第九课:我喜欢游泳。
บทที่ 9: ฉันชอบว่ายน้ำ
บทสนทนาที่ 1
- wǒ xǐ huɑn yóu yǒnɡ nǐ yǒu shén me ài hào我 喜 欢 游 泳。 你 有 什 么 爱 好?ผมชอบว่ายน้ำ แล้วคุณมีงานอดิเรกอะไรครับ
- wǒ bù xǐ huɑn yóu yǒnɡ wǒ xǐ huɑn liàn tài jí quán我 不 喜 欢 游 泳。 我 喜 欢 练 太 极 拳。ผมไม่ชอบว่ายน้ำ ผมชอบฝึกรำไท้เก๊ก
บทสนทนาที่ 2
- nǐ zài huà huà mɑ你 在 画 画 吗?คุณวาดรูปอยู่เหรอครับ
- bù wǒ zài liàn shū fǎ不。我 在 练 书 法。高 强, 你 平 时 喜 欢 做 什 么?เปล่า ผมกำลังฝึกเขียนพู่กันอยู่ เกา เฉียง ปกติคุณชอบทำอะไรครับ
- wǒ xǐ huɑn huá bīnɡ pá shān hé dǎ lán qiú我 喜 欢 滑 冰、 爬 山 和 打 篮 球。ผมชอบเล่นสเกต ปีนเขาแล้วก็เล่นบาสเกตบอล
คำอธิบายการใช้ภาษา
1. 在ี่
"在"(zài) นอกจากจะเป็นคำกริยาแล้ว ยังเป็นคำวิเศษณ์ด้วย หมายถึง "กำลัง" ซึ่งมีความหมายตรงกับวลี "正在" (zhèng zài, ความหมายของ "正"(zhèng) ในวลีนี้เหมือนกับคำว่า "正" ในบทที่ 6)
2. 画画
คำว่า "画画" (huà huà)มีตัวอักษร "画"(huà) ซ้ำกันสองตัว แต่ละตัวทำหน้าที่ต่างกันคือ "画" ตัวแรกเป็นคำกริยา หมายถึง "วาด" ส่วน "画" ตัวที่สองเป็นคำนาม หมายถึง "รูปภาพ, ภาพวาด" เมื่อมารวมกันเป็นคำว่า "画画" ถือเป็นคำกริยา มีความหมายว่า "วาดรูป, วาดภาพ"
3. 打
"打"(dǎ) เป็นคำกริยาที่มีหลายความหมาย แต่ในบทนี้ "打" มีความหมายว่า "เล่น" (กีฬาที่ใช้มือเล่นและใช้ลูกบอล)
เกร็ดวัฒนธรรม
หมากรุกจีน (หมากล้อมและหมากเซี่ยงฉี)
หมากรุกจีนถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคลึกล้ำและศิลปะอันเหนือชั้น จึงจัดอยู่ในแนวหน้าของวัฒนธรรมหมากรุกโลก หมากล้อมเป็นเกมส์หมากรุกที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปี เกมส์หมากล้อมคิดค้นขึ้นโดยผู้ใช้แรงงานชาวจีนในสมัยโบราณ ต่อมากลายเป็นเกมส์หมากรุกประจำชาติและถือเป็นวัฒนธรรมโบราณอันล้ำค่าอย่างหนึ่งของจีน ศิลปะสี่แขนงใหญ่ของจีนโบราณ อันประกอบด้วย ขิม หมากรุก ศิลปะการเขียนตัวอักษรจีนและการวาดภาพ มีต้นกำเนิดและประวัติความเป็นมายาวนาน หมากรุกที่กล่าวถึงในศิลปะสี่แขนงใหญ่นี้ก็คือหมากล้อมนั่นเอง หมากล้อมไม่เพียงแต่เป็นศิลปะแขนงหนึ่งเท่านั้น แต่ยังถือเป็นเกมส์กีฬาการแข่งขันอย่างหนึ่งด้วย
หมากล้อมมีกติการการเล่นไม่ซับซ้อนและมีพื้นที่ในการวางหมากมาก แต่สิ่งนี้กลับทำให้การเปลี่ยนรูปเกมส์ซับซ้อนอย่างยิ่ง ข้อนี้เองที่ถือเป็นมนต์เสน่ห์ของหมากล้อม หมากล้อมหนึ่งเกมส์จะใช้เวลาในการเล่นมากกว่าหมากเซี่ยงฉี เกมส์ที่เล่นจบเร็วใช้เวลาเพียงสิบห้านาที ที่เล่นยืดเยื้ออาจใช้เวลาหลายวัน แต่โดยมากหมากล้อมเกมส์หนึ่งจะใช้เวลาเล่นประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง
ปัจจุบันหมากล้อมได้แพร่หลายไปสู่ทั่วโลก ในเอเชียมีผู้เล่นหมากล้อมนับล้านคน ส่วนในยุโรปและอเมริกาก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เล่นหมากล้อมเป็น
หมากเซี่ยงฉีเป็นเกมส์หมากรุกอีกชนิดหนึ่งที่มีกำเนิดในประเทศจีน หมากเซี่ยงฉีเป็นเกมส์ลับสมองเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนาน การเล่นหมากเซี่ยงฉีทำให้ผู้เล่นได้ซึมซับปรัชญาการดำเนินชีวิต พัฒนาทักษะประสาทสัมผัสและความสามารถในการขบคิดปัญหา
ตัวหมากของหมากเซี่ยงฉีมี 7 ชนิด ประกอบด้วย เจียง (ไสว่) หรือแม่ทัพ ซื่อ(ซื่อ) หรือองครักษ์ เซี่ยง (เซี่ยง) หรือช้าง หม่าหรือม้า เชอหรือรถ เพ่าหรือปืนใหญ่ และปิง (จู๋) หรือเบี้ย (หากใช้เป็นชื่อภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า ตี่ สือ เฉีย เบ๊ กือ เผ่าและจุกตามลำดับ) หมากแต่ละตัวมีฐานะและกฎการเดินต่างกัน ส่วนผลแพ้ชนะจะขึ้นอยู่กับการอยู่รอดของตัวแม่ทัพ
ในภาษาจีนมีสำนวนที่เกี่ยวข้องกับการเล่นหมากรุกจำนวนมาก เช่น "dāng jú zhě mí, páng guān zhě qīng" (คนที่อยู่ในเกมส์หรือสถานการณ์จะมองไม่ทะลุ แต่คนที่อยู่นอกเกมส์หรือนอกสถานการณ์จะมองได้ทะลุปรุโปร่ง) "jǔ qí bú dìng" (ลังเลไม่รู้จะวางหมากอย่างไร) "zhuān xīn zhì zhì" (ใจจดใจจ่อ) "qí féng duìshǒu" (พบคู่ต่อสู้ที่ฝีมือสูสีกัน) "rénshēng rú qí" (ชีวิตคนเปรียบได้กับเกมส์หมากรุก) "shì shì rú qí" (เหตุต่างๆ ในโลกเปรียบเหมือนเกมส์หมากรุก) "cháng'ān qíjú" (สถานการณ์บ้านเมืองสั่นคลอน) "zhì guó rú yì" (การปกครองประเทศเหมือนกับการเล่นหมาก) เป็นต้น
ศิลปะการเขียนพู่กันจีนและรัตนะทั้งสี่ในห้องหนังสือ
การเขียนพู่กันจีนเป็นศิลปะอันงดงามที่สืบทอดมาแต่โบราณของจีน ศิลปะการรังสรรค์ลายเส้นชนิดนี้ใช้พู่กันเป็นอุปกรณ์วาดลวดลายออกมาเป็นตัวอักษรจีน ศิลปะการเขียนพู่กันจีนมีกำเนิดในสมัยราชวงศ์ซางเมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว ศิลปะชนิดนี้ไม่เพียงแต่มีคุณค่าด้านการใช้งานที่กว้างขวาง ขณะเดียวกันยังมีคุณค่าด้านความงามที่ไม่ด้อยไปกว่าศิลปะแขนงอื่น ศิลปะการเขียนพู่กันจีนมีลายเส้นและเค้าโครงที่เรียบง่าย แต่กลับสามารถสะท้อนให้เห็นความคิดอันซับซ้อนและหลากหลายของผู้เขียน ทั้งยังทำให้ผู้ชมได้สัมผัสและดื่มด่ำกับความงามอันเรียบง่ายด้วย ศิลปะแขนงนี้สะท้อนให้เห็นกฎเกณฑ์พื้นฐาน "เอกภาพแห่งความแตกต่าง" ของสรรพสิ่งและยังสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณ อุปนิสัย การเรียนรู้และการเพาะบ่มทางจิตใจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์อีกด้วย
ในระยะเริ่มแรก (ตั้งแต่ราชวงศ์ซาง ราชวงศ์ฮั่น จนถึงยุคสามก๊ก) งานศิลปะแขนงนี้มีวิวัฒนาการตามวิวัฒนาการของตัวอักษรจีนเป็นลำดับดังนี้ ตัวอักษร เจี่ยกู่ตัวอักษรโบราณ(ตัวอักษรจิน) ตัวอักษรต้าจ้วน(ตัวอักษรโจ้ว) ตัวอักษรเสี่ยวจ้วน ตัวอักษรลี่ (ปาเฟิน) ตัวอักษรเฉ่าซู ตัวอักษรสิงซูและตัวอักษรเจิงซู
"เหวินฝางซื่อป่าว" wénfángsìbǎo หรือรัตนะทั้งสี่ในห้องหนังสือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวจีน "เหวินฝาง" wénfáng ก็คือ "ซูฝาง" shūfáng หรือห้องหนังสือ ชาวจีนสมัยโบราณเรียกอุปกรณ์เครื่องเขียนที่ใช้ในห้องหนังสือสี่ชนิด ได้แก่ พู่กัน หมึก กระดาษและที่ฝนหมึกว่า "เหวินฝางซื่อป่าว"
(1) "ปี่" bǐ ก็คือ "เหมาปี่" máobǐ (พู่กัน) เป็นเครื่องเขียนที่มีเอกลัษณ์เฉพาะของจีน เนื่องจากส่วนพู่ของพู่กันทำจากขนแพะ ขนกระต่ายหรือขนของอีเห็น จึงเรียกเครื่องเขียนชนิดนี้ว่า "เหมาปี่" หรือเครื่องเขียนที่ทำจากขนสัตว์ ในสมัยชุนชิวก็มีการประดิษฐ์ "เหมาปี่" ขึ้นใช้แล้ว
(2) "ม่อ" mò หมายถึงหมึกสีดำที่ใช้ในการเขียนหนังสือหรือวาดภาพ ส่วนใหญ่ทำจากเขม่าควันที่เกิดจากการเผาไม้สน
(3) "จื่อ" zhǐ หรือกระดาษ กระดาษเป็นหนึ่งในสี่สิ่งประดิษฐ์สำคัญของจีนโบราณ ภายหลังสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง ได้มีการผลิต "เซวียนจื่อ" xuānzhǐ ซึ่งเป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูงขึ้น เซวียนจื่อมีคุณสมบัติพิเศษคือ สีกระดาษขาวสะอาด เนื้อกระดาษละเอียด นุ่มและเบา กระจายน้ำหมึกได้สม่ำเสมอและชัดเจน ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย
(4) "เยี่ยน" yàn หรือที่ฝนหมึกมีความเป็นมายาวนานถึง 5,000 ปี พบครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น จากนั้น "เยี่ยน" ก็ค่อยๆ เข้ามามีบทบาทในศิลปะการเขียนตัวอักษรจีนและการวาดภาพแบบโบราณ