เสียงของพยัญชนะ
- พยัญชนะที่เป็น สิถิลอโฆสะ มีเสียงเบากว่า ทุกพยัญชนะ
- พยัญชนะที่เป็น ธนิตอโฆสะ มีเสียงหนักกว่า สิถิลอโฆสะ
- พยัญชนะที่เป็น สิถิลโฆสะ มีเสียงดังกว่า ธนิตอโฆสะ
- พยัญชนะที่เป็น ธนิตโฆสะ มีเสียงก้องกว่า สิถิลโฆสะ
พยัญชนะ 4 ตัว คือ ยฺ รฺ ลฺ วฺ ถ้าอยู่หลังพยัญชนะอื่น ออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวหน้า เช่น ทฺวารานิ ภทฺรานิ
สฺ มีสำเนียงเป็น อุสุมะ ไม่มีคำเทียบในภาษาของเรา
หฺ ถ้าอยู่หน้าพยัญชนะอื่น ก็ทำให้สระที่อยู่ข้างหน้าตน ออกเสียงมีลมมากขึ้น เหมือนคำว่า พฺรหฺม
หฺ ถ้ามีพยัญชนะ 8 ตัว คือ ญฺ ณฺ นฺ มฺ ยฺ ลฺ วฺ ฬฺ นำหน้า หฺ ก็มีสำเนียงเข้าผสมกับพยัญชนะนั้น เช่น มุฬฺโห เป็นต้น
หฺ ถ้ามีพยัญชนะ 8 ตัว คือ ญฺ ณฺ นฺ มฺ ยฺ ลฺ วฺ ฬฺ นำหน้า หฺ ก็มีสำเนียงเข้าผสมกับพยัญชนะนั้น เช่น มุฬฺโห เป็นต้น
พยัญชนะที่เป็น อัฑฒสระ คือ ยฺ รฺ ลฺ วฺ สฺ หฺ ฬฺ 7 ตัวนี้มีเสียงกึ่งสระ คือ กึ่งมาตรา
เพราะพยัญชนะเหล่านี้ บางตัวก็รวมลงในสระเดียวกันกับพยัญชนะอื่น ออกเสียงพร้อมกันได้
บางตัวแม้เป็นตัวสะกด ก็คงออกเสียงได้หน่อยหนึ่ง พอให้รู้ได้ว่าตัวนั้นสะกด
เพราะพยัญชนะเหล่านี้ บางตัวก็รวมลงในสระเดียวกันกับพยัญชนะอื่น ออกเสียงพร้อมกันได้
บางตัวแม้เป็นตัวสะกด ก็คงออกเสียงได้หน่อยหนึ่ง พอให้รู้ได้ว่าตัวนั้นสะกด