วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิตก์

กิตก์ หมายถึง ศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยกิตก์* ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดเนื้อความได้ต่างๆ กัน  สำเร็จเป็นนามบ้าง กิริยาบ้าง
  • กิตก์ที่เป็นนามนาม และ คุณนาม เรียกว่า นามกิตก์   เช่น 
    - ทานํ  การให้ 
    - ธมฺมจารี  ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ
  • กิตก์ที่เป็นกิริยา เรียกว่า กิริยากิตก์   เช่น 
    - กโรนฺโต ทำอยู่ 
    - กตฺวา ทำแล้ว
* ‘กิตก์’ หมายถึงศัพท์ที่ลงปัจจัยกิตก์ และตัวปัจจัยกิตก์นั้นเองด้วย

กิริยากิตก์
  • กิริยากิตก์ ประกอบด้วย ลิงค์ วิภัตติ วจนะ เหมือนนามศัพท์ และประกอบด้วย ธาตุ วาจก ปัจจัย* กาล** เช่นเดียวอาขยาต  ต่างกันที่ กิริยากิตก์ ไม่มี บท และ บุรุษ เท่านั้น
* ปัจจัยกิริยากิตก์  ** ในกิริยากิตก์ไม่มีอนาคตกาล

กิริยากิตก์ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเองเหมือนอาขยาต เพราะกิริยากิตก์ใช้วิภัตตินาม  
  • ถ้านามศัพท์ที่เป็นเจ้าของกิริยากิตก์ เป็นลิงค์  วิภัตติ วจนะ ใด  กิริยากิตก์ ก็เป็นลิงค์ วิภัตติ วจนะ อันนั้นตาม  (ยกเว้นปัจจัยพวกอัพยยะ)  เช่น
    - ปุริโส คจฺฉนฺโต ...     ปุริโส คโต.     ปุริโส คนฺตฺวา ...
    - นารี คจฺฉนฺตี ...        นารี คตา.      นารี คนฺตฺวา ...
    - กุลํ คจฺฉนฺตํ ...          กุลํ คตํ.         กุลํ คนฺตฺวา ...
กิริยาอาขยาต  ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ (กิริยาใหญ่) อย่างเดียว
  • กิริยากิตก์  ใช้เป็นกิริยาในระหว่าง (กิริยาย่อย)   และที่ลง ต อนีย ตพฺพ ปัจจัย ยังใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ได้