วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第二十七课:考的真不错!祝贺你! บทที่ 27: สอบได้ไม่เลวทีเดียว ยินดีด้วย

第二十七课:考的真不错!祝贺你!
บทที่ 27: สอบได้ไม่เลวทีเดียว ยินดีด้วย

บทสนทนาที่ 1

  • zhè  cì  kǎo  shì  chéng  jì zěn me  yàng
    这  次 考  试  成  绩 怎  么  样?
    ผลสอบคราวนี้เป็นยังไงบ้าง
  • hái kě yǐ  dé le yōu xiù
    还  可 以。得 了  优  秀。
    ก็พอใช้ครับ ได้คะแนนยอดเยี่ยม
  • kǎo  de zhēn bú cuò  zhù hè nǐ
    考  得  真  不  错! 祝  贺 你!
    สอบได้ไม่เลวเลยจริงๆ (สอบได้ดีจริงๆ) ยินดีกับคุณด้วยนะครับ

บทสนทนาที่ 2

  • āi zhēn chà jìn wǒ yǐ jing  hěn nǔ lì  zhǔn  bèi
    唉! 真  差  劲!我 已  经  很  努 力  准  备
    kǎo  shì le dàn shì chéng  jì  hái shì  bú  tài hǎo
    考  试 了, 但  是  成  绩 还  是  不  太  好。
    เฮ่อ แย่จริงๆ ผมขยันและเตรียมตัวสอบเต็มที่แล้ว แต่ผลสอบก็ยังไม่ค่อยดี
  • méi guān  xi  xià cì  hǎo  hǎo kǎo
    没  关  系,下  次  好  好  考!
    ไม่เป็นไรน่ะ คราวหน้าตั้งใจสอบใหม่
  • hǎo  de  xiè xiè
    好  的, 谢  谢。
    จังหวะไม่ดีเลยครับ เขาออกไปทานข้าวแล้ว

คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 得

"得" (dé) ที่ปรากฏในบทนี้หมายถึง "得到" (dé dào) หรือ "获得" (huò dé) ซึ่งแปลว่า "ได้รับ" ตัวอักษร "得" อ่านได้หลายเสียงและมีความหมายต่างกันไปตามเสียงที่อ่าน ดังนั้น คำว่า "得" (dé) ในบทนี้จึงมีความหมายต่างจากคำว่า "得" (de) ซึ่งเป็นคำช่วยโครงสร้างที่เคยเรียนมาในบทก่อนๆ

2. 上次/下次

"上次"(shàng cì) หมายถึง "ครั้งก่อน/ที่แล้ว" ส่วน "下次"(xià cì) หมายถึง "ครั้งหน้า/ต่อไป" คำว่า "下"(xià) ในที่นี้มีวิธีใช้เหมือนในบทที่ 5

3. 差劲้

"差劲"(chà jìn) ในบทนี้เป็นคำคุณศัพท์ที่หมายถึงใช้บรรยายความรู้สึกผิดหวัง แปลว่า แย่, ใช้ไม่ได้

เกร็ดวัฒนธรรม

พิธีและธรรมเนียมปฏิบัติ 5: ประเพณีการแต่งงานแบบโบราณของจีน

ก่อนงานแต่งงาน ครอบครัวของบ่าวสาวจะต้องตระเตรียมงานให้พร้อมล่วงหน้า เช่น แจ้งข่าวแก่เพื่อนฝูงญาติพี่น้องและเตรียมงานเลี้ยง เป็นต้น

ในวันงาน เจ้าบ่าวจะจัดเกี้ยวไปรับเจ้าสาวถึงบ้าน (ปัจจุบันมักใช้รถแต่งงานแทน โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้รถยนต์ราคาแพง) เกี้ยวรับเจ้าสาวหรือรถแต่งงานของจีนจะต้องมี "ขบวนรับเจ้าสาว" ตามไปด้วย โดยผู้ร่วม "ขบวนรับเจ้าสาว" โดยทั่วไปจะเป็นญาติของฝ่ายเจ้าบ่าว นอกจากขบวนรับเจ้าสาวแล้ว สมัยก่อนยังต้องมีวงดนตรีนำหน้าเกี้ยวรับเจ้าสาวด้วย เมื่อรับเจ้าสาวมาถึงบ้านเจ้าบ่าว บ่าวสาวจะต้องคำนับฟ้าดินและพ่อแม่ โดยบ่าวสาวจะยืนเคียงกันหน้าโต๊ะบูชาฟ้าดิน เจ้าบ่าวยืนด้านขวาและเจ้าสาวยืนด้านซ้าย ผู้ดำเนินงานจะประกาศให้บ่าวสาวเริ่มคำนับ "หนึ่งคำนับฟ้าดิน สองคำนับพ่อแม่ สามบ่าวสาวคำนับกันและกัน" จากนั้นชานเค่อหรือแม่สื่อก็จะประคองเจ้าสาวไปยังห้องหอ ตามธรรมเนียมจีนโบราณถือว่า บ่าวสาวจะเป็นสามีภรรยากันอย่างเป็นทางการต่อเมื่อได้คำนับฟ้าดินและพ่อแม่แล้ว ดังนั้นขั้นตอนการคำนับฟ้าดินและพ่อแม่จึงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในพิธีแต่งงาน ขั้นตอนต่อมาคือการส่งบ่าวสาวเข้าห้องหอ ระหว่างที่ส่งบ่าวสาวเข้าห้องหอนั้น ก็จะมีงานเลี้ยงที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจัดขึ้นเพื่อต้อนรับญาติสนิทมิตรสหายและเพื่อนบ้านที่มาร่วมแสดงความยินดี

เมื่องานเลี้ยงจบลงก็ยังไม่ถือว่าเสร็จสิ้นพิธี หลังจากงานเลี้ยงเพื่อนสนิทรุ่นเดียวกันหรือรุ่นน้องของเจ้าบ่าวจะพากันไปที่ห้องหอ เพื่อหยอกล้อหรืออาจถึงขั้นแกล้งคู่บ่าวสาว ตามธรรมเนียมจีนแล้ว กิจกรรมหยอกล้อบ่าวสาวถือว่าเป็นการอวยพรคู่บ่าวสาวอย่างหนึ่ง ดังนั้นคู่บ่าวสาวจะไม่ถือโกรธแม้ว่าจะถูกแกล้งหรือหยอกล้อก็ตาม เมื่อการหยอกล้อถึงห้องหอเสร็จสิ้นลง กลุ่มเพื่อนก็จะแยกย้ายกลับบ้าน บ่าวสาวจึงได้พักผ่อน

คำอวยพรของจีน่

คำอวยพรหมายถึงคำพูดแสดงความยินดีหรือให้พรในโอกาสเฉลิมฉลองต่างๆ ตัวอย่างคำอวยพรภาษาจีนที่นิยมใช้ในโอกาสต่างๆ ได้แก่

การแสดงความยินดีในโอกาสที่บุคคลมีผลงานหรือก้าวหน้าในหน้าที่การงานหรือการเรียน เราสามารถพูดแสดงความยินดีว่า "gōng xǐ nǐ!" หรือ "zhù hè nǐ!" ซึ่งมีความหมายว่า "ยินดีด้วย" หรือบางครั้งอาจพูดว่า "gōng xǐ gōng xǐ!" (ยินดีด้วย ยินดีด้วย) ตรงๆ ก็ได้

ในวันขึ้นปีใหม่หรือเทศกาลตรุษจีน เรามักอวยพรกันด้วยประโยคที่ว่า "xīn nián kuài lè!" (สวัสดีปีใหม่) หรือ "wàn shì rú yì!" (ขอให้สมความปรารถนาทุกประการ)

ในโอกาสงานเลี้ยงวันเกิด คำอวยพรที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ "shēng ri kuài lè!" (สุขสันต์วันเกิด) แต่หากต้องการอวยพรวันเกิดของผู้สูงอายุ ควรอวยพรว่า "Fú rú dōnghǎi, shòu bǐ nán shān." (ขอให้มีความสุขดั่งทะเลตะวันออกและมีอายุยืนดั่งภูเขาใต้)

ส่วนการอวยพรคู่บ่าวสาวในงานแต่งงาน นิยมอวยพรว่า "bái tóu dào lǎo" (ขอให้รักกันจนแก่จนเฒ่า), "zǎo shēng guì zǐ" (ขอให้มีลูกไวๆ), "tiān cháng dì jiǔ" (ขอให้รักกันตราบชั่วฟ้าดินสลาย) เป็นต้น