วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第二十六课:明天咱们去看京剧吧! บทที่ 26: พรุ่งนี้พวกเราไปดูงิ้วกันเถอะ

第二十六课:明天咱们去看京剧吧!
บทที่ 26: พรุ่งนี้พวกเราไปดูงิ้วกันเถอะ

บทสนทนาที่ 1

  • zhè  xiē shì  shén  me
    这  些  是  什  么?
    ของพวกนี้คืออะไรครับ
  • zhè  xiē shì jīng jù liǎn pǔ nǐ kàn  guò jīng jù ma
    这  些  是 京  剧  脸  谱。你 看  过  京  剧 吗?
    ของพวกนี้คือหน้ากากงิ้วครับ คุณเคยดูงิ้วหรือเปล่า
  • méi  kàn  guò
    没  看  过。
    ไม่เคยดูครับ
  • míng tiān  zán  men  qù  kàn jīng jù ba
    明   天  咱  们  去  看  京  剧 吧!
    พรุ่งนี้เราไปดูงิ้วกันเถอะ
  • hǎo a jiào lǐ  méi tā men yì  qǐ qù ba
    好  啊!叫  李 梅  他  们  一 起 去 吧!
    ดีครับ เรียกหลี่ เหมยและคนอื่นๆ ไปด้วย

บทสนทนาที่ 2

  • piào mài guāng le
    票  卖  光  了。
    บัตรขายหมดแล้วค่ะ/ครับ
  • méi guān  xi wǒ men  kě yǐ qù  bié  de  dì fang
    没  关  系,我  们  可 以 去  别  的  地  方。
    ไม่เป็นไร พวกเราไปที่อื่นก็ได้
  • zán men  qù xiāng shān ba
    咱  们  去  香   山  吧!
    พวกเราไปภูเขาเซียงซานกันเถอะ
  • xiāng shān  tài yuǎn  le  qù yí  hé yuán zěn me yàng
    香   山  太  远  了。去 颐 和  园   怎  么  样?
    ภูเขาเซียงซานไกลเกินไป ไปอี๋เหอหยวน(พระราชวังฤดูร้อน)ดีกว่าไหม
  • wǒ jué de qù gù gōng gèng yǒu  yì  si
    我  觉  得  去 故  宫   更   有  意 思。
    ฉัน/ผมว่าไปกู้กง(พระราชวังต้องห้าม)น่าจะสนุกกว่า
  • zhēn má fan  kuài diǎnr jué  dìng ba
    真   麻  烦, 快  点儿  决  定  吧!
    ยุ่งจริงๆ เลย รีบตัดสินใจเข้าเถอะ


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 叫

คำว่า "叫"(jiào) ในบทนี้หมายถึงการสั่ง อนุญาตหรือบอกให้ใครทำกริยาหรือสิ่งใดเรื่องหนึ่ง อาจแปลความหมายเป็นภาษาไทยได้ว่า "เรียก/ให้" ความหมายของคำว่า "叫" ในบทนี้ไม่เหมือนกับความหมายในประโยค "我叫大川"(wǒ jiào dà chuān) ที่ได้เรียนมาก่อนหน้านี้ ซึ่งหมายถึง "มีชื่อว่า"

2. 胡曼他们

ในที่นี้ "胡曼他们"(hú màn tā men) หมายถึง ตัวหู มั่นเองและเพื่อนๆ ของหู มั่น

3. ……光了

"คำกริยา+光了"(guāng le) หมายถึง สิ่งๆ หนึ่งได้ถูกทำกริยาดังกล่าวจนหมดหรือไม่มีเหลือแล้ว เช่น "票卖光了" (piào mài guāng le, บัตรขายหมดแล้ว) ก็จะหมายถึง "票都卖完了" (piào dōu mài wán le, บัตรถูกขายหมดเกลี้ยงแล้ว)

4. 有意思

"有意思"(yǒu yì si) ในที่นี้หมายถึง "有趣" (yǒu qù, สนุก, น่าสนใจ) "意思"(yì si) ในความหมายนี้ไม่เหมือนกับคำว่า "意思" ในประโยค "什么意思" (shén me yì si, ความหมาย) และ "不好意思" (bù hǎo yì si, ขอโทษ, รู้สึกละอาย/ไม่สบายใจ) ที่ได้เรียนในบทก่อนๆ

5. 麻烦

คำว่า "麻烦"(má fan) ในประโยค "真麻烦"(zhēn má fan) เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ยุ่งยากหรือน่ารำคาญ แต่คำว่า "麻烦" ในประโยค "麻烦您"(má fan nín) นั้นเป็นคำกริยา หมายถึง รบกวน

เกร็ดวัฒนธรรม

อุปรากรจีน


ละครโบราณของจีนมีประวัติความเป็นมาช้านาน ละครในแต่ละท้องถิ่นของจีนต่างมีวิวัฒนาการของตนและค่อยๆ หล่อหลอมกลายเป็นละครที่มีลักษณะเฉพาะรวมกว่า 360 ชนิด ในจำนวนนี้อุปรากรจีนหรืองิ้ว(จิงจี้ว์) นับว่าเป็นศิลปะการละครที่โดดเด่นและมีบทบาทมากที่สุด จนได้รับการขนานนามให้เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดมรดกทางวัฒนธรรมของจีน

อุปรากรจีนมีกำเนิดมา 200 ปีแล้ว มีอยู่ช่วงหนึ่งเรียกชื่อว่า "ผิงจี้ว์" และ "กั๋วจี้ว์" ในระหว่างการพัฒนาอุปรากรจีน ได้มีการรับเอาชื่อของละครบางส่วน ท่วงทำนองเพลงและวิธีการแสดงจากละครคุนฉี่ว์และละครฉินเชียง ทั้งยังมีการซึมซับเอาท่วงทำนองของเพลงพื้นเมืองจำนวนหนึ่งไว้ หลอมรวมเป็นรูปแบบศิลปะและระบบการแสดงที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ

ศิลปะการแสดงบนเวทีของอุปรากรจีนมีแบบแผนที่เป็นมาตรฐาน ทั้งเสียงร้อง ท่วงทำนองเพลง เครื่องดนตรี การแสดง การแต่งหน้าและหน้ากากของตัวละครล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตัวละครในการแสดงอุปรากรจีนเรียกว่า "หังตั้ง" หรือ "เจวี๋ยเซ่อ" โดยแบ่งออกเป็นตัวละครในบทบาทต่างๆ ได้แก่ เซิง ตั้น จิ้ง มั่วและโฉ่ว "เซิง" คือตัวละครชาย "ตั้น" คือตัวละครหญิง "จิ้ง" คือตัวละครที่ใบหน้ามีลวดลาย "มั่ว" คือตัวละครสมทบที่เป็นชายวัยกลางคน ส่วน "โฉ่ว" คือตัวตลกที่มีนิสัยสนุกสนานร่าเริง

ตลอดประวัติศาสตร์การพัฒนาของอุปรากรจีน ได้มีศิลปินนักแสดงที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากหน้าหลายตา หนึ่งในจำนวนนั้นคือ เหมย หลานฟาง ปรมาจารย์แห่งวงการอุปรากรจีน เหมย หลานฟางได้รับยกย่องให้เป็น "นักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นรูปอวตารแห่งความงาม" เขาเป็นผู้สร้างสรรค์ศิลปะการแสดง "แนวเหมย" (เหมยไพ่) ซึ่งมีชื่อเสียงทั้งในจีนและต่างประเทศ จนมีการยกย่องให้ศิลปะการละครของจีนซึ่งมีศิลปะการแสดงแนวเหมยเป็นตัวแทน ศิลปะการละครของStanislavsky ชาวโซเวียต และศิลปะการละครของ Brecht ชาวเยอรมนีเป็นแบบแผนศิลปะการละครที่ยิ่งใหญ่ทั้งสามของโลก

เครื่องดนตรีโบราณของจีน่


ดนตรีจีนผ่านการบ่มเพาะและสร้างสรรค์มาเป็นเวลาช้านาน ชาวจีนประดิษฐ์เครื่องดนตรีอันมีเอกลักษณ์เฉพาะชนชาติขึ้นเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเครื่องดนตรีพื้นเมืองของจีนที่ใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลายมีมากกว่า 400 ชนิด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ เครื่องเป่า เครื่องดีด เครื่องสี และเครื่องตี

ประเภทที่ 1 เครื่องเป่า
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของจีนมีเกือบหนึ่งร้อยชนิด แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะที่ต่างกันคือ เครื่องเป่าที่มีลิ้น เครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้นและเครื่องเป่าที่มีเสียงเกิดจากลิ้นและเลา เครื่องเป่าที่สำคัญได้แก่ ปี่ ขลุ่ย สั่วน่า ก่วนและเซิง เป็นต้น

ประเภทที่ 2 เครื่องดีด
เครื่องดนตรีประเภทดีดของจีนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องดีดแนวขวาง เช่น พิณ เซ่อ เจิง และเครื่องดีดแนวตั้ง เช่น หร่วน ผีผา เย่ว์ฉิน หลิ่วฉิน ซานเสียน เป็นต้น

ประเภทที่ 3 เครื่องสี
เครื่องดนตรีประเภทสีของจีนเกิดหลังเครื่องเป่า เครื่องดีดและเครื่องตี เครื่องสีประเภทหลักของจีนคือหูฉิน เครื่องสีประเภทต่างๆ ของจีนในปัจจุบันต่างพัฒนามาจากหูฉิน ไม่ว่าจะเป็น เอ้อร์หู เกาหู จงหู ต้าถ่ง ซื่อหู ตีหู เก๋อหู จิงหู จิงเอ้อร์หู ป่านหู จุ้ยฉินและจุ้ยหู เป็นต้น

ประเภทที่ 4 เครื่องตี
ในบรรดาเครื่องดนตรีประเภทตีของจีน เปียนจง เปียนชิ่ง ฟางเสี่ยงและอวิ๋นหลัวเป็นเครื่องตีที่สามารถบรรเลงให้เป็นท่วงทำนองได้ ส่วนเครื่องตีชนิดอื่นส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องให้จังหวะหรือเครื่องดนตรีประกอบเพื่อเพิ่มสีสันเท่านั้น เครื่องตีให้จังหวะที่สำคัญได้แก่ กลอง ฆ้อง หนาวปั๋วและป่านปัง เป็นต้น

เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นมักใช้บรรเลงร่วมกัน กลายเป็นดนตรีพื้นเมืองจีนอันไพเราะเสนาะหูู