วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

第七课:请问去天安门怎么走? บทที่ 7: ขอถามหน่อย ไปจตุรัสเทียนอันเหมินยังไง

第七课:请问去天安门怎么走?
บทที่ 7: ขอถามหน่อย ไปจตุรัสเทียนอันเหมินยังไง

บทสนทนาที่ 1

  • qǐnɡ wèn qù tiān ān mén zěn me zǒu
    请  问  去  天  安  门  怎  么  走?
    ขอถามหน่อยครับ จัตุรัสเทียนอันเหมินไปยังไงครับ
  • zài qián miɑn de lù kǒu chénɡ dì tiě yī hào xiàn
    在  前  面  的 路 口   乘  地 铁 一 号  线,
    zài tiān ān mén zhàn xià chē jiù dào le
    在  天  安  门  站  下  车  就 到  了。
    นั่งรถไฟใต้ดินสาย 1 ตรงปากทางด้านหน้านั้น แล้วลงที่สถานี "เทียนอันเหมิน" ก็ถึงแล้วค่ะ

บทสนทนาที่ 2

  • qǐnɡ wèn zuò ɡōnɡ ɡònɡ qì chē qù dònɡ wù yuán zěn me zǒu
    请 问  坐  公 共 汽 车  去  动 物 园  怎  么  走?
    ขอถามหน่อยครับ ไปสวนสัตว์จะต้องนั่งเมล์สายอะไรครับ
  • chénɡ  liù sān èr lù ɡōnɡ ɡònɡ qì chē
    乘 632(六 三 二)路  公  共  汽 车
    dào dònɡ wù yuán zhàn xià chē jiù ké yǐ  le
    到  动  物  园  站  下  车  就 可 以 了。
    นั่งสาย 632 ไปลงที่ป้าย "ต้งอู้หยวน" (สวนสัตว์) ก็ถึงแล้ว
  • qǐnɡ wèn zài nǎ ér zuò chē
    请  问  在  哪 儿  坐  车?
    แล้วต้องไปขึ้นรถที่ไหนครับ
  • jiù zài zhè ér
    就 在  这 儿。
    ก็ขึ้นตรงนี้แหละ
  • xiè xie
    谢  谢!
    ขอบคุณครับ


คำอธิบายการใช้ภาษา

1. คำช่วยโครงสร้าง "的"

"的"(de) นอกจากจะเป็นคำเชื่อมระหว่างส่วนขยายกับคำหลักเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแล้ว เรายังใช้ "的" เป็นคำเชื่อมระหว่างคำหรือกลุ่มคำบรรยายกับคำหลักที่ต้องการบรรยายอีกด้วย เช่น "一些给我侄子的礼物"(yī xiē gěi wǒ zhí zi de lǐ wù) (ของขวัญจำนวนหนึ่งที่จะให้หลานของฉัน) กลุ่มคำที่อยู่หน้า "的" ในวลีนี้ทำหน้าที่บรรยายคำหลักคือ "礼物"(lǐ wù) โดยไม่ได้แสดงความหมายของความเป็นเจ้าของแต่อย่างใด

2. 下

"下"(xià) ในบทนี้เป็นคำกริยา หมายถึง "ลง" เป็นคำตรงข้ามของ "上" (shàng, ขึ้น) แต่คำว่า "上" และ "下" ที่ปรากฏในบทที่ 5 นั้นมีความหมายว่า "上一个" (shàng yī gè, ก่อนหน้านี้) และ "下一个" (xià yī gè, ถัดไป, ต่อไป)

3. 车

"车"(chē, รถ) เป็นคำเรียกยานพาหนะแบบรวมๆ (แต่ไม่รวมรถไฟใต้ดิน รถไฟลอยฟ้าและรถไฟ ซึ่งจะมีชื่อเรียกเฉพาะ) คำว่า "车" หากปรากฏโดยลำพัง มักจะหมายถึง "รถยนต์" คำกริยาที่ใช้กับยานพาหนะต่างๆ ได้แก่
 1) 开车(kāi chē)— ขับรถยนต์
 2) 坐车(zuò chē)— นั่งรถประจำทาง/รถยนต์
 3) 骑车(qí chē)— ขี่จักรยาน/จักรยานยนต์
 4) 打车(dǎ chē)— นั่งแท็กซี่

เกร็ดวัฒนธรรม

สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง

จัตุรัสเทียนอันเหมิน

จัตุรัสเทียนอันเหมินในปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 440,000 ตารางเมตร ถือเป็นจัตุรัสกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลางจัตุรัสเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วีรชนและเสาธง ทุกวันจะมีผู้คนนับไม่ถ้วนมารอชมพิธีชักธงขึ้นและลงจากยอดเสา ด้านเหนือของจัตุรัสเป็นหอประตูเทียนอันเหมิน ด้านใต้ของจัตุรัสเป็นหอรำลึกท่านประธานเหมา ด้านตะวันออกเป็นพิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จีน ส่วนด้านตะวันตกเป็นที่ตั้งของมหาศาลาประชาคม สถานที่สำคัญเหล่านี้ล้วนเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน

กู้กง

กู้กงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "จื่อจิ้นเฉิง" หรือพระราชวังต้องห้ามเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1420 ในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นพระราชวังประจำสองราชวงศ์ ได้แก่ราชวงศ์หมิงและชิง กู้กงเป็นพระราชวังที่ประทับและว่าราชการของราชสำนักที่ใหญ่ที่สุดในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง กู้กงสร้างอยู่บนเส้นแกนแนวเหนือจรดใต้เส้นกลางของเมือง โดยมีการขุดคูเมืองลึก 6 เมตรและสร้างกำแพงสูง 10 เมตรล้อมรอบบริเวณพระราชวังไว้ กู้กงเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างอย่างสง่างามและยิ่งใหญ่ ภายในพระราชวังประกอบด้วยห้องต่างๆ กว่า 9,000 ห้อง ห้องเหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างที่ทำจากไม้ หลังคากระเบื้องแก้วสีเหลือง ฐานหินสีขาวอมเขียว และประดับประดาด้วยภาพสีเหลืองทองอร่าม นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักรูปมังกรซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิตามพระที่นั่งต่างๆ ตรงตำแหน่งที่เห็นเด่นชัดอีกด้วย พระที่นั่งภายในพระราชวังทั้งหมดสร้างอยู่บนแนวเส้นแกนกลางจากทิศเหนือจรดใต้ โดยปีกของพระที่นั่งแผ่ออกไปสองข้าง แลดูเป็นแนวตรงจากเหนือจรดใต้และมีความสมดุลทั้งสองข้างซ้ายขวา บนแนวเส้นแกนกลางซึ่งปูด้วยหินอ่อนสีขาวเป็นทางเชื่อมระหว่างพระที่นั่งสำคัญภายในพระราชวัง ทางเชื่อมนี้สร้างไว้สำหรับเป็นทางเดินของจักรพรรดิเท่านั้น

หอรำลึกท่านประธานเหมา
ประธานเหมา เจ๋อตง(1893-1976) เป็นผู้สถาปนาและผู้นำคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน กองทัพปลดแอกประชาชนจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีน หอรำลึกท่านประธานเหมาตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของอนุสาวรีย์วีรชน อยู่บนเส้นแกนกลางของอนุสาวรีย์วีรชนและกู้กง ภายในได้มีการจัดวางร่างของประธานเหมา เจ๋อตงไว้ในโลงแก้วคริสตัลซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของหอที่ระลึก เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มาเยี่ยมชมและแสดงความเคารพ

สัญญาณมือของเลข 1-10

ในชีวิตประจำวัน บ่อยครั้งที่เราใช้สัญญาณมือในการสื่อสารกับผู้อื่น สำหรับในประเทศจีน คนทั่วไปจะใช้สัญญาณมือที่สังคมได้กำหนดขึ้นใช้ร่วมกันมาแสดงจำนวนตัวเลข 1-10