

2. 这周四(你omitted)能来参加……

 ในประโยค "这周四(你)能来参加……"(zhè zhōu sì (nǐ)néng lái cān jiā) ได้ละประธานคำว่า "你"(nǐ) ไว้ คำว่า "参加"(cān jiā) ในที่นี้หมายถึง "ร่วม(งาน)" ส่วน "来参加"(lái cān jiā) หมายถึง "มาร่วม(งาน)" จริงๆ แล้วคำว่า "来" สามารถละไว้ได้ แต่ในภาษาพูดมักจะไม่ละคำว่า "来" ทั้งนี้เพื่อให้น้ำเสียงในการเชื้อเชิญมีน้ำหนักมากขึ้น

เกร็ดวัฒนธรรม

ปีนักษัตร์


"สู่เซี่ยง" หรือ "เซิงเซียว" หมายถึงปีนักษัตร ปีนักษัตรเป็นระบบที่ใช้สัตว์ 12 ชนิดมาเป็นสัญลักษณ์แทนปีเกิดของคน ปีนักษัตรทั้ง 12 ได้แก่ ชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน ปีนักษัตรทั้ง 12 ของจีนไม่เพียงหมายถึงสัตว์ทั้ง 12 ที่เป็นสัญลักษณ์แทนปีต่างๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นระบบการนับเวลาอย่างหนึ่งด้วย ดังนั้นเราจึงมักจะได้ยินคำพูดที่ว่า "ปีชวด" "ปีมะโรง" เป็นต้น

ต้นกำเนิดของปีนักษัตรเกี่ยวข้องกับการนับปีในระบบจักรราศีกานจือของปฏิทินจันทรคติจีน ปฏิทินจันทรคติของจีนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ซย่าลี่" ซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีการใช้ปฏิทินดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซย่า หรือราว 3,000 ปีมาแล้ว การนับปีของระบบดังกล่าวประกอบด้วยจักรราศีแห่งฟ้า(เทียนกาน)ทั้ง 10 ได้แก่ จย่า อี่ ปิ่ง ติง อู้ จี่ เกิง ซิน เหริน กุ่ย และจักรราศีแห่งดิน(ตี้จือ)ทั้ง 12 ได้แก่ จื่อ โฉ่ว หยิน เหม่า เฉิน ซื่อ หวู่ เว่ย เซิน โหย่ว ซีว์ ไฮ่ ในสมัยนั้นมนุษย์มีความใกล้ชิดกับสัตว์มาก ดังนั้นจึงได้เลือกสัตว์ 12 ชนิดมาเป็นสัญลัษณ์แทนจักรราศีแห่งดินทั้ง 12 เกิดเป็นระบบปีนักษัตรทั้ง 12 ขึ้น ต่อมาจึงมีการยึดเอาสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์แทนในแต่ละปีมาเป็นของปีเกิดของคน

เมื่อจบการสนทนาทางโทรศัพท์ ควรถามคู่สนทนาอย่างให้เกียรติว่า "qǐng wèn nín hái yǒu shén me shì qing ma?" (ไม่ทราบว่าคุณยังมีธุระอะไรอีกไหมคะ/ครับ) เมื่อจะวางสาย ผู้โทรควรรอให้ผู้รับวางสายก่อนแล้วจึงวางทีหลัง ผู้ที่อายุน้อยกว่าควรรอให้ผู้อาวุโสกว่าวางสายเสียก่อนแล้วตนจึงค่อยวางสาย นอกจากนี้ ห้ามวางสายโดยที่ยังไม่จบบทสนทนาและห้ามวางสายกลางคันหรือวางสายโดยกระแทกหูโทรศัพท์ เพราะการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจผิดได้

วัฒนธรรมมังกร


มังกรเป็นโทเทมหรือสัญลักษณ์ประจำชนชาติจีน ในสังคมบรรพกาลซึ่งวิทยาการยังคงล้าหลังอยู่มาก มนุษย์เชื่อว่าตนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสรรพสัตว์และพืชพรรณในธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีการเลือกสัตว์หรือพืชบางอย่างมาเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่าของตน จนเกิดเป็นความเชื่อเรื่องการบูชาโทเทมขึ้น มนุษย์ในยุคนั้นเชื่อว่านอกจากโทเทมจะเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่าแล้ว ยังเป็นสิ่งคุ้มครองเผ่าของตนอีกด้วย

มังกรเป็นสัตว์ที่มีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อเรื่องการบูชาโทเทมในยุคบรรพกาลของจีน ตามตำนานเชื่อว่า มังกรเป็นสัตว์มีเขา เกล็ดและเครา สามารถบินขึ้นฟ้า ดำลงน้ำ ทั้งยังสามารถเสกเมฆบันดาลฝนได้ มังกรเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของจีน กษัตริย์จีนในสมัยโบราณจะเรียกตนเองว่า "มังกรแท้ผู้เป็นโอรสสวรรค์" ภายในพระราชวังก็จะมีการตกแต่งด้วยรูปมังกรจำนวนมาก สำหรับคนจีนแล้วมังกรมีความหมายพิเศษที่บ่งบอกถึงความรู้สึกที่มีต่อชาติบ้านเมือง คำเรียกชนชาติจีนที่ว่า "ลูกหลานมังกร" และ "ผู้สืบเชื้อสายมังกร" มักกระตุ้นให้ชาวจีนเกิดความฮึมเหิมและความรักชาติได้ นอกจากนี้ในภาษาจีนก็มีนิทานสุภาษิตที่เกี่ยวกับมังกรอยู่เป็นจำนวนมาก นิทานเหล่านี้ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของคนจีนที่มีต่อมังกร้

วัฒนธรรมเต่า

ในภาษาจีนปัจจุบัน "เต่า" เป็นคำที่มีความหมายไม่ดีนัก เพราะคำนี้มักถูกนำไปเชื่อมโยงกับคำพูดในเชิงดูถูกดูแคลน แต่ในสังคมจีนสมัยโบราณนั้นกลับถือว่าเต่าเป็นสัตว์มงคล วัฒนธรรมจีนที่เกี่ยวข้องกับเต่าสามารถสืบย้อนไปถึงยุคดึกดำบรรพ์ หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเต่ามีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ก็คือ วัตถุโบราณสมัยบรรพกาลที่ขุดพบจำนวนมากมักมีรูปเต่าปรากฎอยู่ เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถอดอาหารและน้ำได้นาน เต่ามีอายุยืนยาวจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว ในวัฒนธรรมจีน เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีเสียงร้อง ไม่ต่อสู้หรือระรานสัตว์อื่น ดังนั้นจึงมีคนจำนวนหนึ่งที่ยกย่องในความรักสงบของเต่า นอกจากนี้คนจีนยังเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณรู้การณ์ล่วงหน้า จึงมีการนำเต่ามาใช้ในการเสี่ยงทายเหตุการณ์ และยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่เลี้ยงเต่าไว้ในบ้าน เนื่องจากเชื่อว่าการทำเช่นนี้สามารถหลบหลีกความชั่วร้ายและนำมาซึ่งความสงบสุข