สระออกเสียงได้ตามลำพังตนเอง และทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้ด้วย
สิ่งที่ควรจำสำหรับเรื่องสระคือคำเฉพาะ อักขระ รัสสะ ทีฆะ สุทธะ สังยุตตะ ครุ ลหุ
สระ 8 ตัวนี้ ชื่อ นิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ
สระมีมาตราเบา 3 ตัว คือ อ อิ อุ ชื่อ รัสสะ เพราะมีเสียงสั้น เช่น อติ ครุ
สระ อา อี อู เอ โอ ชื่อ ทีฆะ เพราะมีเสียงยาว เช่น ภาคี เสโข
เฉพาะ เอ โอ ถ้ามีพยัญชนะสังโยคซ้อนอยู่เบื้องหลังจัดเป็นรัสสะ เช่น เสยฺโย* (เซ็ย-โย) โสตฺถิ (สด-ถิ)
* คำว่า เสยฺโย ไม่อ่านว่า เสย-โย (เช่น ในคำว่า เขาเอามือเสยผม) เพราะบาลีไม่มีสระเออ
และไม่อ่านว่า ไส-โย เพราะเสียงสระ "ไอ" ในภาษาบาลี เขียนด้วยสระ อ สะกดด้วย ยฺ เช่น มยฺหํ (ไม-หัง) อยฺโย (ไอ-โย)
* คำว่า เสยฺโย ไม่อ่านว่า เสย-โย (เช่น ในคำว่า เขาเอามือเสยผม) เพราะบาลีไม่มีสระเออ
และไม่อ่านว่า ไส-โย เพราะเสียงสระ "ไอ" ในภาษาบาลี เขียนด้วยสระ อ สะกดด้วย ยฺ เช่น มยฺหํ (ไม-หัง) อยฺโย (ไอ-โย)
สระที่เป็นทีฆะล้วน และสระที่เป็นรัสสะมีพยัญชนะสังโยคหรือนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง ชื่อ ครุ เพราะมีเสียงหนัก เช่น ภูปาโล เอสี มนุสฺสินฺโท โกเสยฺยํ
สระที่เป็นรัสสะล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยคหรือนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง ชื่อ ลหุ เพราะมีเสียงเบา เช่น ปติ มุนิ
สระที่เป็นรัสสะล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยคหรือนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง ชื่อ ลหุ เพราะมีเสียงเบา เช่น ปติ มุนิ
สระนั้นจัดเป็น 3 คู่ คือ
อ อา เรียก อวรรณะ
อิ อี เรียก อิวรรณะ
อุ อู เรียก อุวรรณะ
อิ อี เรียก อิวรรณะ
อุ อู เรียก อุวรรณะ
เอ โอ เรียก สังยุตตสระ เพราะผสมเสียงสระไว้ 2 ตัว คือ อ กับ อิ ผสมกันเป็น เอ, อ กับ อุ ผสมกันเป็น โอ
- รัสสระ หมายถึง สระเสียงสั้น ได้แก่ อ อิ อุ
- ทีฆสระ หมายถึง สระเสียงยาว ได้แก่ อา อี อู เอ โอ
- สุทธสระ หมายถึง สระแท้ ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู
- สังยุตตสระ หมายถึง สระผสม ได้แก่ เอ โอ
ครุ หมายถึงเสียงหนัก ได้แก่สระทีฆะล้วน (เสียงยาว) หรือสระที่เป็นรัสสะ (เสียงสั้น) แต่มีพยัญชนะสังโยค หรือ มีนิคหิต ( ํ) อยู่เบื้องหลัง ตัวอย่างเช่นคำว่า ภูปาโล เอสี มนุสฺสินฺโท โกเสยฺยํ เป็นต้น
ลหุ หมายถึงเสียงเบา ได้แก่สระรัสสระล้วน (เสียงสั้น) ตัวอย่างเช่นคำว่า ปติ มุนิ เป็นต้น
Url: palidict , palicoach