วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กาลของกิริยากิตก์

กาลของกิริยากิตก์  แบ่งเป็น 2   คือ  ปัจจุบันกาล และ อดีตกาล
1.  ปัจจุบันกาล
    - ปัจจุบันแท้  แปลว่า  อยู่    เช่น 
      อหํ  ธมฺมํ  สุณนฺโต ปีตึ  ลภามิ.
       เรา ฟังอยู่ ซึ่งธรรม ได้อยู่ ซึ่งปีติ.
    - ปัจจุบันใกล้อนาคต  แปลว่า  เมื่อ    เช่น 
      อนุสนฺธึ  ฆเฏตฺวา  ธมฺมํ เทเสนฺโต  อิมํ คาถมาห.
      เมื่อทรงสืบต่อ ซึ่งอนุสนธิ แสดง ซึ่งธรรม ตรัสแล้ว ซึ่งพระคาถา นี้.
2.  อดีตกาล
    - อดีตกาลล่วงแล้ว  แปลว่า  แล้ว    เช่น 
       ตโย มาสา  อติกฺกนฺตา.
       เดือน ท. 3 ก้าวล่วงแล้ว.
    - อดีตกาลล่วงแล้วเสร็จ  แปลว่า  ครั้น... แล้ว    เช่น
       เยน  ภควา,  เตนุปสงฺกมิ,  อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ นิสีทิ. 
       ... เข้าไปเฝ้าแล้ว ....  ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้ว .....