วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เสียงของอักขระ

มาตรา
รัสสสระ มาตราเดียว  ทีฆสระ 2 มาตรา  สระที่มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลัง 3 มาตรา  พยัญชนะทุกตัว กึ่งมาตรา

โฆสะ อโฆสะ
พยัญชนะที่มีเสียงก้อง เรียกว่า โฆสะ  ที่มีเสียงไม่ก้อง เรียกว่า อโฆสะ
พยัญชนะที่ 1 ที่ 2 ในวรรคทั้ง 5  คือ  กฺ ขฺ,  จฺ ฉฺ,  ฏฺ ฐฺ,  ตฺ ถฺ,  ปฺ ผฺ  และ สฺ   11 ตัวนี้เป็น อโฆสะ
พยัญชนะที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ในวรรคทั้ง 5  คือ  คฺ ฆฺ งฺ,  ฌฺ ชฺ ญฺ,  ฑฺ ฒฺ ณฺ,  ทฺ ธฺ นฺ,  พฺ ภฺ มฺ  และ ยฺ  รฺ  ลฺ  วฺ  หฺ  ฬฺ   21 ตัวนี้เป็น โฆสะ
นิคคหิต  นักปราชญ์ผู้รู้ศัพทศาสตร์ประสงค์เป็น โฆสะ  
ส่วนนักปราชญ์ฝ่ายศาสนาประสงค์เป็น โฆสาโฆสวิมุตติ  พ้นจากโฆสะและอโฆสะ
เสียงนิคคหิตนี้ อ่านตามวิธีภาษาบาลี มีเสียงเหมือน งฺ สะกด   อ่านตามวิธีสันสกฤต มีเสียงเหมือน มฺ สะกด
สิถิล ธนิต
  • พยัญชนะที่ถูกฐานตัวเองหย่อน ๆ ชื่อ สิถิล
  • พยัญชนะที่ถูกฐานของตนหนัก บันลือเสียงดัง ชื่อ ธนิต
  • พยัญชนะที่ 1 ที่ 3  ในวรรคทั้ง 5  เป็น สิถิล
  • พยัญชนะที่ 2 ที่ 4  ในวรรคทั้ง 5  เป็น ธนิต

ในคัมภีร์กัจจายนเภทแสดงไว้ว่า พยัญชนะที่สุดวรรค 5 ตัว ก็เป็น สิถิล  แต่ในคัมภีร์อื่นไม่ได้กล่าวไว้
พยัญชนะอวรรค ไม่จัดเป็นสิถิล ธนิต