วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第二十八课:骑车别骑太快了! บทที่ 28: อย่าขี่จักรยานเร็วเกินไปล่ะ

第二十八课:骑车别骑太快了!
บทที่ 28: อย่าขี่จักรยานเร็วเกินไปล่ะ

บทสนทนาที่ 1

  • xiǎo xīn kuài ràng  kāi
    小  心! 快  让  开!
    ระวัง! หลีกทางด้วยครับ/ค่ะ!
  • duì bù qǐ wǒ de chē  zhá  huài le
    对  不 起,我  的  车  闸  坏  了。
    ขอโทษครับ/ค่ะ เบรกรถผม/ฉันเสีย
  • méi guān  xi  qí chē bié qí tài kuài le
    没  关  系,骑 车  别  骑 太 快  了!
    ไม่เป็นไรครับ อย่าขี่รถเร็วเกินไปก็แล้วกัน
  • hǎo  de shí  zài  hěn bào  qiàn
    好  的, 实 在  很  抱  歉!
    ครับ/ค่ะ ขอโทษจริงๆ ครับ/ค่ะ

บทสนทนาที่ 2

  • nín  zěn me le
    您  怎  么 了?
    อาจารย์เป็นอะไรไปครับ
  • méi shén me  gāng  cái  chōu le liǎng zhī yān
    没  什  么, 刚  才  抽  了  两  支  烟,
    yǒu  diǎnr ké sou
    有  点儿 咳  嗽。
    ไม่เป็นไร เมื่อครู่ผมสูบบุหรี่ไปสองมวน ก็เลยไอนิดหน่อย
  • nín bié  chōu yān le duì shēn  tǐ  bù hǎo
    您  别  抽  烟  了,对  身  体 不  好。
    อาจารย์อย่าสูบบุหรี่เลยครับ ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • xiè xie wǒ  jǐn  liàng shǎo chōu diǎnr
    谢  谢, 我  尽  量  少  抽  点儿。
    ขอบคุณครับ ผมจะพยายามสูบให้น้อยลง


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. 快让开!

"快让开!"(kuài ràng kāi) เป็นประโยคที่ใช้เมื่อต้องการให้คนหลีกทางโดยเร็ว คำว่า "开"(kāi) ในประโยคนี้หมายถึง "(หลบ/หลีก)ออกไป" ซึ่งต่างจากความหมายที่เคยเรียนมาแล้วก่อนหน้านี้

2. 来不及

"来不及" (lái bù jí) หมายถึง ไม่สามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ทันเนื่องจากมีระยะเวลาสั้นเกินไป หรืออาจพูดอีกอย่างได้ว่า "没来得及" (méi lái de jí)

3. 别……

เราสามารถใช้คำว่า "别"(bié) ตามด้วยคำกริยาในการตักเตือนคู่สนทนาไม่ให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

4. คำช่วยน้ำเสียง "了"

การใช้คำว่า "了"(le) วางไว้ท้ายประโยค "别骑太快了"(bié qí tài kuài le) เป็นการทำให้น้ำเสียงของประโยคคำสั่งนี้อ่อนลง

5. ……对……不好

"……对……不好"(duì ... bù hǎo) หมายถึง (สิ่งๆ หนึ่งหรือการกระทำอย่างหนึ่ง)ทำให้เกิดผลเสียหรือสิ่งไม่ดีต่ออีกสิ่งหนึ่งหรือบุคคลหนึ่ง

เกร็ดวัฒนธรรม

วิธีคิดของคนจีน

โดยทั่วไปคนจีนจะมีวิธีคิดพิจารณาเรื่องราวต่างๆ โดย "ยึดทางสายกลาง" "เอกภาพ" และ "การแฝงเร้น"

คนจีนยึดทางสายกลางและให้ความสำคัญกับสันติภาพ ดังนั้นในการจัดการกับปัญหาต่างๆ คนจีนจะสามารถปรับ "ระดับ" การจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือไม่จัดการปัญหาแบบสุดขั้วหรือโน้มเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป การจัดการปัญหาด้วยหลัก"ยึดทางสายกลาง"นี้ ไม่ได้เป็นการจัดการปัญหาที่ขาดความกระตือรือร้นหรือความคิดสร้างสรรค์ หากแต่เป็นการเข้าถึงและการปรับความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างปัจจัยต่างๆ ของปัญหาให้กลับคืนสู่ภาวะสมดุล

คนจีนจะมองปัญหาต่างๆ โดยภาพรวมและให้ความสำคัญกับเอกภาพ องค์รวมและความกลมกลืน คนจีนมักมองว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์รวมและไม่ยินดีที่จะแยกตัวออกมาเป็นเอกเทศ ดังจะเห็นได้จากความเป็นเอกภาพของชนชาติจีน และลำดับการเรียงชื่อแซ่ตามธรรมเนียมจีนโบราณซึ่งจะขึ้นต้นด้วยแซ่ ตามด้วยตัวอักษรแทนชื่อลำดับรุ่นในตระกูล จากนั้นจึงเป็นชื่อตัว นอกจากนี้ยังมีลักษณะอื่นๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับเอกภาพของคนจีน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับกลุ่มหรือสังคม ลำดับการบอกที่อยู่หรือสถานที่และการบอกเวลาซึ่งจะเรียงลำดับจากหน่วยใหญ่ไปสู่หน่วยย่อยเสมอ การบอกที่อยู่หรือสถานที่จะเรียงลำดับจากประเทศ มณฑล อำเภอ ตำบลและหมู่บ้านตามลำดับ ส่วนการบอกเวลาจะเรียงลำดับจากปี เดือน วัน ชั่วโมง นาทีและวินาทีตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ หากความคิดหรือการกระทำของใครผิดแผกไปจากกระแสสังคมมาก คนนั้นก็จะถูกมองว่าเป็นพวกนอกคอก ในการคิดพิจารณาเรื่องราวต่างๆ นอกจากจะยึดทางสายกลางแล้ว คนจีนยังมองเรื่องราวต่างๆ ในภาพรวมด้วย นอกจากนี้คนจีนยังเชื่อในสัญชาตญาณและประสบการณ์ของตน ดังนั้นการคิดพิจารณาบนพื้นฐานของความรู้สึกจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาปัญหาของคนจีน

วิธีคิดของคนจีนยังมีลักษณะเด่นอีกประการหนึ่ง คือ "การแฝงเร้น" คนจีนเคยชินกับการใช้คำเปรียบเปรย การบอกเป็นนัย และการใช้สิ่งต่างๆ มาเป็นสัญลักษณ์แทนความรู้สึกภายใน ดังปรากฎในสำนวนสุภาษิตต่างๆ ของจีน เช่น “Jiāngshān yì gǎi, běnxìng nán yí” (เปลี่ยนทางภูเขาและสายน้ำนั้นง่าย แต่เปลี่ยนนิสัยคนนั้นยาก), "Mǎ shàn bèi rén qí, rén shàn bèi rén qī" (ม้าดีถูกขี่ คนดีถูกรังแก) เป็นต้น ซึ่งจริงๆ แล้วคำว่า "ภูเขา" "ม้า" "น้ำ" และ "คน" ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด การพูดแฝงนัยและการใช้สัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆ ของคนจีนจึงเป็นสิ่งที่น่าค้นหายิ่งนัก