วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พยัญชนะ

อักขระที่เหลือจากสระนั้น 33 ตัว มี กฺ เป็นต้น มีนิคคหิตเป็นที่สุด ชื่อ พยัญชนะ
พยัญชนะ แปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฏ
พยัญชนะเหล่านี้ชื่อว่า นิสสิต  เพราะอาศัยสระจึงออกเสียงได้ และทำเนื้อความของสระให้ปรากฏชัดขึ้น  เช่น  ไอ ไอ๋ อา  ออกเสียงว่า “ไปไหนมา”
พยัญชนะ 33 ตัวนี้ จัดเป็น 2 พวก คือ  วรรค และ  อวรรค
พยัญชนะที่จัดเป็นพวกเดียวกันตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง ชื่อว่า วรรค   มี 25 ตัว  คือ
กฺ    ขฺ    คฺ    ฆฺ    งฺ       5 ตัวนี้ เรียกว่า วรรค
จฺ    ฉฺ    ชฺ    ฌฺ    ญ     5 ตัวนี้ เรียกว่า วรรค
ฏฺ    ฐฺ    ฑฺ    ฒฺ    ณฺ    5 ตัวนี้ เรียกว่า  วรรค
ตฺ    ถฺ    ทฺ    ธฺ    นฺ       5 ตัวนี้ เรียกว่า วรรค
ปฺ    ผฺ    พฺ    ภฺ    มฺ      5 ตัวนี้ เรียกว่า  วรรค
พยัญชนะที่ไม่เป็นพวกเดียวกัน ตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง ชื่อว่า อวรรค  มี 8 ตัว  คือ  ยฺ  รฺ  ลฺ  วฺ  สฺ  หฺ  ฬฺ ํ
พยัญชนะคือ  ํ  ตามศาสนโวหาร เรียกว่า นิคคหิต   ส่วนในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ เรียกว่า อนุสาร
นิคคหิต แปลว่า กดสระ หรือ กดกรณ์ (กรณ์คืออวัยวะที่ทำเสียง)   เวลาเมื่อจะว่า ไม่ต้องอ้าปากเกินกว่าปกติ เหมือนว่าทีฆะ
อนุสาร แปลว่า ไปตามสระ  เพราะต้องไปตามหลังรัสสสระ คือ  อ  อิ  อุ   เช่น  อหํ  เสตุํ  อกาสึ

เรื่องพยัญชนะสิ่งที่ต้องจำคือแต่ละวรรคและเศษวรรคมีพยัญชนะอะไรบ้าง เป็นลำดับที่เท่าไหร่ในวรรค เป็นต้น ข้อสอบในส่วนนี้มักจะถามตรงๆ ที่พึงระวังอีกเรื่องคือภาษาบาลีไม่มีพยัญชนะ ศ ษ ฮ
พยัญชนะในภาษาบาลี
พยัญชนะ ในภาษาบาลีมีทั้งสิ้น 33 ตัว ทุกตัวจัดเป็นพยัญชนะใบ้ (มูคะ) เป็น นิสสิต คือไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตนเอง
จะต้องประกอบเข้ากับสระเสียก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้ แบ่งพยัญชนะออกเป็น 2 กลุ่ม
คือ พยัญชนะวรรค และพยัญชนะอวรรค  หรือเศษวรรค
จากตารางเราจะเห็นว่า พยัญชนะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. พยัญชนะวรรค ได้แก่ พยัญชนะที่มีฐานกรณ์ที่เกิดแบบเดียวกัน โดยสามารถจัดเป็นหมวดหมู่หรือวรรคตามฐานกรณ์ที่เกิดได้เป็น 5 วรรคๆ ละ 5 ตัว รวมเป็นพยัญชนะวรรค 25 ตัว ดังนี้
  • วรรค ก           ได้แก่    กฺ     ขฺ     คฺ      ฆฺ       งฺ
  • วรรค จ           ได้แก่    จฺ     ฉฺ     ชฺ      ฌฺ      ญฺ
  • วรรค ฏ           ได้แก่    ฏฺ     ฐฺ     ฑฺ      ฒฺ      ณฺ
  • วรรค ต           ได้แก่    ตฺ     ถฺ     ทฺ      ธฺ      นฺ
  • วรรค ป           ได้แก่    ปฺ     ผฺ     พฺ      ภฺ      มฺ

2. พยัญชนะอวรรค ได้แก่ พยัญชนะที่เกิดจากฐานกรณ์ต่างกัน ไม่มีความเป็นหมวดหมู่เดียวกัน พยัญชนะอวรรคมีทั้งสิ้น 8 ตัว ดังนี้
     ยฺ    รฺ     ลฺ    วฺ     สฺ    หฺ    ฬฺ     อํ
Url: palidict , palicoach